Saturday, March 24, 2007

แนวคิดการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ

เอกสารประกอบการสัมมนาการเรียนการสอนวิชาปฏิบัตืการออกแบบสถาปัตยกรรม
ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย






































Friday, March 23, 2007

Architectural Education Innovation-2

นวัตกรรมการศึกษาสถาปัตยกรรม (ต่อ)
ว่าด้วย..การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงใหม่
(Architectural Education Innovation)



กรณีศึกษาที่ 1.

ทฤษฎีและการปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา.. แนะนำวิธีการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-Based Learning) ในสองกรณีศึกษาสำหรับโรงเรียนสถาปัตยกรรม

เรียบเรียงจากบทความของ....
ERIK DE GRAAFF Delft University of Technology, The Netherlands
ROB COWDROY University of Newcastle, Australia

บทคัดย่อ

การศึกษาด้านการช่างเผชิญกับความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ที่จะเกิดขึ้นในศตวรรษหน้า ในหลายแห่ง วิธีการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (problem-based learning (PBL)..) ถูกพิจารณาเป็นทางเลือกที่สำคัญอันหนึ่ง บทความนี้จะย้อนรอยประสบการณ์ของการนำวิธีการเรียนรู้นี้ มาใช้ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งที่มหาวิทยาลัย Delft ในประเทศ Netherlands และที่มหาวิทยาลัย Newcastle ในประเทศ Australia การปรับปรุงในทั้งสองกรณีศึกษานี้ เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการศึกษาแบบบูรณาการ และทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลงการจัดการและการบริหารแบบบูรณาการ วัตถุประสงค์ของการบูรณาการและเงื่อนไขของการบริหารจัดการแบบบูรณาการ เป็นความแตกต่างที่สำคัญและมีผลให้เกิดกระบวนการสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันด้วย จะนำไปสู่การสรุปว่าทั้งสองกรณีศึกษานี้ประสบความสำเร็จในวิธีการของ PBL ที่อาจถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการเปลี่ยนแปลงการศึกษานี้

บทนำ

กระบวนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจะเริ่มต้นจุดวิกฤต เมื่อมีกลุ่มคนพอเพียง อันเป็นเหตุจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลง และอยู่เหนือแรงเสียดทานที่จะคงอย่างเดิมได้ เมื่อแรงจูงใจเพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนหลักสูตร กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยากก็เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ซึ่งผลที่ความคาดหวังก็ยังมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก การย้อนกลับไปดูในอดีต ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทั้งสองกรณีที่นำมาเสนอไว้ในที่นี้ การปรับปรุงจำนวนไม่น้อย ซึ่งต้องเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ในบทความนี้จะทบทวนการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการของ PBL ที่นำไปใช้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งสองกรณีศึกษาเท่านั้น คือที่มหาวิทยาลัย Delft ในประเทศ Netherlands และที่มหาวิทยาลัย Newcastle ในประเทศ Australia ทั้งสองโรงเรียนมีความแตกต่างกันทั้งภูมิประเทศและขนาดของมัน ที่มหาวิทยาลัย Delft มีนักศึกษาปริญญาตรีประมาณสองพันคน แต่ที่มหาวิทยาลัย Newcastle มีจำนวนเพียงประมาณสามร้อยคนเท่านั้น บนความแตกต่างของขนาด เป็นความแตกต่างที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง และรูปแบบที่เปลี่ยน ซึ่งเกิดขึ้นและมีผลแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในสองโรงเรียนสถาปัตยกรรมนี้ โดยปรกตินั้น การปรับปรุงจะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีต่างๆของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาแบบบูรณาการ และทฤษฎีของการบริหารจัดการ และการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

ความเป็นมาของกรณี: Delft, Netherlands

ในราวศตวรรษที่ 19 นิสิตในสาขาวิศวกรรมโยธา สามารถเรียนจบเป็นสถาปนิกที่สถาบันเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย Delft ได้ (ในขณะนั้นเป็นแค่เพียงวิทยาลัยเขตเท่านั้น) ในปี 1905 ภาควิชาสถาปัตยกรรมแยกเป็นสาขาอิสระออกมาจากสาขาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรสถาปัตยกรรมในตอนแรกยังคงเป็นมรดกตกทอดของด้านวิศวกรรมโยธาอยู่ โดยเน้นศึกษาหลักการทางทฤษฎีและวิธีการทางเทคนิค มากกว่าการสอนการออกแบบโดยตรง ในช่วงราวสิบปีต่อมา วิชาศิลปะเข้าไปมีส่วนร่วมมากขึ้นในหลักสูตร จนกระทั่งในราวสามสิบปี สถาบัน... "Delftse school" กลายเป็นที่รู้จักของความเปลี่ยนแปลงเรื่องสถาปัตยกรรมที่เห็นได้ชัด เช่นวิธีการสอนที่เปลี่ยนจากโรงเรียนศิลปะตามแบบฉบับของฝรั่งเศษ "Beaux Arts" ผะสมผะเสกับวิธีการสอนทางวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความสมดุลย์ระหว่างอิทธิพลทั้งสองในการสอนสถาปัตยกรรมแกว่งไปๆมาๆเหมือนลูกตุ้ม

จนสิ้นสุดในปี 1960s หลักสูตรสถาปัตยกรรมก็เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง ด้วยการเริ่มสอนแบบโครงการ (Project Teaching) มีลักษณะที่ตอบสนองความคิดตามหลักการของสังคมประชาธิปไตย ที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ในขณะนั้น หลักการเหล่านี้ คือ การเรียนรู้ควรเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับบริบททางสังคม นิสิตควรมีความอิสระในการพัฒนาความคิดนี้อย่างเสรี และการสอนจะไม่เป็นการชี้นำ [1]. ด้วยวิธีการสอนแบบโครงการ ทางด้านครูสามารถแสดงออกในหลายความคิดที่ตนสนใจ เช่น รูปแบบฉบับทางสถาปัตยกรรม (architectural style) แบบประเพณีนิยม (traditionalism) แบบประโยชน์ใช้สอยนิยม (functionalism) แบบโครงสร้างนิยม (constructivism) แบบฉีกรื้อโครงสร้าง (deconstructivism) แบบสัจจนิยม (realism) และแบบหลังทันสมัยนิยม (post-modernism) เป็นต้น สามารถนำมาแทนความคิดในการออกแบบอย่างเสรีได้แทบทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม สถานะภาพที่เป็นอิสระของผู้สอนเช่นนี้ เริ่มเป็นอุปสรรคในการพัฒนาแนวทางรวม ที่จะดำเนินการและมีการปรับปรุงให้ดีได้ในต่อๆไป การโต้เถียงเริ่มมีขึ้นเรื่อยๆในเรื่องคุณภาพของการศึกษา ที่ควรมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม และการวางแผนทั่วไปก็ไม่ควรเอาใจใส่กับปรัชญาส่วนบุคคลมากเกินไปด้วย ในเวลานั้น ความขัดแย้งกันภายในส่งผลให้เกิดความต้องการ ที่จะวางแผนการปรับปรุงหลักสูตรขึ้น อย่างไรก็ตาม ระบบที่เป็นอยู่ก็ค่อยๆเสื่อมคุณภาพลง และหลักสูตรที่เป็นแนวทางร่วมกันเริ่มเลือนลางและหายไป บางวิชาเป็นการลอกเลียนโดยครูที่แตกต่างกัน บางสาขาวิชาโดนเพิกเฉย หรือแม้แต่ความอิสระของนิสิตในการเลือกเรียน หรือไม่มีโอกาสที่จะเลือกครูกำกับโครงการที่ตนสนใจ และผลจากการวิจารณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก ลงเอยที่มีรายงานไปถึงกรรมการสภาการศึกษาของชาติ [2] ซึ่งสรุปว่าการศึกษาด้านเทคนิคในแต่ละสาขามีการละเลย และหลักสูตรไม่มีการเชื่อมโยงกัน มีผลเกิดบรรยากาศทางการเมืองที่เสียดทานสถานะภาพที่จะดำรงอยู่ได้ ของคณะวิชาสถาปัตยกรรมในขณะนั้น

เพื่อความอยู่รอด ทางกรรมการประจำคณะ ได้เสนอโครงการสำคัญในการปรับปรุงหลักสูตรแบบปฏิรูป หรือเปลี่ยนแปลงใหม่ หรือบูรณาการ คณะกรรมการวิชาการถูกมอบหมายให้ออกแบบหลักสูตรใหม่ กรรมการบริหารได้รับการสนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญต่างๆจากมหาวิทยาลัยรัฐ Limburg ได้เสนอการปรับปรุงหลักสูตรทั้งหมด โดยนำวิธีการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน .. Problem-Based Learning (PBL) มาใช้ ซึ่งถือเป็นหลักการที่มุ่งหมายในเรื่องการสอน [3]. สิ่งมุ่งหวังโดยทั่วไป คือ การปรับปรุงการออกโปรแกรมการสอน โดยอาศัยความรอบรู้ในการศึกษาหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทักษะการออกแบบ แล้วบูรณาการเข้ากับหลักสูตรใหม่ที่มีหลักการเรียนรู้แบบ PBL เป็นแกนกลาง แผนนี้ได้รับการโต้เถียงอย่างกว้างขวาง แต่ "บางสิ่งต้องมีดำเนินการ" ผู้บริหารของทางคณะเลยรับข้อเสนอและแผนการที่แนะนำวิธีการ PBL นี้มาใช้อย่างมีกังวล แต่ก็ได้นำไปใช้ปฏิบัติเมื่อเวลาล่วงมาหกเดือน หลังจากการนำเสนอรายงานของคณะกรรมการกลาง (PKB) ซึ่งนิสิตชุดแรกจะเริ่มเรียนกันในปีการศึกษาใหม่ในปี 1990.

ความเป็นมาของกรณี: Newcastle, Australia

ในช่วงแรกของปี 1960s วิชาสถาปัตยกรรมที่ Newcastle แยกออกมาจากหลักสูตรผู้ชำนาญการของวิทยาลัยเทคนิค เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยถูกตั้งขึ้นที่ Newcastle ในรูปแบบที่เป็นสาขาของมหาวิทยาลัย the University of New South Wales (UNSW) ในนคร Sydney คณะสถาปัตยกรรมกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยที่เปลี่ยนจากหลักสูตรผู้ชำนาญการเดิม เป็นวิชาชีพสถาปัตยกรรมเต็มรูปมีหลักสูตรเยี่ยงสำเนาของมหาวิทยาลัย UNSW. และผูกพันกันจนถึงปี 1970 จึงเป็นมณฑลอิสระหนึ่งของมหาวิทยาลัย มีสถานะภาพเป็นคณะวิชาสถาปัตยกรรม แม้เป็นคณะที่เล็กที่สุดในมหาวิทยาลัย และเป็นคณะวิชาที่เล็กที่สุดในประเทศออสเตรเลีย

แต่ก็ดำเนินการเหมือนเช่นคณะวิชาใหญ่ทั้งหลาย เช่นเดียวกับคณะวิชาสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆทั้งหลาย บริหารโดยมืออาชีพในสถานะภาพของคณบดีดำรงหัวหน้าของคณะวิชาสถาปัตยกรรม คณะวิชาใหม่นี้ถูกยกย่องเป็นหนึ่งของโรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นนำ เป็นหลักสูตรศึกษาที่ใช้เวลารวม ๕ ปี ผูกติดกับปริญญาโครงสร้างของมหาวิทยาลัย UNSW ที่มีหลักการเดียวกัน กับการเน้นการวิจัยเสริมความทะเยอทะยานของคณะใหม่นี้ แม้ที่ Newcastle ไม่ใช่คณะใหญ่ แต่ก็รักษาหลักการทุกอย่างเหมือนเช่นในคณะใหญ่อื่นๆ และยังรักษาคุณภาพเชิงปฏิบัติในการบริหารของคณบดีด้วย คณบดีเป็นผู้วางหลักการของการออกแบบสถาปัตยกรรม และดูแลชั่วโมงการสอนให้พอเพียงกับหลักวิชาการออกแบบ การแข่งขันต้องการความสามารถทางการปฏิบัติ ซึ่งต้องเกิดจากผลของการสอนการออกแบบ อันถือเป็นแกนกลางสำคัญของหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรม และความมีประสิทธิภาพในการเป็นผู้นำของคณบดี การอุทิศเวลา และการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ร่วมงานและผู้เรียนทั้งหลายด้วย การเปลี่ยนแปลงหรือแต่งตั้งคณบดีคนใหม่จะถูกเสนอมาจากคณาจารณ์ที่ร่วมสอน

อย่างไรก็ตาม คณะย่อมค่อยๆมีความเฉื่อยชาลงเป็นลำดับ แม้ยังคงโครงสร้างปรกติไว้ได้ ด้วยการสอนวิชาการเฉพาะทาง ของผู้ชำนาญการพิเศษเท่านั้น แต่ความไม่พอใจของคณาจารณ์ ชักนำให้นักเรียนเรียนมากขึ้น เกิดทัศนะคติที่เป็นด้านลบแผ่ขยายไป สร้างความลำบากในการยอมรับ และโกรธเมื่อนักเรียนลดจำนวนในวิชาของตนลงไป ถึงตรงนี้ ทางมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับแรงกดดันให้ลดปริมาณของคณะวิชาลง จึงตกลงที่จะปิดคณะที่เล็กๆ ให้คณะสถาปัตยกรรมกลับกลายเป็นแค่ส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หากกลุ่มสถาปนิกอาชีพใน Newcastle ต่อต้านความคิดนี้อย่างมาก จึงพยายามว่านล้อมทางมหาวิทยาลัยให้เปลี่ยนแนวความคิดนี้เสียใหม่ โดยเสนอคุณค่าและความสำคัญของอาชีพในเชิงระดับภาคที่ต้องคงไว้ และขอโอกาสในการปรับปรุงคณะที่เล็กที่สุดนี้ พร้อมกับการยอมรับความผิดพลาดและการเล็งประโยชน์ที่พึงเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป

การอุบัติขึ้นของโรงเรียนแพทย์แนวใหม่ (เริ่มในปี 1976) ประสบความสำเร็จด้วยการเปลี่ยนแปลงใหม่ นำเอาการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียน ก่อให้เกิดบรรยากาศการ “ผ่อนคลาย” สำหรับโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่กำลังพยายามทำในแนวทางเดียวกัน ซึ่งเหมาะในการทดลองสำหรับคณะวิชาที่เล็กๆ เพราะไม่สามารถกระทำได้ในคณะวิชาใหญ่ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ซึ่งมีการแข่งขันสูงระหว่างกันของโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบจารีตนิยม ประจวบเหมาะการเปลี่ยนคณบดีใหม่ มีความสะดวกในการสร้าง “ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง” ได้ง่ายกว่าคุณสมบัติของคณบดีเดิมที่เน้นทางการปฏิบัติวิชาชีพเป็นสำคัญ การจำกัดแนวคิดใหม่ในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในคณะนี้ เกิดทั้งการเห็นด้วยและโต้แย้งในระยะแรกๆ แต่ผลสรุปที่มีน้ำหนัก ก็คือการถือเอาการเปลี่ยนแปลง ที่ทางกลุ่มสถาปนิกอาชีพได้ว่านล้อมให้ทางมหาวิทยาลัยคงคณะเล็กนี้ไว้ เกณฑ์การเลือกสรรคณบดีใหม่ ให้ถือเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงจึงต้องดำเนินการ บทบาทหนึ่งของคณบดี จึงเป็นการช่วยเหลือและนำทางการเปลี่ยนแปลง มากกว่าการเข้าไปดำเนินการเสียเอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงเริ่มต้นด้วยโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงการศึกษา จนต่อมากลายเป็นผู้นำของโรงเรียนสถาปัตยกรรมในประเทศออสเตรเลีย และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติในความเป็นเลิศและเรื่องการเปลี่ยนแปลงใหม่ทางการศึกษานี้

เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน
(About Problem-based learning)

การศึกษาสถาปัตยกรรมของโลกตะวันตก กำหนดการสอนแบบปฏิบัติการ (studio teaching) ซึ่งนักการศึกษาแยกเป็นความหลากหลายกัน เช่น การสอนในแบบติวเข้ม -- tutorial based teaching การสอนแบบฝึกหัดงาน – apprentice based teaching และการสอนแบบมีที่ปรึกษา – mentor based teaching หรือที่ Donald Schon [4] รับรองการบูรณาการในคุณค่าของแนวคิดปฏิบัติการ อันถือเป็นแบบจำลองปรกติของการศึกษาวิชาชีพ อย่างไรก็ตาม อาจเป็นการแดกดันกันได้ว่า อันที่จริงการศึกษาสถาปัตยกรรมนั้น ควรมีความคิดในการเรียนรู้แบบบูรณาการกัน ในแทบทุกความสำคัญสำหรับการสอนวิชาการออกแบบ แต่ตรงข้ามการศึกษาสถาปัตยกรรมกลับมากลายเป็นลักษณะการสอนแยกจากกัน ระหว่างวิชาอิสระอื่นซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องระหว่างกันเอาเลย

โดยไม่คำนึงถึง การยึดมั่นในความเป็นตรงข้ามกันของแนวคิดการศึกษา ปรัชญาและความศักดิ์สิทธ์ของการศึกษาสถาปัตยกรรม คือ การบูรณาการของหลักสูตรวิชาทั้งหมดกับกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (PBL) ให้ชื่อและใช้เป็นองค์ทฤษฎีเพื่อสร้างรูปแบบของการศึกษา ซึ่งยังคงรวมเอาคุณลักษณะที่ดีที่สุดของการสอนการออกแบบเดิมๆไว้ และยอมให้มีการประยุกต์หลักสูตรวิชาทั้งหมดไว้ในกรอบทฤษฎีอันเดียวกัน เพื่อการบูรณาการทั้งระดับของทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน [5]. การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้สถาปัตยกรรม จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น “การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่สำคัญยิ่ง นับตั้งแต่ความเป็นสถาบันการศึกษาทางวิชาชีพที่เคยเป็นมา” [6] แม้วิธีการที่กระทำในที่ต่างๆ ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่แท้จริงก็ตาม [7] อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ถือเป็นการเปลี่ยนที่สำคัญและท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่สำหรับหลักสูตร และยังสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นการเปลียนแปลงใหม่ๆในพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนด้วยในขณะเดียวกัน

แนวคิดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานสำหรับหลักสูตรเต็มรูปนั้น ได้รับการปรับปรุงขึ้นในการศึกษาแพทย์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย McMaster ในประเทศแคนาดาระหว่างช่วงหลังของปี 1960s ถูกวิจารณ์กันว่าเป็นการล้มเลิกการปฏิบัติทางการแพทย์แบบเดิมโดยสิ้นเชิง ถือเป็นการขยายความรู้เกี่ยวกับหลักการของวิชาแพทย์ และดำเนินการปรับปรุงความชำนาญการในทางปฏิบัติไปพร้อมกัน เป็นการเสริมรายละเอียดในความรู้ที่แตกแยกและล้าสมัยของหลักสูตรเดิม การนำการเรียนรู้แบบ PBL นี้มาใช้ ก็เพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างการศึกษาและการปฏิบัติ ด้วยวิธีการของแนวคิดแบบองค์รวม บนพื้นฐานการใช้ปัญหาเป็นตัวแทนของการปฏิบัติทางการแพทย์ นี่เป็นความขัดแย้งกับการจัดแบ่งแผนกตามจารีตนิยม ระหว่างหลักการที่แตกแยกกันในหลักสูตร การแยกกันของวิชาต่างๆ ที่วางไว้บนกลุ่มความรู้พื้นฐาน และความชำนาญการของสาขาเดียวกัน

PBL คาดหวังในการได้ประโยชน์จากทั้งการปฏิบัติทางอาชีพและทางการศึกษารวมกัน ดังเช่นตัวอย่างมโนทัศน์ “การเรียนโดยการค้นพบ –Learning by discovery” ของ Jerome Bruner และมโนทัศน์ใช้ “นักเรียนเป็นศูนย์กลาง --Student centred learning” ของ Carl Roger [8] แทนที่เป็นการถ่ายโอนความรู้โดยครู การศึกษาแบบ PBL เน้นที่การกระตุ้นในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน ในรูปแบบของ PBL นักเรียนต้องกำหนดเป้าหมายในการสร้างความรู้และทักษะสำหรับตนเอง ปัญหาจากการปฏิบัติแต่ละอัน เป็นจุดเริ่มต้นในการปรับปรุงสำหรับปัญหาอื่นๆ ความแตกต่างระหว่างปัญหาทางปฏิบัติ และปัญหาในการเรียนรู้แบบ PBL คือ ปัญหาของ PBL เป็นการจำลองหรือย่อส่วนจากปัญหาของความเป็นจริงในทางปฏิบัติ นั่นคือ การแก้ปัญหาทางการปฏิบัติจริงนั้นไม่ใช่ประเด็น เพราะปัญหาแต่ละอันเป็นแค่จำลองปัญหาทั่วๆไปเท่านั้น แต่ประเด็นสำหรับการเรียนรู้ปัญหาและการแก้ปัญหานั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญในเรื่องของการศึกษา หลายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ เป็นความท้าทายนักปฏิบัติที่มีประสบการณ์ สำหรับนักเรียนได้แรงจูงใจจากประสบการณ์ที่ไปเกี่ยวข้องกับปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นจริง โดยไม่คำนึงว่าเป็นปัญหาที่จำลองหรือย่อส่วนมา นอกเหนือจากนี้ การเรียนรู้แบบ PBL ยังเป็นการเปรียบเทียบกันกับงานโครงการณ์ กรณีศึกษาต่างๆ และแนวคิดการสอนแบบปฏิบัติการ
การเรียนรู้แบบ PBL ถือเป็นปรัชญาหนึ่งของการศึกษาในยุคหลังทันสมัย [9] ที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะกับการศึกษาวิชาชีพ ในแง่ที่สถาบันการศึกษาหลายแห่งใช้แนวคิดนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แรกเริ่ม มีการแพร่ขยายกันในการศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ ดังเช่นที่มหาวิทยาลัย Maastricht ในประเทศ Netherlands และที่ Newcastle ในประเทศ Australia และติดตามมาที่ McMaster แต่ละแห่งดังกล่าวปรับปรุงเป็นศูนย์กลางใหม่ นำเสนอการเรียนรู้แบบ PBL เป็นหลักการต่างๆของการศึกษา ปัจจุบันนี้การเรียนรู้แบบ PBL มีการนำไปใช้ทั่วโลก นับตั้งแต่จากแพทย์ศาสตร์ สถาปัตยกรรม ไปถึง นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุระกิจ และวิศวกรรมศาสตร์ และอื่นๆตามมา ได้มีการปรับปรุงความหลากหลาย ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ทั้งสิ้น

รูปแบบเฉพาะแตกต่างกันตามการประยุกต์ใช้ในแต่ละสาขาวิชา ในบางกรณี การบรรยายในรูปแบบจารีตเดิมๆถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง ในบางกรณี การบรรยายยังคงใช้ต่อไป ควบคู่กับปัญหาในลักษณะของวิธีการที่ท้าทายผู้เรียน แม้การเรียนแบบกลุ่มไม่ใช่สาระสำคัญต่อการเรียนรู้แบบ PBL ก็ตาม แต่การกำหนดวิชาที่เรียนรู้แบบ PBL เป็นลักษณะที่ส่งเสริมกลุ่มเล็กๆในการทำงาน ซึ่งร่วมกันกำหนดเป้าหมายต่างๆในการเรียนของตนเอง การสนทนาในกลุ่มเกี่ยวกับปัญหาทางปฏิบัติ เกิดจากความรู้ที่มีมาก่อน และการเรียนรู้เชื่อมโยงกันกับความรู้ที่เป็นอยู่ นำไปสู่การปรับปรุงโครงสร้างความคิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ [11] ขนาดกลุ่มต่างกันตั้งแต่ ๔-๕ คน (ต้นแบบจำลองของ McMaster)ไปจนถึงขนาดของชั้นเรียนหนึ่งๆ โดยยอมรับกันว่าสมาชิกผู้แนะนำหรือครู ควรทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือมากกว่าผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ [12]. อย่างไรก็ตาม ระดับที่ปรารถนาคือ ความมีสมรรถภาพในการช่วยเหลือ (ทั่วไปอ้างถึงบทบาทของพี่เลี้ยง) นับตั้งแต่ครูที่มีความชำนาญเฉพาะน้อย ไปจนถึงระดับครูที่มีประสบการณ์สูงในทางปฏิบัติ [13].

แม้มีความแตกต่างดังที่ปรากฏ แต่ทุกแนวคิดแบบ PBL มีส่วนร่วมบนหลักการบางอย่างเดียวกัน บางส่วนเพื่อการสอน และบางส่วนเกี่ยวข้องกับทิศทางในการประกอบอาชีพของพวกเขา (Table 1) และการประยุกต์ในกฎเกณฑ์เหล่านี้ ทำให้เกิดลักษณะบางอย่างร่วมกันเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับ PBL

Table 1.: กฎเกณฑ์ของ PBL

กฎที่มุ่งหมายสำหรับการสอนต่างๆ คือ
  • ผู้เรียนรับผิดชอบในการเรียนของพวกเขา
  • กระตือรือร้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และทักษะ
  • ร่วมมือกันแทนที่จะแข่งขันกัน
  • หันเหไปสู่อาชีพการงาน
  • ในทิศทางรอบด้านสู่การปฏิบัติทางวิชาชีพ
  • บูรณาการความรู้จากขอบเขตอื่นที่แตกต่างกัน
  • บูรณาการทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ

เป็นไปได้ที่จะประยุกต์วิธีการ ในหลักการเดียวที่เข้ากันได้กับหลักสูตรแบบจารีตเดิม โดยมีผลกำไรจากการบูรณาการความรู้และทักษะจากส่วนอื่นๆที่แตกต่างกัน หรือพร้อมจะเกี่ยวข้องกันในแง่โครงสร้างของหลักสูตร แม้การบรรยายตามปรกติไม่ตรงกันกับการบูรณาการ และมีส่วนน้อยนิดในการกระตุ้นผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง การรวมกลุ่มขนาดเล็ก บ่อยครั้งเป็นการปูทางที่เป็นทางเลือกตามธรรมชาติ จัดลำดับของพลวัตรในแต่ละบุคคล ให้มีการสร้างโอกาสสำหรับการบูรณาการ ความร่วมมือกัน เกิดแรงจูงใจ และยอมรับความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง

การนำ PBL ไปใช้ในทางปฏิบัติของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Delft

การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะการตัดสินใจจากเบื้องบน ที่จำเป็นต้องกระทำ เพราะการโต้แย้งที่หาข้อสรุปไม่ได้ในคณะ กุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดแรงจูงใจเลือกเอา PBL คือเสน่ห์ที่เกิดจากการนำโปรแกรม PBL ไปใช้ แล้วประสบความสำเร็จสำหรับหลักสูตรคณะแพทย์ศาสตร์ที่ Maastricht และกรรมการคณะได้รับคำแนะนำโดยผู้จัดการคณะชั่วคราว ที่กดดันให้ทางสภายอมรับโครงการที่เสนอไป อย่างไรก็ตาม ในเวลาที่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้ โครงการที่เสนอ (PKB proposal) ยังไม่เรียบร้อยและยังมีรายละเอียดของหลักสูตรใหม่ที่ไม่ชัดเจน ยังมีแผนงานที่ต้องดำเนินการอีกมากมาย

ขั้นตอนการเตรียมการมีเวลาสั้น โดยหวังว่านักเรียนคนแรกจะเริ่มโปรแกรมใหม่ ในช่วงครึ่งปีหลังจากที่เสนอแผนนี้ เพื่อให้บรรลุผล สมาชิกที่จะร่วมมือกันต้องเลือกสรร และมอบหมายงานปรับปรุงส่วนต่างๆของหลักสูตรใหม่ เพราะโครงสร้างโดยรวม จะต่างจากหลักการเดิมหลายอย่างซึ่งมีผลให้โครงสร้างองค์กรต้องมีการปรับ แตกต่างจากองค์กรของคณะแบบจารีตเดิม โดยจัดกลุ่มผู้ร่วมงานตามแนวทางของแผนกต่างๆ แต่ละแผนกรับผิดชอบหลักสูตรในส่วนของตน โครงสร้างเงาจึงถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของทีมงาน (block groups) จำนวน ๒๓ คน ซึ่งเอามาจากแผนกต่างๆ แต่ละทีมงานรับผิดชอบในการปรับปรุงโปรแกรมสำหรับกลุ่ม โครงสร้างของคณะกรรมการประสานงานต่างๆ เชื่อมโยงกันจากกลุ่มทีมงานซึ่งรับผิดชอบการปรับปรุง และประสานงานกันในโปรแกรรมพื้นฐาน (สำหรับสองชั้นปีแรก) และกับแต่ละโปรแกรม (ที่ชำนาญเฉพาะทาง) ที่แตกต่างกันด้วย การประสานงานทั้งหมดที่เป็นกระบวนการเพื่อนำไปปฏิบัติ จะรับผิดชอบโดยคณะกรรมการอื่น จัดตั้งโดยสภาของคณะและผู้ประสานงาน และที่แต่งตั้งโดย “คณบดีการศึกษา” [14].

การวางแผนถูกจำลองขึ้นหลังการศึกษาตัวอย่างของ Maastricht เป็นโครงสร้างคร่าวๆสำหรับหลักสูตรใหม่ ในกรอบโครงสร้างสำหรับการเรียนช่วงสองปีแรก โปรแกรมของแต่ละปีมีจำนวนหกแผนงาน (six blocks) แต่ละแผนกำหนดให้สิ้นสุดในเวลาหกอาทิตย์ ทุกแผนสร้างในกรอบการออกแบบ เหมือนเช่นเป็น “บ้าน --the House ” “เมือง --the City” และ “หน่วยย่อย --Wet Cell” ที่นำเสนอเป็นกฎตายตัวลักษณะของ “โครงสร้างเครื่องมุง --rooftile-like structure” แผนสนองตอบการสอนทดแทนแบบจารีตด้วยงานกลุ่มย่อย และสำหรับโครงการออกแบบในปีแรก ถูกแทนที่ด้วยแบบฝึกหัดการออกแบบที่จำกัดส่วนเกินไปจากรูปแบบทั่วไป กลุ่มสถาปัตยกรรมจะต้องมีรายละเอียดของหลักสูตร และมีผลในการนำไปใช้ทางปฏิบัติด้วย [15]. นอกเหนือการใส่ใจที่มีต่อการวางผังหลักสูตรแล้ว ปรัชญาของ PBL ส่วนมากในคณะยังไม่เป็นที่เข้าใจกันนัก นอกจากผู้มีส่วนร่วมในแผน ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มเล็กเท่านั้นที่ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง แต่ส่วนใหญ่มีความรู้สึกขัดขวางและเลี่ยงการพบปะเพื่อให้ข้อมูลแก่กันและกัน

เพราะการต่อต้าน (หรือเป็นแรงเฉื่อย) และเวลาเตรียมการมีระยะสั้น จึงไม่แปลกใจที่หลายสิ่งเกิดความผิดพลาดและเกิดความฉงนในการทำงานทั้งหมด คงต้องใช้อัจฉริยะภาพเพื่อการปรับปรุงที่ดีขึ้นเท่านั้น จึงจะทำให้งานสร้างสรรค์คณะมีความเป็นไปได้ จากจุดเริ่มแรก ตรรกสำหรับการบริหารจัดการสำหรับหลักสูตรใหม่ พิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องลำบากอย่างยิ่งยวด สำนักงานการศึกษาถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงบทบาทใหม่ จากเดิมที่เคยให้บริการตามที่ร้องขอของครู กลายเป็นการร่วมมือกันกับส่วนกลาง โชคร้าย ที่ทางสำนักงานไม่สามารถตกลงกันได้ ในเรื่องปริมาณงานของการวางแผนและความร่วมมือกัน เหมือนเช่นกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในองค์กรขนาดใหญ่ ตามปรกติโปรแกรมการศึกษาต้องปรับแต่งเพื่อสะดวกในการบริหารงาน ไม่ให้เกิดผลยุ่งเหยิงในการเตรียมโครงสร้างเครื่องมุงของกลุ่มต่างๆ

ย้อนกลับไปสังเกตที่การตัดสินใจที่เกิดจากเบื้องบนลงมา มันง่ายในการชักชวนและเลือกสรรสมาชิกมามีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงโปรแกรมใหม่ โดยเฉพาะในฐานะของกลุ่มร่วมมือกันในเรื่องที่ขอร้องบางเรื่อง อย่างไรก็ตาม มันเป็นการยากที่จะชี้ชวนให้สมาชิกเปลี่ยนบทบาทให้เป็นผู้ช่วยเหลือ ให้กับกลุ่มผู้เรียนเพื่อการกำหนดทิศทางตนเอง นี่ยังไม่รวมแนวทางที่ทุกคนต้องเข้าร่วมในการฝึกอบรมการเป็นพี่เลี้ยง/ผู้ช่วยเหลือด้วย ซึ่งมีจำนวนถึง 20% เป็นอย่างน้อย ที่ปฏิเสธการอบรมนี้ แม้แต่คนส่วนมากที่เต็มใจ แต่ก็ยากในการเข้าใจการเปลี่ยนบทบาทเพื่อวิธีการศึกษาแบบใหม่นี้ โปรแกรมนำร่องการศึกษาและวัสดุการสอนสำหรับบุคลากร ต้องปรับปรุงให้เสร็จก่อนที่ ผู้สอนจะคุ้นเคยกับรูปแบบของ PBL และโปรแกรมและวัสดุต้องจัดให้มีขึ้นสำหรับนักเรียน ก่อนที่ความก้าวหน้าอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ มักมีหนึ่งคนในกลุ่มผู้ร่วมงานซึ่งกำลังออกแบบโปรแกรมสำหรับ PBL ถามเสมอว่าหลังจากการฝึกอบรมแล้ว เขาจะสามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรมที่ออกแบบของกลุ่มได้หรือไม่ เพราะเขานั้นเข้าใจเรื่องทั้งหมดเพียงแค่มันเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม โปรแกรมจริงได้เริ่มแล้ว เมื่อที่ปรึกษาโครงการณ์หลายคนก่อนหน้านี้ กลายมาเป็นผู้ติวสอน ในฐานะครูสอนออกแบบ พวกที่ปรึกษาเหล่านี้พอใจในความมีอิสระ และพอใจที่ปรัชญาและประสบการณ์ของพวกเขาถูกเลือกให้ผ่านใช้ไปยังคนรุ่นใหม่ต่อไป ในแนวคิดใหม่นี้ พวกเขาต้องเคร่งครัดกับการช่วยเหลือ และกับกระบวนการเรียนที่เกี่ยวข้องในขอบเขตที่กว้างขวางและไม่คุ้นเคยมาก่อนด้วย พวกเขาไม่รู้จะประพฤติตัวในบทบาทใหม่อย่างไร และก็ไม่สนใจที่ต้องการจะรู้ด้วย พวกครูออกแบบร้องขอเวลาอย่างน้อยสองครึ่งวันต่อสัปดาห์ (อยากขอเป็นสามด้วยซ้ำ) เพื่อสอนนักเรียน ที่เกี่ยวกับรายละเอียดของการออกแบบ เพราะการถูกบังคับให้ปรับตามโปรแกรมใหม่ก่อนที่จะประกาศใช้กัน คณะกรรมการทรงอำนาจในการนำโปรแกรมใหม่ไปใช้ ถูกท้าทายและพบข้อจำกัดที่ทำให้แผนใหม่ประสบความสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยส่งผลเป็นแบบสองระบบ ซึ่งครึ่งหนึ่งของแต่ละส่วนใช้เวลากับความรู้ในทิศทางศึกษาโดยใช้วิธีการ และอีกครึ่งเตรียมสำรองไว้เพื่อการสอนการออกแบบ สิ่งนี้ทำให้หลักสูตรที่ Delft ดำเนินไปได้ เพราะใกล้เคียงกันกับหลักสูตรเดิมๆในหลายวิชามากกว่าที่ตั้งใจไว้ และใกล้เคียงกว่าแนวคิดแบบเก่าของการเรียนรู้แบบโครงการณ์ (project based approach) โดยนัยยะตรงกันข้าม ระบบทั้งสองส่วนนี้เป็นพื้นฐานของ PBL ต่างกันเพียงในแง่วิธีการสอน และตรงกับที่ระบบ PBL เมื่อถูกนำมาใช้ในคณะที่มีความหลากหลายในการศึกษาสถาปัตยกรรมแบบ [16].

การเผชิญกันในสองรูปแบบการสอนนี้ นักเรียนมีแนวโน้มไปในส่วนที่ตนเองชอบ เป็นผลให้เกิดการแข่งขันของนักเรียนบนทางสองแพร่ง ในแง่ของนักเรียน งานออกแบบที่ได้รับมอบหมาย ถือเป็นการท้าทายและมีจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และเป็นที่น่าชื่นชอบมากกว่าการศึกษาเพียงแค่กรณีศึกษาในกระดาษ พวกเขาต้องศึกษาวิชาหรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และโครงสร้าง อีกทั้งนักเรียนส่วนมาก ชอบการสอนแบบเร่งรัด ในทิศทางการออกแบบบนความไม่แน่นอน และสามารถกำกับทิศทางในการศึกษาด้วยตนเอง ในรายงานการประเมินผลหลังการศึกษาไปได้ครึ่งปี ส่งสัญญาณให้เห็นปัญหาคือ นักเรียนให้เวลามากกว่าครึ่งในการออกแบบ และให้เวลาจำเป็นส่วนน้อยในการศึกษาทฤษฎี จึงเป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการบนหลักการที่แตกต่างกัน

หากไม่คำนึงถึงปัญหาที่ต้องรทบทวนใหม่ คณะกรรมการนั้น มีความชื่นชมอย่างเห็นได้ชัด ในความกล้าหาญและมีพลังที่คณะได้วางหลักสูตรใหม่นี้ [17] หลายลักษณะที่เป็นต้นแบบของแผน (PKBplan) มองการไกลไปถึงหกปี หลังจากเริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงใหม่ กรอบโครงสร้างใหญ่ของหลักสูตรยังคงอยู่ และยังเชื่อมโยงกับโครงสร้างขององค์กร กรอบในสองปีแรกยังเป็นแบบเดิม ยกเว้นการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย เช่น ใช้ชื่อใหม่ของกลุ่ม “บ้าน” เปลี่ยนเป็น “ทีว่างสถาปัตยกรรม” และปรับแต่งส่วนอื่นเล็กน้อย เช่น ลดกฎเกณฑ์หลายอย่างให้เป็นของกลุ่มเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในระดับองค์กรมีเพียงส่วนน้อยของแผนที่คงไว้ในคณะ สำหรับหลักสูตรที่กว้างขวาง และวิธีการที่มุ่งหมายเพื่อการสอน ภาควิชาต่างๆค่อยๆได้อำนาจเพิ่มขึ้นในองค์กร เพื่อขจัดโครงสร้างทางเลือกอื่นทิ้งไป หรือมิฉะนั้นก็ผลักไสให้เข้ารูปเข้ารอยอย่างแท้จริง แต่ครูสอนการออกแบบ ยังคงเรียกร้องเวลาครึ่งหนึ่งของหลักสูตรหรือเวลาประมาณ 80% ของนักเรียน ผลที่ตามมาคือ การสอนออกแบบจะได้สัดส่วนสำคัญของทรัพยากรและเวลาจากองค์กร ครูสอนออกแบบกลับไปสอนกันด้วยวิธีการเดิมๆที่เคยทำมาก่อน [18;19] ละเลยการเตรียมการที่ทำมาสำหรับโปรแกรมกลุ่มและแก้ไขแบบฝึกหัด จนกลายเป็นการดำเนินการวิชาการอย่างอิสระเป็นของตนเอง ซึ่งในหลักการของทฤษฎี ครูต้องแยกการสอนตามหลักการของตนออกไป ไม่ใช่ใช้การฝึกหัดทางปฏิบัติมาเป็นการบังหน้า หรือเพิ่มในวิชาบรรยายให้มากขึ้นเกินตารางเวลาเฉลี่ยตามปรกติของกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ยังส่งผลให้เวลาการศึกษาของนักเรียนด้วยตนเองหายไป โดยนักเรียนใช้เวลาของพวกเขาทั้งหมดไปกับความต้องการความเป็นหนึ่งของกลุ่มครู การแข่งขันกันระหว่างครูนี้ กลับส่งผลให้เกิดความเครียดกับนักเรียน ซึ่งต้องเรียนหนักขึ้นเพื่อสร้างความพอใจให้กับทั้งสองกลุ่มของพวกครู ที่ไม่เพียงแค่กลุ่มครูที่สอนเท่านั้น แต่รวมถึงกลุ่มครูที่ประเมินผลการเรียนของนักเรียนด้วย

การนำแบบ PBL ไปใช้ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Newcastle

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ การกำหนดหลักสูตรแบบ PBL ของโรงเรียนแพทย์ใหม่ที่ Newcastle ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกันกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กลายเป็นตัวอย่างและการเปรียบเทียบกัน อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำจากกลุ่มผู้ปรับปรุงหลักสูตรที่คณะแพทย์นั้นอีกด้วย แบบจำลอง PBL ต่างๆสำหรับวิชาแพทย์ จึงถูกปรับปรุงให้เหมาะกับวิชาสถาปัตยกรรม ข้อยอมรับที่สำคัญหนึ่งของ "กลุ่มที่สนใจ" รวมทั้งทางคณะตกลงกันว่า จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาสถาปัตยกรรม (และของคณะ) คือการบูรณาการทุกวิชาในหลักสูตรให้เข้ากับการสอนการออกแบบในห้องปฏิบัติการ โดยผ่านการใช้รูปแบบการเรียนรู้ของ PBL. มีเพียงกลุ่มน้อยที่ยังแคลงใจในเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม มีการตัดสินใจเพื่อนำร่องแนวคิดใหม่นี้สำหรับปีการศึกษาแรก (มีนาคม-มิถุนายน) ของนิสิตชั้นปีที่หนึ่ง เมื่อสิ้นสุดในเทอมนี้แล้ว จึงค่อยมาพิจารณากันว่าจะยกเลิกการทดลองนี้ หรือดำเนินการต่อไปในเทอมที่สอง หรือแม้กระทั่งจะยอมให้นำแนวคิดใหม่นี้ก้าวหน้าใช้กับชั้นปีที่ 2,3,4 และ 5 จนสำเร็จการศึกษาของนิสิตชุดนี้

หลักสูตรสองระดับปริญญา (จบหลักสูตรสามปีได้ B.ScArch แล้วต่อหลักสูตรวิชาชีพอีกสองปีได้ B.Arch) ยังให้โอกาสการทดลองสำหรับชั้นปีที่สี่ด้วย ซึ่งถือเป็นชั้นปีแรกทางวิชาชีพ และจะได้ตัดสินใจถึงความพยายามที่จะบูรณาการแนวคิดให้ครอบคลุมและต่อเนื่องได้สม่ำเสมอ เหมือนเช่นที่ใช้ในการทดลองของชั้นปีที่หนึ่งได้หรือไม่ด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนการสิ้นสุดปีการศึกษาแรก ทางคณะได้รับความมั่นใจว่าแนวคิดใหม่แบบ PBL ที่ใช้กับชั้นปีที่หนึ่งนั้น ได้ผลเกินคาดและควรจะดำเนินการได้ต่อๆไป และยังได้รับความมั่นใจในแนวคิดบูรณาการของ PBL ที่สามารถเข้ากันได้ในชั้นปีที่สี่ และอีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะปรับปรุงต่อไปให้เป็นแบบจำลอง PBL ที่ประสบความสำเร็จและเป็นไปได้อีกด้วย

ทางคณะยังมั่นใจต่อไปว่า ความยากลำบากในการรักษาแนวคิดการศึกษาสองแบบ (คือแบบจารีตเดิมและแบบใหม่ PBL / IL-Integrated learning) ไปพร้อมๆกันนั้น ยากลำบากกว่าการเร่งดำเนินการแบบ PBL อย่างเดียวล้วนๆ ดังนั้นจึงเป็นการแน่นอนที่จะเปลี่ยนหลักสูตรทั้งหมดปีต่อไป คือปีที่ 1-3 ใช้แบบจำลองของ PBL และปีที่ 4-5 ใช้แบบจำลองของ IL หลักสูตรวางไว้กว้างๆเพื่อเป็นแนวทางตามกระบวนการปฏิบัติที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเพิ่มการปรับปรุงทักษะ และวิธีการปฏิบัติงานของสถาปนิกในปัจจุบัน โดยเฉพาะ "แบบจำลอง" สำนักงานสถาปนิก ถูกเลือกและใช้นำเสนอในเรื่องความสัมพันธ์ของหลักสูตร กับวิธีการเรียนของนักเรียนสำหรับการดำเนินกิจกรรมทางอาชีพในอนาคต โครงสร้างของวิชาเกี่ยวข้องกับโครงการณ์จริงและลูกค้าจริง ทั้งสองกรณีที่เลือก จะเพิ่มความซับซ้อนและขนาดขึ้นไปเรื่อยๆตั้งแต่ ความสัมพันธ์ของห้องๆเดียวในอาคาร ที่เป็นจุดเริ่มต้นของศูนย์กลางธุระกิจสำคัญ สำหรับอาคาสูงสำนักงานให้เช่าที่จะพัฒนากันในเวลาต่อมา

โครงการณ์ที่เลือกมา เพื่อปรับปรุงกลุ่มความรู้ และเน้นลักษณะเฉพาะเรื่องในการออกแบบ (เช่น ภายนอก ภายใน) การก่อสร้าง (เหล็ก คอนกรีต อาคารช่วงสั้น/กว้าง อาคารเตี้ย/สูง) และบริบทที่ตั้ง (เช่น ชนบท ปริมณฑล ในเมือง) โดยปรกติ นักเรียนจะได้รับทราบปัญหาทั้งหมด มีส่วนน้อยและง่ายที่เป็นเรื่องของนามธรรม ก็เพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนของ "ปัญหา" และบอกจุดเน้นที่ตั้งใจ ตามพื้นฐานของการปรับปรุงทักษขั้นเริ่มแรก จนถึงวิชาที่เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงที่ซับซ้อนทางอาชีพในต่อๆมา ขอบเขตทั่วไประหว่างหลักการและวิชาการ จะถูกทิ้งไปและหลอมรวมกันใหม่เป็น "สาระศึกษาเดียวกัน" ขึ้นแทนที่ สะท้อนกลุ่มก้อนของความรู้ ทักษะ ความชำนาญการ และ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง รวมเข้าเป็นกลุ่มตามสภาพที่เป็นจริงในระบบอุตสาหกรรม และในการปฏิบัติในวิชาชีพ โดยยินยอมให้ล้มเลิกสาระเดิมที่ล้าสมัยเพื่อรับเอาสาระใหม่มาแทนที่กัน

เรื่องยุ่งยากประการแรกคือ ครูทำงานหนัก โดยเฉพาะในชั้นปีที่ 1และ 2 เพราะครูต้องสอนควบคู่กันไป แต่ในตารางเวลาสอนมีไม่พอ ขณะที่วิชาในแบบเดิมดำเนินไปนั้น อีกส่วนยังมีวิชาในแบบใหม่พ่วงเข้ามา โดยเฉพาะ ความต้องการวิชาเฉพาะทางที่ใช้ในหลักสูตรแบบ PBL มีความแตกต่างกันในการจัดตารางเวลาสอน เพราะจะมีการสอนประกอบเชิงปฏิบัติการด้วย และบ่อยครั้งที่ตรงกับเวลาวิชาบรรยายแบบเดิม การจัดตารางเวลาสอนเพื่อให้สอดคล้องกัน จึงกลายเป็นเรื่องยุทธวิธีที่ท้าทายเรื่องเวลา มันต้องการเวลามากด้วย ในการที่ครูพยายามที่จะรวมเอาเนื้อหาวิชาเดิมบวกเข้าไปกับเนื้อหาวิชาใหม่

ความยุ่งยากประเด็นต่อไปคือ นักเรียนเรียนหนักทั้งในโปรแกรม PBL และ IL คือนักเรียนหลายคนจะประสบปัญหาในการปรับตัวให้เหมาะสมกับหลายๆเรื่องที่ศึกษา และจะค่อนไปกับการเสียเวลามากในชั้นเรียนใหม่ๆ ที่เป็นเพียงแค่การรับข่าวสารและภาระกิจ พอๆกับในชั้นเรียนที่เป็นการสร้างองค์ความรู้และรับภาระกิจที่มอบหมายให้เช่นกัน [20]. ผู้ร่วมงานบางคนก็เช่นกัน มีความยุ่งยากในการลดความสำคัญของการให้ข่าวสารในหลักสูตรเดิม เพื่อนำเอาวัสดุวิชาใหม่ที่จำเป็นในแง่การปฏิบัติในบริบทที่เป็นจริงของโครงการณ์ นักเรียนกลุ่มใหญ่จากประเทศเอเซียอาคเนย์ มีปัญหามากเป็นพิเศษ โดยที่พวกเขาต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เหมาะกับในการเรียนแบบเดิมๆ และจะต้องปรับเปลี่ยนกันอีกสำหรับการเรียนแบบใหม่ นักเรียนทั้งหมดจะยุ่งยากในการเคลื่อนย้าย จากการเรียนรู้ที่มีครูเป็นศูนย์กลางของการเรียนแบบเดิม ไปเป็นแนวคิดใหม่ที่ใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ โดยเฉพาะในระดับของการเรียนรู้แบบบูรณาการ (IL)

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ร่วมงานและนักเรียนเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน การเปลี่ยนบทบาทจากผู้เชี่ยวชาญในส่วนที่แคบๆไปสู่ภาพสะท้อนของผู้เชี่ยวชาญ (นักปฏิบัติอื่นๆ) ในส่วนที่กว้างขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ร่วมงานที่เป็นนักปฏิบัติในภาวะการณ์ปัจจุบัน แต่ทว่ามีปัญหาในแง่ของนักวิชาการอาชีพ การหมดอำนาจในการจำกัดสาระให้ตรงกับความสนใจและประสบการณ์ของพวกเขา รวมทั้งความจำเป็นใหม่ในการสอน และคำถามในแขนงวิชาสถาปัตยกรรมที่กว้างขวางขึ้น อันเกิดจากการกำหนดขึ้นในแต่ละโครงการณ์ ทำให้เกิดบทบาทที่ขัดแย้งกันของผู้ร่วมงานทั้งหมดที่ควรพิจารณา ผู้ร่วมงานบางคน ไม่สามารถและไม่ยินยอมที่จะปรับตัวให้เข้ากับหลักสูตรใหม่ ก็ได้ลาออกไปภายในปีแรก คนอื่นๆที่เป็นทุกข์และทนความเครียดไม่ได้ ก็ลาออกไปในปีที่สองและปีที่สามต่อมา

การเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ร่วมงาน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การตั้งป้อมเป็นศัตรูกันทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัวระหว่างสองกลุ่มค่อยๆหมดไป เมื่อผู้เป็นปรปักษ์หลักลาออกไป ผู้ร่วมงานซึ่งเคยได้รับการโปรดปราณ เช่นได้เลื่อนตำแหน่งสูงๆ ก็ลาออกไปด้วย พวกเขาถูกแทนทีด้วยผู้ร่วมงานใหม่ที่รอบรู้หลายด้าน และจัดเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านอาชีพ และยังไม่เป็นพวกหรือร่วมกลุ่มกับพวกศัตรูเก่าๆ พวกผู้ร่วมงานใหม่นี้ยังสามารถปรับตัวได้กับการสอนแนวใหม่ โดยไม่ละเลยการรับรู้ในแบบเดิม อีกทั้งยังให้แรงจูงใจสูง มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์จริยธรรมด้านบวกให้เกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งค่อยๆขยายผ่านต่อไปยังผู้ร่วมงานและนักเรียนอื่นๆ
แนวคิดใหม่นี้ดำรงอยู่มานานถึงสิบปีจนถึงปัจจุบัน ทางคณะเองได้ชื่อว่าเป็นผู้นำทางการศึกษาสถาปัตยกรรมและการพัฒนาทฤษฎีการสอนด้วย ผู้ร่วมงานจำนวนสองคนได้รับรางวัลการสอนยอดเยี่ยม และคณะได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสิบสามของโรงเรียนสถาปัตยกรรมที่ยอดเยี่ยมของประเทศ

การเปลี่ยนแปลงการศึกษาใหม่และการปรับองค์กร
Educational innovation and organisational change

เพื่อให้เข้าใจการประยุกต์ใช้ของกระบวนการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เราควรมารับรู้ข้อเขียนของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาใหม่ และข้อเขียนที่เกี่ยวกับการปรับองค์กร ในข้อเขียนสำหรับเรื่องแรก แนะนำว่าขั้นตอนการวางแผนและการเตรียมการที่ถูกเปิดเผย จะเป็นสิ่งจำเป็นและมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง [21;22;23] และจะเกี่ยวข้องกับการการมีส่วนร่วมที่สำคัญอันนำไปสู่ความสำเร็จได้ นั่นคือ การมีส่วนร่วมในการรับรู้การเปลี่ยนแปลงใหม่ ซึ่งเป็นดังเช่นสะพานเชื่อมไปสู่เป้าหมายของพวกเขาได้ชัดเจนมากเท่าไร โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ย่อมมีได้มากเท่านั้น หมายความว่า กระบวนการเตรียมการที่เพิ่มขยายได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะนำไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรใหม่ต่อไป ส่วนข้อเขียนสำหรับการปรับองค์กรนั้น มีคำแนะนำว่า ในหลายๆครั้งอาจต้องเป็นการบังคับหรือกระทำโดยพลการจึงจะมีประสิทธิผล Chin และ Benne [24] เสนอกลยุทธ์สามรูปแบบ ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการปรับองค์กร คือ
  • กลยุทธ์เหตุผลเชิงประจักษ์ --Empirical-rational strategies
  • กลยุทธ์ปรับตัวใหม่ตามบรรทัดฐานสังคม --Normative-reeducative strategies
  • กลยุทธ์บังคับกันด้วยอำนาจ --Power-coercive strategies

แต่ละกลยุทธ์ถือเอาความเชื่อตามธรรมชาติของมนุษย์ กลุ่มผู้ยึดมั่นในกลยุทธ์แรกมองมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล กลยุทธ์ที่สองเน้นพฤติกรรมมนุษย์ในเชิงสังคม และการปรับตัว หรือความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ส่วนกลยุทธ์บังคับกันด้วยอำนาจนั้น อยู่บนฐานของการมองธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ดีน้อยลง กล่าวคือ คนเราพิสูจน์กันด้วยงานของแต่ละคนเป็นสำคัญ หรือการรับรู้เรื่องงานซึ่งคนส่วนมากมองไม่เห็นประโยชน์ในการร่วมกันทำเป็นแบบองค์กร อำนาจตามกฏหมายจึงต้องกำหนดใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนใหญ่

ประสบการณ์ที่ Delft และ Newcastle แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ทั้งสามแบบนี้ นำไปใช้ในหลายระดับในทั้งสองกรณี ในกรณีของ Delft กลยุทธ์แบบเหตุผลเชิงประจักษ์สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนเกิดขึ้นโดนบังคับด้วยอำนาจ (power-coercive) ของทางคณะ ซึ่งเป็นการคุกคามจากภายนอก สำหรับแผนการปรับปรุงใหม่นั้น เกิดจากผู้ร่วมงานส่วนน้อย แต่มีการตัดสินใจนำแผนไปใช้โดยการบังคับกันด้วยอำนาจจากกรรมการคณะเพียงฝ่ายเดียว ความพยายามที่จะอบรมผู้ร่วมงานนั้น ไม่ต้องสงสัยว่าเป็นความตั้งใจใช้กลยุทธ์การปรับตัวใหม่ตามบรรทัดฐานทางสังคม แต่ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นการบังคับกันด้วยอำนาจ แม้การเสนอภาคข่าวสารให้ก่อนหน้านั้น อาจส่งเสริมการปรับตัวใหม่ มั่นใจในการประสบความสำเร็จ และอาจดูเหมือนเป็นการลดความจำเป็นของกรรมการคณะและสภาในแง่การใช้อำนาจบังคับเพียงฝ่ายเดียวก็ตาม

ในกรณีของ Newcastle การคุกคามจากภายนอก เห็นได้ชัดว่าเป็นการใช้อำนาจบังคับกัน และการตัดสินใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ส่วนมากแล้วไม่ต้องสงสัยเลยว่า เกิดจากพื้นฐานของเหตุผลที่ตอบสนองการข่มขู่ อย่างไรก็ตาม เพราะการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากทางสายอาชีพ ทำให้การใช้เหตุผลถูกตามด้วยการปรับตัวใหม่ในแนวทางของตนเอง (อย่างน้อยในระดับของการตกลงกัน) ยินยอมให้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงตัดสินใจโดยทางคณะ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจบังคับกันจากภายนอก เพราะฉะนั้น ด้วยการตัดสินใจเองของทางคณะ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงจึงถูกนำไปใช้ ปรากฏว่านักเปลี่ยนแปลงการศึกษาใหม่ มักชอบการผสมผสานระหว่างกลยุทธ์ทั้งสองแบบแรก พวกเขาต้องการให้คนเปลี่ยนแปลงกันโดยเหตุผล และ/หรือโดยการปรับตัว เรียนรู้กันใหม่เพื่อชักชวนให้อนุโลมกันได้ โดยผิวเผินเหมือนการแนวคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม การทำให้คนเชื่อได้นั้นต้องใช้เวลา ในองค์กรขนาดใหญ่คนส่วนมากมักเป็นพวกจารีตนิยม ซึ่งตรงข้ามกับคนในองค์กรเล็ก มักพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเพราะมีความเป็นจารีตนิยมน้อยกว่า

เพราะฉะนั้น ภายใต้เงื่อนไขภายนอกที่ปรกติ การปรับองค์กรใหญ่จึงไม่ง่าย การพิจารณาใช้อำนาจจากเบื้องบนลงมาจึงจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการความรีบด่วน เหมือนเช่นในกรณีของ Delft ในอีกแง่หนึ่ง การตกผลึกทำให้เหมาะที่จะขจัดความเคยชินที่เป็นมาแต่เดิมได้ ดังเช่นในกรณีของ Newcastle ที่ซึ่งคณบดีมีความสะดวก ในการยกเลิกกฏเกณฑ์เดิมๆทิ้งไป ขจัดเเครื่อข่ายแบบเดิมที่เฉื่อยชา และยกเลิกโครงสร้างอำนาจที่มาจากความอาวุโส แม้กลยุทธ์การใช้อำนาจบังคับกัน อาจประสบความสำเร็จในกรณีที่ต้องแก้ปัญหาอย่างรีบด่วน แต่การเปลี่ยนแปลงใหม่บนแนวทางนี้ไม่ยั่งยืนในระยะยาว คนที่ถูกตัดออกไปจากกระบวนการตัดสินใจ หรือคนที่ถูกแทนที่โดยไม่ให้เป็นทางเลือก ไม่มีส่วนการตัดสินใจด้วยตนเอง หรือไม่มีปรัชญาเป็นพื้นฐานของตน ก็จะมีเหตุผลเพียงเล็กน้อยที่จะสนับสนุนผลที่เกิดขึ้นภายหลัง เพื่อให้เป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน มันจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เพื่อระยะยาว เช่นสร้างเงื่อนไขให้ทุกคนรับผิดชอบในส่วนตัวและในส่วนรวม กลไกการบริหารและการนำกลยุทธ์นี้ไปใช้ จะต้องคำนึงถึงทั้งโดยนัยพฤติกรรมองค์กร และการรับรู้และความปรารถนาส่วนบุคคล และสามารถขับเคลื่อนทั้งสองสิ่ง ไปพร้อมด้วยการส่งเสริมการแทรกแซงอื่นๆที่เกิดขึ้นด้วย นี่แปลว่า ผู้นำทางการศึกษาต้องการทักษะการบริหารที่เปิดกว้างเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

บทสรุป
Summary

ความมุ่งหมายของเอกสารนี้ เพื่ออธิบายกลไกของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ Delft และ Newcastle ทั้งสองได้รับการพิจารณาว่าการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกเกณฑ์เพื่อความสำเร็จ และทั้งสองสถานะภาพสามารถเป็นข้อแก้ต่างได้ทั้งสองกรณี เรื่องที่ควรพิจารณากันในบทความนี้คือการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร

ขอกล่าวด้วยความเคารพว่า การเปลี่ยนแปลงการศึกษาใหม่ในแต่กรณี สามารถพิจารณาได้ว่าล้มเหลว เพราะวิธีการสอนแบบเดิมบางอย่างยังคงไว้ในการเปลี่ยนแปลงทั้งสองกรณี คงอยู่ภายใต้หน้ากากใหม่ และความเครียดที่เกิดขึ้นในระยะแรกๆทั้งกับผู้ร่วมงานและนักเรียน ถือได้ว่าเป็นความล้มเหลวอีกเช่นกัน ในขณะที่ผู้ร่วมงานส่วนมากที่มีส่วนร่วมในหลักสูตรใหม่มีความสุข และมีรายงานที่น่าเชื่อถือของคณะกรรมการตรวจสอบภายนอกให้การสนับสนุนอย่างมากมาย

หลักสูตรใหม่ทั้งสองกรณีมีความมั่นคง เท่าๆกับแสดงให้เห็นว่าเป็นความพยายามที่ไม่ประสบความสำเร็จ ในแต่ละกรณีที่ดัดแปลงโครงสร้างใหม่ ตัวอย่างเช่นที่ Delft มีความพยายามที่ล้มเหลวในการนำเสนอหลักวิชาการนอกกลุ่มวิชาที่จัด (โดยสนับสนุนแง่หลักทางเทคนิค) และการมุ่งเน้นการสอนวิชาออกแบบในแค่สองสามกลุ่มวิชา เพียงเพื่อแบ่งเวลาให้กับเรื่องทฤษฎีที่นำร่องในกลุ่มวิชาอื่นๆ ที่ Newcastle มีความพยายามกลับไปกำหนดหลักวิชาออกแบบ ที่เข้มงวดกับการสอนวิชาออกแบบในแง่เป็นผู้ชำนาญการ ความพยายามที่จะกลับไปกำหนดอำนาจของครูผู้สอนในทั้งสองกรณี โดยเฉพาะในวิชาออกแบบ เกี่ยวกับอะไรที่สอน และควรสอนอย่างไร รวมทั้งเพิ่มความกดดันให้กับชั้นเรียนที่สูงกว่า ความพยายามเหล่านี้ ไม่ลงรอยกัน หรือเกี่ยวข้องกันกับวัตถุประสงค์ของการบูรณาการ ซึ่งถือเป็นหลักการที่ตรงข้ามของการเรียนรู้แบบ PBL.

กลับมาที่ครู ซึ่งเลิกบทบาทของการครอบงำ เปลี่ยนเป็นความพอใจที่คอยเฝ้าดูนักเรียน ให้เพิ่มความกระตือรือร้นและมีอิสระมากขึ้น รูปแบบความพอใจนี้บ่งชี้คุณลักษณะของครูที่ดีในระบบที่เน้นการสอน ความพึงพอใจที่เพิ่มเข้ามา ยังเกิดจากยอมรับและเป็นที่น่าเชื่อถือในระดับที่สูง เพราะเป็นการสนับสนุนทางด้านวิชาชีพ ในประเด็นความสัมพันธ์กันกับความสามารถหลังจบการเรียนนั้น มีความตรงกันกับความต้องการในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพในขณะนั้นด้วย
รูปแบบของ PBL ถูกใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่ง เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรและการศึกษา ด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทั้งสองกรณีของ Delft และ Newcastle เป้าหมายสำคัญคือองค์กรของคณะต้องคงอยู่ได้ต่อไป สำหรับเป้าหมายของการศึกษาที่ Delft มีความสัมฤทธิ์ผลมากมาย โดยที่การเรียนรู้แบบ PBL เป็นหนทางไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์นั้น สำหรับเป้าหมายของ Newcastle คือการบูรณาการ และรูปแบบของ PBL เป็นเสมือนโครงสร้างที่เหมาะสมเพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์นั้น เหตุผลในการเลือกและวิธีการที่นำเสนอในรูปแบบ PBLนั้นแตกต่างกัน ความแตกต่างเกิดจากขนาดของคณะทั้งสอง ซึ่งมีความแตกต่างกัน ขนาดที่ใหญ่กว่าของคณะที่ Delft จะมีอุปสรรคเรื่องความเฉื่อยชาและความเป็นจารีตนิยมมากกว่าคณะขนาดเล็กที่ Newcastle

จากการเปรียบเทียบกันในสองกรณีนี้ ได้ข้อเสนอแนะว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในแต่ละกรณี แต่ที่ Newcastle ซึ่งเริ่มก่อน ดูจะไปได้ไกลกว่าที่ Delft ผู้ร่วมงานและนักเรียนที่ Newcastle ได้ชนะอุปสรรคในเรื่องการต่อต้าน ซึ่งมักเกิดควบคู่ไปกับเปลี่ยนแปลงเสมอ ยังได้พัฒนาความเชื่อมั่นใหม่ให้เกิดขึ้นได้ในโรงเรียน ทั้งในด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันที่สูงมาก กรณีของ Delft ซึ่งเริ่มทีหลัง และยังคงอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้ร่วมงานที่ไม่พอใจยังรีรอการลาออกไป ปัญหานักเรียนซึ่งเรียนกันหนักยังไม่ได้รับการแก้ไข ความเชื่อมั่นจึงยังไม่เกิดขึ้นมากนัก จากการที่แต่งตั้งคณบดีคนใหม่เมื่อเร็วๆนี้ อาจเป็นการช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งการเกษียรอายุของผู้ร่วมงานจำนวนมาก จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเฉื่อยชาในการปรับองค์กรต่อไปได้

คำทำนายสำหรับคณะทั้งสองนี้ ต้องบอกว่าไปได้ดีและเยี่ยม เพราะทั้งสองคณะได้รับการกล่าวขานว่ามีขอบเขตการศึกษาที่กว้างไกล ในรูปแบบจำลองของ PBL และการศึกษาสถาปัตยกรรมนั้น ถือว่าเป็นแบบจำลองหลายๆอย่างในเรื่องของความเป็นเลิศ ซึ่งแนวคิดเรื่องการศึกษาในแขนงวิชานี้สะท้อนความต้องการที่จำเป็นต่างๆของวิชาชีพสำหรับศตวรรษใหม่นี้ ผลที่เกิดขึ้นนี้ อาจได้มาโดยธรรมชาติที่ไม่รู้ตัว เช่น ด้วยความทะเยอทะยาน ด้วยกระบวนการซึ่งลดทอนสิ่งที่ไม่รู้ จากการไตร่ตรองเปรียบเทียบกันในสิ่งที่เปลี่ยนแปลง โดยไม่คำนึงถึงว่า รูปแบบ PBL จะเป็นส่วนสำคัญของความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่อยู่เหนือข้อจำกัดในสองกรณีดังที่กล่าวมาแล้ว สามารถใช้เป็นหลักของกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับการจัดการ ในกรอบหลายกรอบที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมขององค์กร เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงการศึกษาใหม่ที่ต้องการนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศที่ท้าทายต่อการเรียนรู้ ซึ่งต้องการอย่างมากสำหรับการศึกษาการช่างในศตวรรษใหม่นี้ [25;26].

References

1. Woerden, W.M. van, Het Projectonderwijs onderzocht. (Research into the project method of teaching). thesis, University of Technology Twente, Enschede (1991).
2. Verkenningscommissie Bouwkunde, Eindrapportage [Final Report] (1988).
3. Programma Commissie Bouwkunde, PKB. Herprofilering van de Bouwkundeopleiding aan de Technnische Universiteit Delft [A New Profile for Building Sciences at the TUD]. Delft, Faculteit der Bouwkunde (1989).
4. Schon, D.S., The reflective practitioner: How professionals think in action. Basic Books, New York (1983).
5. Cowdroy, R. and Maitland,B., Integration, assessment and problembased learning. In: Chen, Cowdroy, Kingsland and Ostwald (Editors) Reflections on problembased learning. APBLN, Problarc, University of Western Sydney, Sydney (1994).
6. Boud, D. & Feletti, G., The Challenge of Problem-based Learning. Kogan Page, London (1991).
7. De Zeeuw. G., Problemen van verbeteren en innoveren [Problems of improvement and innovation]. In: Postdoctorale opleiding Innovatie manager. Academie voor Informatica, Universiteit van Amsterdam, Amsterdam (1990).
8. Rogers, C., On becoming a person. Houghton Mifflin, Boston (1961).
9. Cowdroy, R., Concepts, constructs and insights: the essence of problembased learning. In: Chen, Cowdroy, Kingsland and Ostwald (Editors) Reflections on problembased learning. APBLN, Problarc, University of Western Sydney, Sydney (1994).
10. Barrows, H.S., A taxonomy of problembased learning methods. Medical Education, 20, 481486 (1986).
11. Schmidt, H.G., Activatie van voorkennis, intrinsieke motivatie en de verwerking van tekst (Doctoral dissertation), Apeldoorn, Van Walraven, Apeldoorn (1982).
12. Frijns, P. en E. de Graaff, Doceren of Faciliteren? Velon, 14, 2, 3436, (1993).
13. Kingsland, A and Cowdroy, R., Focusing your skills: a definition of roles in PBL (or teacher roles in studentcentred learning. In: ProblemBased Learning, Research and Development in Higher Education. Conference proceedings, University of New South Wales, Sydney (1993).
14. Graaff, E. de and Bouhuijs, P.A.J., Management of educational change: a discussion of the implementation process at the Faculty of Building Sciences. In: Erik de Graaff & Peter A.J. Bouhuijs (eds.) Implementation of problembased learning in higher education. Thesis Publishers, Amsterdam (1993).
15. Woord, J. van der & E. de Graaff, Changing Horses MidCourse; The implementation of a problembased curriculum at the department of building sciences of the Technical University Delft, Holland. In: P.A.J. Bouwhijs, H.J. Schmidt & H.J.M. van Berkel (eds.) Problembased learning as an educational strategy. Network publications, Maastricht (1993).
16. Westrik, J. and E. de Graaff, Development and management of the new PBLbased curriculum in Architecture. Key note lecture presented at the conference Reflection and Consolidation Newcastle, Australia, 36 july 1994. In: S.E. Chen, R.M. Cowdroy, A.J. Kingsland and M.J. Ostwald (eds.) Reflections on Problembased Learning. Australian Problem Based Learning Network, Sydney (1994).
17 Visitatie commissie, Onderwijsvisitatie Civiele Techniek, Bouwkunde en Geodesie. Eindrapportage [Final Report]. VSNU, Utrecht (1994).
18. Claessens, M., Programmaevaluatie bij innovatie van een ingenieursopleiding [Programme evaluation in the context of innovation of an engineering course] (dissertation). Delftse Universitaire Pers, Delft (1995).
19. Claessens, M, De Graaff, E, Jochems, W, and Cowdroy, R., Student Evaluation Of A Problem Based Course. In: Architecture, in Research and Development in ProblemBased Learning, Vol 3. APBLN, UNSW, Sydney (1995).
20. Cowdroy, R. and Kingsland, A., Decompressing the timetables in ProblemBased Learning. In: Research and Development in Higher Education, Higher Education. Research and Development Society of Australasia, conference proceedings, University of New South Wales. Sydney, July 1993, (1994).
21. Dalin, P., Limits to educational change. Macmillan, London (1978).
22. Fullan, M., The Meaning of Educational Change. Teachers College, Columbia University, London/New York (1982).
23. Romizowski, A., Designing Instructional Systems: Decision making in course planning and curriculum design. Kogan Page, London (1990).
24. Chin, R. & Benne, K.D., General strategies for effecting changes in human systems. In W.G. Bennis, K.D. Benne & R. Chin (eds.) The planning of change (fourth edition). Holt, Rinehart & Winston, New York (1985).
25. De Graaff, E., Problem-based learning in engineering education (key-note lecture). In: Societ Europenne pour la Formation des Ingnieurs and The Engineering College of Copenhagen (eds.) Project-organized curricula in engineering education. SEFI cahier no 4., SEFI, Brussel (1994).
26. Cowdroy, R., Architects' continuing professional development: a strategic framework. Royal Australian Institute of Architects, NSW Chapter, Sydney (1992).
จาก…Journal of Language and LinguisticsVolume 1 Number 3 2002ISSN 1475 - 8989

Architectural Education Innovation-1

นวัตกรรมการศึกษาสถาปัตยกรรม
ว่าด้วย..การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงใหม่
(Architectural Education Innovation)


ความเป็นมา

หลายปีมาแล้ว วิชาสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างจากวิชาอื่นๆ มีวิธีการสอนที่แตกต่างจากปรกติ มักเน้นการสอนด้วยวิธีการออกแบบโครงการณ์ (Design Projects) อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อีกบางส่วนเป็นการเรียนรู้จากการบรรยาย และสัมมนาแบบปรกติทั่วไป แต่เวลาของการเรียนรู้ส่วนใหญ่ใช้ในห้องปฏิบัติการออกแบบ คือ การเขียนแบบ ทำหุ่นจำลอง เพื่อการพัฒนาการปรับปรุงในแต่ละโครงการที่ออกแบบของแต่ละผู้เรียน เป็นการเรียนรู้แบบปฏิบัติการโดยลงมือกระทำ (learning by doing) ในเวลาเดียวกัน ในแต่ละโครงการออกแบบ ผู้เรียนจะเสนอความคิดคร่าวๆพร้อมขอบข่ายในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอาคารที่แต่ละคนออกแบบ โดยมุ่งหวังที่ผลงานสุดท้ายของการเรียนรู้ ผู้สอนเป็นผู้แนะนำ ซึ่งมักเป็นสถาปนิกที่ออกแบบเป็นงานอาชีพเป็นครั้งคราวไปพร้อมๆกัน จะให้ความรู้ในด้านการปฏิบัติ แนะนำและสนับสนุน ให้แนวทางที่จำเป็นในการออกแบบ โดยหวังให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าส่วนอื่นที่จำเป็นและมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบเพิ่มเติมด้วย เมื่อสิ้นสุดเวลาของโครงการออกแบบหนึ่งๆ ผู้เรียนแต่ละคนต้องเสนอผลงานออกแบบ ต่อกลุ่มผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญที่รับเชิญ เพื่อรับการวิจารณ์และประเมินผลงาน การวิจารณ์และข้อเสนอแนะในขั้นสุดท้ายนี้ จะมีผลต่อผู้เรียนในการพัฒนาการในโครงการออกแบบในอนาคตต่อไป กลุ่มผู้วิจารณ์ หรือที่เรียกว่า กรรมการประเมินผล (The crit(-ic) panel) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเกรดของผู้เรียนด้วย

เนื่องจากวิธีการสอนสถาปัตยกรรมแตกต่างจากวิชาอื่น จึงเป็นการยากที่นักการศึกษาและนักพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย จะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือที่เหมาะสมสำหรับผู้สอนสถาปัตยกรรม ในทำนองเดียวกัน ก็เป็นการยากสำหรับครูสอนสถาปัตยกรรมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนในสาขาวิชาอื่น แม้บางวิธีการสอนอาจคล้ายคลึงกันบ้างในสถาบันเดียวกัน ดังนั้น หากมีหน่วยงานกลาง เช่น..the LTSN center for Education in the Built Environment จะแก้ไขช่องว่างตรงนี้ได้

การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
Educational Innovation

การเรียนรู้แบบใช้ โครงการ แบบใช้ปัญหา และแบบใช้การสืบสวน เป็นพื้นฐานในการศึกษา (Project, Problem, and Inquiry-based Learning)

คำถาม?

อะไรคือ รูปแบบการใช้ปัญหา การใช้โครงการณ์ และการใช้การสืบสวนหรือการวิจัย เป็นพื้นฐานของการศึกษา?

แนวคิดเหล่านี้มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
เราจะเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับห้องเรียนที่พร้อมด้วยเท็คโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร?

การสำรวจเพื่อความเข้าใจของแนวคิดเหล่านี้

การเรียนรู้แบบโครงการณ์ (Project-based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (problem-based learning) และการเรียนรู้แบบสอบสวน (inquiry-based learning) การเรียนรู้ทั้งสามแบบนี้สัมพันธ์กันกับกระบวนการจัดการข้อมูล ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่งกับการเรียนรู้เรื่องสภาพทางเท็คโนโลยี ที่ไม่เน้นทั้งเรื่องของ hardware and software แต่เน้นที่ประสบการณ์เป็นสำคัญ ในแต่ละกรณีเทคโนโลยีถูกใช้เป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้ อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการกับมโนทัศน์ทั้งหลาย (เช่นแรงบันดาลใจ) ช่วยค้นหาข้อมูลปัจจุบัน (เช่นแหล่งของข่าวสารออนไลน์) หรือการนำเสนอมโนทัศน์ในขณะนั้น (เช่นการนำเสนอด้วยโปรแกรม PowerPoint) การเน้นสภาพการณ์ในการเรียนรู้เช่นนี้ ทำให้เกิดความตื่นเต้นกับผู้เรียนในเรื่องการแก้ปัญหาที่พบว่าเป็นเรื่องที่มีความหมายและน่าสนใจสำหรับพวกเขาด้วย
การเรียนรู้โดยใช้โครงการณ์เป็นพื้นฐาน (Project-Based Learning)

ความหมายของโครงการณ์

หมายถึง โครงการณ์ที่เป็นจริงมีคุณค่าและเป็นที่สนใจสำหรับผู้เรียนที่จะตรวจสอบในทางลึกๆได้ จัดขึ้นโดยกลุ่มผู้เรียนขนาดย่อม โครงการณ์สำหรับผู้เรียนมีวัยวุฒิ ต้องประกอบด้วยการสอนที่มีระบบด้วย แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงการณ์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสอน โดยผู้สอนชี้แนวทางใผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งตรงกับโครงการณ์ที่เป็นจริง ไม่จำเป็นต้องตระเตรียมไว้พร้อมสรรพ ควรเป็นโครงการณ์ที่มีความซับซ้อนก็ได้แต่ต้องมีเค้าโครงที่ยืดหยุ่นได้ โดยเฉพาะยอมให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้ตลอดเวลา ผู้สอนจะประสบความสำเร็จได้เมื่อผู้เรียนได้รับสิ่งเร้าสูง รู้สึกมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และสามารถผลิตผลงานได้อย่างมีคุณภาพสูง

คำพรรณนา-โครงการณ์

ทุกโครงการณ์ต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุก สร้างสรรค์ เสริมทักษะในการขีดเขียน ผู้เรียนมีโอกาสใช้วิทยาศาสตร์และสังคมวิทยาช่วยการแสวงหาความรู้ในหลากหลายวิธี สามารถนำความรู้เดิมเช่นคณิตศาตร์และภาษามาสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ๆได้

สำหรับการเรียนรู้ของผู้เยาว์ โครงการณ์อาจเป็นนิทานที่ดี มีจุดเริ่มต้น สาระ และการสิ้นสุด ครูและนักเรียนสามารถบอกนิทานที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งสามระดับ เริ่มอย่างไร เป็นไปอย่างไร และสิ้นสุดตรงไหนเมื่อไรได้

การเรียนรู้แบบโครงการณ์

เป็นความมุ่งหมายของการเรียนรู้แบบหนึ่งที่เน้นการพัฒนาผลผลิตที่สร้างสรรค์ ปัจจุบันการเรียนรู้แบบโครงการณ์ มักเกี่ยวข้องหรือการมีส่วนร่วมกับผู้เรียน และอาจจะหรือไม่เกี่ยวกับรูปแบบการใช้ปัญหาที่กำหนดเป็นพื้นฐาน หรือรูปแบบการสืบสวนที่กำหนดใช้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้โดยตรงก็ได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซท์ต่อไปนี้...
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างรูปแบบการใช้โครงการณ์และรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ (Project-Based and Problem-Based:The same/different?)

ทั้งสองรูปแบบต่างเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ความหมายที่ใช้อาจค่อนข้างกว้าง แต่มีความคล้ายคลึงกันในแง่แนวคิดเพื่อใช้พัฒนาในการเรียนรู้ จากการสำรวจการโต้แย้งเชิงวิชาการที่ได้จากเอกสารและบทความต่างๆ แม้จะมีความสับสนกันอยู่บ้าง แต่ก็พอจะเปิดเผยได้ว่า ทั้งสองรูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน

ความคล้ายคลึงกัน


จากการจำกัดความที่พบในข้อเขียนต่างๆ รูปแบบการใช้โครงการและการใช้ปัญหาในการเรียนรู้นั้นมีคุณลักษณะร่วมกันหลายประการ ทั้งสองแบบต่างเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน และตั้งใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับโลกที่เป็นจริง ผู้เรียนจะได้รับมอบหมายลักษณะของโครงการณ์หรือปัญหาที่เปิดกว้างในการเรียนรู้ในหลายแนวทาง ไม่ใช่การป้อนคำตอบใดเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญคือการจำลองจากสถานะการณ์ของการปฏิบัติที่เป็นจริงไม่ใช่การสมมุติ ทั้งสองแนวคิดในการเรียนรู้นี้กำหนดเหมือนกันตรงที่ถือเอาผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นบทบาทของผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลือหรือผู้คอยให้คำปรึกษา ผู้เรียนเกี่ยวข้องกับโครงการณ์หรือปัญหาในลักษณะของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามช่วงเวลาที่กำหนด และกระตุ้นให้เกิดการค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย โดยปรกติแนวคิดทั้งสองนี้เน้นการได้รับความรู้บนฐานของการดำเนินงานที่ตรงกับความเป็นจริง

ความแตกต่าง


นอกเหนือจากความคล้ายคลึงที่กล่าวมาแล้ว การเรียนรู้แบบใช้โครงการและแบบใช้ปัญหามีแนวคิดหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน การเรียนรู้แบบใช้โครงการณ์ ปรกติเริ่มที่ผลผลิตของงานที่เกิดขึ้นในใจ ผลงานอาศัยความรู้เฉพาะเรื่องและทักษะ และเกิดจากปัญหาเดียวหรือมากกว่าซึ่งผู้เรียนต้องแก้ปัญหาเอง ขนาดของโครงการณ์ขึ้นอยู่กับกรอบของเวลา ผลงานต่างระดับกันตามเทคโนโลยีที่ใช้ และการบิดเบือนที่ตบตากันในบางครั้ง การเรียนรู้แบบใช้โครงการณ์ เน้นที่แบบจำลองของผลผลิต เริ่มแรกผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานสุดท้ายและกำหนดผู้ดูหรือลูกค้า พวกเขาค้นคว้าในเรื่องที่พวกเขาตั้งขึ้น ออกแบบผลงานของพวกเขา วางแผนและจัดการโครงการณ์กันเอง ผู้เรียนเริ่มที่โครงการณ์ที่ได้รับมอบหมาย แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผลิตผลงาน และพยายามทำให้สำเร็จลุล่วงไป ผู้เรียนอาจใช้หรือนำเสนอผลงานที่สร้างขึ้นเป็นระยะๆ และให้เวลาในการประเมินงานตามที่กำหนดไว้ (Crawford, Bellnet website, Autodesk website, Blumenfeld et al) กระบวนการทั้งหมดมุ่งการเรียนรู้ที่สะท้อนในโลกที่เป็นจริงช่วยเหลือในเรื่องของกิจกรรมและความคิดที่ผู้เรียนต้องการขณะนั้น แม้ผลงานสุดท้ายเป็นสิ่งที่มุ่งได้รับในการเรียนรู้แบบโครงการณ์ ซึ่งจะได้ความรู้และทักษะที่เกิดขึ้นจากการสรรสร้างผลงานนั้นๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้

ส่วนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานนั้น เริ่มต้นจากปัญหาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในการแก้ปัญหานั้นๆ บ่อยครั้งที่ปัญหาเหล่านี้เกิดจากกรอบความคิดของกรณีศึกษา ปัญหาจะเป็นลักษณะเปิด (ill-structured) คือจะมีคำตอบได้หลากหลาย ซึ่งเลียนแบบปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ ขณะที่การเรียนรู้แบบโครงการณ์และการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานอาจสร้างความบิดเบือนได้ง่าย ดังนั้นการใช้แนวคิดในแบบจำลองของการสืบสวน ซึ่งผู้เรียนต้องกำหนดปัญหาขึ้นมาเสนอ แล้วพวกเขาจึงเริ่มการจัดการกับความรู้เดิมๆในเรื่องเดียวกัน เพิ่มคำถาม และกำหนดแหล่งข้อมูลที่พวกเขาต้องการ ผู้เรียนต้องวางแผนเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทำการค้นคว้าที่จำเป็นและทำระเบียบแบบแผนร่วมกันเพื่อสรุปความรู้ใหม่ที่ได้รับ ผู้เรียนอาจเสนอข้อสรุปผลของการศึกษา ซึ่งอาจไม่ใช้ผลงานสุดท้ายเสมอไป อีกทั้งผู้เรียนอาจต้องใช้เวลาให้พอเพียงสำหรับการประเมินผลด้วยตนเองด้วย (Duch, Delisle, Hoffman and Ritchie, Stepian and Gallagher) ทุกแนวคิดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับปัญหาและการใฝ่รู้ของพวกเขา และการเน้นที่การแก้ปัญหาในหลายระดับ บางแนวคิดสำหรับรูปแบบนี้ ตั้งใจให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาให้ชัดเจน ปรับปรุงและสร้างสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบที่อธิบายได้อย่างชัดเจนด้วย (Allen) บางกรณีในการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาซึ่งอาจไม่พบคำตอบ แต่ก็เป็นเครื่องมือที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้การรวบรวมข้อมูลอย่างเดียวก็ได้ (Wang)

ในแง่การปฏิบัติ อาจแยกเส้นแบ่งออกไม่ชัดระหว่างการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา หรือการใช้รูปแบบโครงการณ์เป็นพื้นฐาน ทั้งสองรูปแบบอาจรวมกันเป็นอีกลักษณะอาจถือที่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญของการเรียนรู้ บ่อยครั้งที่ทั้งสองรูปแบบมีทิศทางเดียวกัน เน้นความเป็นจริงและเป็นแนวคิดลักษณะผสมในการเรียนรู้ ส่วนความแตกต่างอาจอยู่ตรงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น บางในกรณีที่ผลงานสุดท้ายถือเป็นหัวใจของการจัดการในรูปแบบของโครงการณ์ แต่ในแง่ที่ผลงานนั้นผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ที่ต้องการการวางแผนและแรงงาน จำเป็นต้องให้ความสำคัญของการกำหนดลักษณะของรูปร่างหรือกระบวนการผลิตด้วย หรือในกรณีที่ผลงานสุดท้ายอาจเป็นเรื่องง่ายๆและต้องการข้อสรุป ซึ่งทางกลุ่มสามารถนำเสนอการค้นพบในรูปของรายงานก็พอเพียง ในลักษณะแรกถือเป็นการเรียนรู้แบบโครงการณ์โดยตรง ซึ่งผลงานสุดท้าย อธิบายถึงกระบวนการวางแผน การผลิต และการประเมิน ส่วนในกรณีหลัง การสืบสวนและการค้นคว้า (ไม่ใช่ผลงานสุดท้าย) เป็นตัวเน้นหลักในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเป็นนรูปแบบโดยตรงของการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน

บนความต่างอีกระดับ คือ กรณีที่เป็นปัญหาสำคัญของโครงการณ์ที่เกิดแง่ที่ทำให้ขยายปัญหาที่ผู้เรียนต้องเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาเหล่านั้นมากขึ้นตามมา ในกรณีนี้เป็นโครงการณ์ที่เริ่มต้นด้วยปัญหาที่ชัดเจน และต้องการข้อสรุปหรือคำตอบที่ต้องชัดเจนตามไปด้วย แต่ขัดกันที่หลักสูตรเน้นที่ปัญหาต้องมีความหลากหลายและควรซับซ้อน ในกรณีนี้ ลักษณะแรกเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการณ์ชัดเจน แต่ลักษณะหลังเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน

บทความนี้เขียนสำหรับ the Challenge 2000 Multimedia Project โดย Camille Esch of SRI, สงวนสิทธ์เมื่อปี 1998 โดย San Mateo County Office of Education

หนังสืออ้างอิง
References:

Allen, D. (1998?) Bringing Problem-Based Learning to the Introductory Biology Classroom. In A. McNeal & C. D’Avanzo (Eds.), Student Active Science. (Ch. 15). Available:
http://www.saunderscollege.com/lifesci/studact/chapters/ch15.html
Autodesk website: http://www.autodesk.com/foundation/
Bellnet website: http://bellnet.tamu.edu/pbl/pbl.htm
Barrows, H. (1985) Designing a Problem Based Curriculum for the Pre-Clinical Years. New York: Springer Publishing Company.
Blumenfeld, P.C., Soloway, E., Marx, R. W., Krajcik, J. S., Guzdial, M., &Palincsar, A. (1991) Motivating project-based learning: Sustaining the doing, supporting the learning. Educational Psychologist, 26, 369-398.
Center for Problem Based Learning at the Illinois Mathematics and Science Academy website: http://www.imsa.edu/
Delisle, R. (1997) How to Use Problem-Based Learning in the Classroom. Association for Supervision and Curriculum Development. Alexandria, VA.
Duch, B. (Ed.) (1995, January) What is Problem-Based Learning? In ABOUT TEACHING: A Newsletter of the Center for Teaching Effectiveness, 47. Available:
http://www.udel.edu/pbl/cte/jan95-what.html)
Hoffman, B., & Ritchie, D. (1997, March) Using Multimedia to Overcome the Problems with Problem Based Learning. Instructional Science, 25(2), 97-115.
Ryan, Christopher, Koschmann, & Timothy. (1994) The Collaborative Learning Laboratory: A Technology-Enriched Environment to Support Problem-Based Learning.
Stepien, W.J., and Gallagher, S.A. (1993) Problem-based Learning: As Authentic as it Gets." Educational Leadership, 50(7), 25-8.
Wang, H. (1998, August 8) Research Associate, CCMB-USC. On AERA listserve on-line discussion.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน
problem-based learning ..PBL. (จาก..PBL Archives)

คำนิยาม

หลักเหตุผลอย่างง่ายๆของ PBL. คือ เน้นและสนับสนุนให้นักเรียนรับผิดชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยการเสนอปัญหาและความต้องการในการแก้ปัญหานั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับข้อมูลปรกติที่เคยกล่าวไว้ในหลักสูตรแบบเดิมๆ ข้อแตกต่างคือ ระบบของ PBL เริ่มด้วย ปัญหา ที่มีพื้นฐานมาจากข้อมูลจริง หรือที่จำลองมาจากเหตุการณ์จริงก็ได้ และต้องการให้นักเรียนแต่ละคนหรือเป็นกลุ่ม ค้นหาคำตอบนั้น แหล่งข้อมูลและฝึกทักษะกันด้วยตนเอง ซึ่งพัฒนาได้จากความต้องการโดยตรง และการกำหนดในรายละเอียดของปัญหานั้นๆ

คุณลักษณะก็คือ ปัญหาจริงๆนั้น จะไม่ให้คำตอบที่ง่าย แต่ต้องในแง่การเปรียบเทียบและการวิเคราะห์ของแหล่งที่มาด้วย โดยอาศัยกลยุทธ์และงบประมาณ ผู้เรียนจำเป็นต้องปรับปรุงทักษะและการหาคำตอบที่ได้มาจากการเลือก การแยกแยะความแตกต่าง และการนำไปใช้ในลักษณะวิธีการแบบองค์รวม

ระบบ PBL มีรูปแบบการเรียนรู้เป็นที่ยอมรับกัน โดยถือหลักการขับเคลื่อนจากเจ้าของและผู้บริโภค เช่นในวิชาวิศวกรรม สถาปัตยกรรม แพทย์ศาสตร์ และวิชาศิลปะและการออกแบบ เพราะมันเป็นเหมือนกระจกสะท้อนปัญหาจริงที่ผู้ปฏิบัติเผชิญกันในทางอาชีพ อย่างไรก็ตาม PBL ไม่จำกัดเพียงในแง่วิชาชีพเท่านั้น เพราะพื้นฐานการเรียนรู้เริ่มที่ผู้เรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา ดังนั้น เขาจึงสามารถปรับปรุงทักษะที่จำเป็น เพื่อการแก้ปัญหานั้นๆ ด้วยการใช้กฎเกณฑ์และอาจยอมรับเอาหลักการอื่นๆเข้ามาประกอบกัน ด้วย

คุณลักษณะของวิธีการเรียนรู้แบบ PBL เพื่อใช้ทดแทนแบบจำลองการสอนเดิม คือ ผู้สอนต้องนำเอาข้อมูลและความพยายามของผู้เรียนที่จะใช้ข้อมูลนั้นๆ มาถือเอาเป็นงานทางวิชาการ หรือการตั้งคำถามต่างๆ ซึ่งนักเรียนจะถูกยกระดับให้เป็นนักวิเคราะห์และนักแก้ปัญหา ในกรอบของระยะเวลาและข้อกำหนดเมื่อสิ้นสุดการเรียน

จากการสำรวจการเรียนรู้ของนักเรียนพบว่า เหนือสิ่งอื่นใด ถ้านักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อเขารู้จักการประเมินจากของจริงที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาอย่างชัดเจน ในสภาวะเมื่อลดความกลัวความล้มเหลว และเมื่อมีการทบทวนสิ่งที่ได้กระทำมาแล้วเป็นครั้งคราว ซึ่งวิธีการ PBL ถือหลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นสำคัญ

คุณลักษณะของ PBL ที่กำหนดโดย Jill Armstrong จาก the LTSN Generic Centre มีดังต่อไปนี้ คือ
  • ใช้สิ่งกระตุ้นเพื่อช่วยให้นักเรียนพูดคุยถกเถียงปัญหาที่สำคัญ ตั้งคำถามหรือกำหนดเรื่องที่ศึกษาให้ได้
  • เสนอปัญหาที่เป็นภาพจำลองในการปฏิบัติในทางอาชีพจริง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
  • ให้แนวทางที่เหมาะสมแก่นักเรียนในเรื่องวิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผล (เช่น rational หรือ critical thinking) จำกัดแหล่งข้อมูล เพื่อช่วยผู้เรียนรู้การกำหนดขอบเขต ในความพยายามแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ให้ได้ด้วย
  • ให้นักเรียนมีการร่วมมือทำงานในแบบกลุ่ม สำรวจข้อมูลทั้งในและนอกชั้นเรียน ให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญได้ (ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาโดยตรง) หรือผู้ซึ่งเคยมีประสบการณ์กับปัญหานั้น และสามารถช่วยเหลือกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มได้
  • ให้นักเรียนกำหนดความต้องการเรียนรู้ และการเลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม
  • ประยุกต์ความรู้ใหม่ให้เข้ากันกับปัญหาและสามารถประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหาของพวกเขาด้วย

(Boud F and Feletti G E (eds) (1997) The challenge of problem-based learning London: Kogan Page, p4)

ในความเห็นของผู้เขียน หลักสูตรแบบ PBL ที่แย้งกับแบบอื่น คือการมองว่า ปัญหาที่ทำให้ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรนั้น เกิดจากข้อตกลงร่วมกันที่จะพยายามแก้ปัญหาจากหลักสูตรเดิม ให้มีแนวโน้มเพิ่มเติมในการส่งถ่ายข้อมูล และขยายต่อๆไปในการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล ดังแผนภูมิแสดงได้ดังนี้ คือ

หลักสูตรแบบ PBL ...ผู้สอนเสนอปัญหาให้ >> นักเรียนค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
หลักสูตรแบบเดิม ......ผู้สอนเสนอข้อมูลให้ >> นักเรียนนำข้อมูลไปใช้กำหนดปัญหาเอง
บริบทของ PBL
คำจำกัดความ

Problem Based learning (PBL) หรือการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน คือ แนวทางรวมสำหรับการศึกษา กำหนดโดย Dr. Howard Barrows และ Ann Kelson แห่ง Southern Illinois University School of Medicine, PBL ใช้เป็นทั้งเนื้อหาของหลักสูตรและกระบวนการ หลักสูตรนั้นประกอบด้วยการเลือกและนำเสนอปัญหาการออกแบบอย่างพิถีพิถัน ซึ่งต้องการความรู้ของผู้เรียนในเรื่อง ความรู้ของการพิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างคล่องแคล่ว การสร้างกลยุทธ์ที่ให้แนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง และฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับกระบวนการนั้น ถือแทนประโยชน์ทั่วๆไปของการใช้ระบบในการแก้ปัญหาอย่างตั้งใจ เสมือนการเผชิญความท้าทายในชีวิตหรือในอาชีพจริงๆ

บทบาทที่เปลี่ยนแปลง

ในการเรียนรู้แบบ PBL นั้น บทบาทของครูและนักเรียนแบบเดิมๆต้องเปลี่ยนแปลง คาดหวังให้นักเรียนต้องเพิ่มความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของพวกเขามากขึ้น และครูต้องให้สิ่งเร้าแก่พวกเขา และเพิ่มความรู้สึกเชื่อมั่นต่อความสำเร็จให้สูงขึ้น ให้แบบแผนการเป็นผู้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต คณะวิชากลายสภาพเป็นแหล่งประกอบกันของ ความรู้ ผู้ฝึกฝน ผู้ประเมินผล เป็นเครื่องมือชี้แนวทางให้นักเรียนมีความพยายามในการแก้ปัญหา รวมกันเป็นแหล่งของการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

ประวัติศาสตร์

การเรียนรู้แบบ PBL เริ่มต้นที่โรงเรียนแพทย์ McMaster University Medical School ก่อน 25 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นมีการนำไปใช้แพร่หลายทั้งในระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิตศึกษาทั่วโลก รวมทั้งในระดับโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา เดี่ยวนี้แนวทางเรียนรู้แบบ PBL กำลังใช้กับพวกวิทยาลัยชุมชนอย่างได้ผล

ผลลัพธ์

นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนรู้แบบนี้ ได้ความรู้และกลายเป็นนักแก้ปัญหาที่คล่องแคล่ว เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และทำงานเป็นกลุ่มได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่าแบบ PBL เตรียมนักเรียนในการศึกษาได้ดีเท่าเทียมแบบปรกติเดิมๆ นักเรียนแบบ PBL แข่งขันกับนักเรียนแบบปกติได้ทั้งในชั้นเรียนและการทดสอบแห่งชาติ และจะกลายเป็นนักปฏิบัติในทางอาชีพ ได้ดีกว่าผู้เรียนรู้แบบปกติ

หาอ่านบริบทของ PBL เพิ่มเติมได้จาก..
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (ต่อ)

หากเป็นการร้องขอ นักการศึกษาส่วนมากจะเห็นพ้องกันว่า เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของการศึกษา คือการพัฒนาให้นักเรียนเป็นนักแก้ปัญหาที่ได้ผล สำหรับยุคข่าวสารข้อมูลขณะนี้ ในรายงานส่วนมาก เช่น SCANS (Survey of Necessary and Comprehensive Skills) และเอกสารเป้าหมาย 2000 สนับสนุนการสอนด้วยวิธีการนี้ โรงเรียนส่วนมากวางเป้าหมายพาดพิงถึงความจำเป็นสำหรับทักษะการคิดใช้เหตุผล (critical thinking)และการแก้ปัญหา (problem solving skills) สถาบัน Recent California Frameworks in Mathematics and Science สะท้อนความเห็นด้วยในเป้าหมายการศึกษาแบบนี้ แต่บ่อยครั้งการสอนการแก้ปัญหา โดยเสนอแบบจำลองการสอนให้นักเรียนประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษา ยังค่อนข้างเป็นปัญหายุ่งเหยิงและขัดแย้งในโลกของความเป็นจริง

รายงานการค้นคว้าหนึ่งเปิดเผยว่า การคิดแบบใช้เหตุผลและทักษะการแก้ปัญหายังไม่ใช่ต้นแบบที่ใช้กันในห้องเรียน จำนวนรายงานการศึกษาพบว่า ในห้องเรียนทั่วไป 85% ของคำถามของครูเป็นแค่ระดับง่ายๆธรรมดา คำถามซึ่งจะล้วงเอาความคิดในเรื่องทักษะการสังเคราะห์และการประเมินผลค่อนข้างมีน้อยมาก รายงานของสื่อ ยังแสดงให้เห็นว่าครูตั้งคำถามที่ง่าย ไร้สาระ ดังในภาพยนต์ เช่น "Ferris Bueller's Day Off" และ "Dead Poet's Society" เป็นต้น

ในการเรียนรู้แบบ Problem Based Learning (PBL) นักเรียนถือเป็นระดับมืออาชีพ และเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้น-อย่างงงงวย มีข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ต้องการหาคำตอบที่เป็นไปได้อย่างดีที่สุดในช่วงเวลาที่กำหนดให้ นี่เป็นลักษณะของวิศวกร แพทย์ และแม้แต่ครู ที่ต้องเป็นนักแก้ปัญหาทั้งนั้น แต่ชั้นเรียนส่วนมากกลับไม่เป็นดังนั้น พวกครูคงเป็นแค่ ”ผู้คงแก่เรียนบนเวที” คอยชี้แนะนักเรียนด้วยคำตอบสวยๆจากปัญหาที่ตกแต่งกันขึ้นมา

อะไรคือการเรียนรู้แบบ PBL ?

Problem Based Learning เป็นการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาที่เน้นระบบเพื่อความต้องการปรับปรุงทักษะการแก้ปัญหา เท่าๆกับช่วยนักเรียนให้ได้รับความรู้และเสริมทักษะที่จำเป็น จริงๆแล้ว การนำเสนอการเรียนรู้แบบ PBL เกิดขึ้นในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งทดสอบความรู้อย่างเคร่งครัดเป็นพื้นฐานของการศึกษา ระบบ PBL ใช้กับปัญหาที่เป็นจริงของโลก ไม่ใช่แค่สมมติฐานเพื่อการศึกษาซึ่งง่ายและต้องการคำตอบแบบทั่วไป แต่การเรียนรู้แบบ PBL เป็นกระบวนการดิ้นรนด้วยปัญหาธรรมดา ซึ่งนักเรียนต้องเรียนรู้ทั้งสาระและทักษะการคิดแบบใช้เหตุผล
ระบบ PBL มีลักษณะแตกต่างมากมายซึ่งอาจชี้บอกและใช้ประโยชน์ในการออกแบบหลักสูตรได้ ดังต่อไปนี้คือ

  1. เชื่อมั่นบนปัญหาในการขับเคลื่อนหลักสูตร – ปัญหาไม่ได้ทดสอบทักษะ แต่ช่วยในการปรับปรุงทักษะการแก้ปัญหา
  2. ปัญหาเป็นลักษณะไม่มีโครงสร้างชัดเจน (ill-structured) – ไม่มีทางได้คำตอบเดียว และด้วยข้อมูลใหม่ที่รวบรวมในกระบวนการแบบย้อนไปย้อนมา การรับรู้ปัญหาและคำตอบที่ได้ ก็จะถูกเปลี่ยนแปรตามไปด้วย
  3. นักเรียนเป็นผู้แก้ปัญหา – ครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้แนะนำหรือชี้แนวทางเท่านั้น
  4. นักเรียนได้รับเพียงแนวทางที่เข้าถึงปัญหาเท่านั้น – ไม่มีสูตรสำเร็จเดียวสำหรับนักเรียนในการเข้าถึงปัญหา
  5. การประเมินผลจากผลการทำงานและความเชื่อมั่นนั้นมีได้อย่างแน่นอน – ไม่มีเส้นแบ่งการสิ้นสุดในการสอน

(ปรับปรุงจาก.. Stepien, W.J. and Gallagher, S.A. 1993. "Problem-based Learning: As Authentic as it Gets." Educational Leadership. 50(7) 25-8 and Barrows, H. (1985) Designing a Problem Based Curriculum for the Pre-Clinical Years.


การเรียนรู้แบบ PBL ช่วยนักเรียนในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการต่อเนื่องกับการเผชิญปัญหาที่เปิดกว้างสำหรับคำตอบที่อาจมีหลายคำตอบ ซึ่งเป็นปัญหาที่ตรงกันกับวัยรุ่นและนักปฏิบัติในสายอาชีพจริงๆ ขณะที่มีการรับรู้ข้อมูลมากมาย ระบบ PBL ปรับปรุงให้นักเรียนสามารถดำเนินการดังนี้

  • กำหนดปัญหาได้ชัดเจน
  • ปรับปรุงทางเลือกของสมมติฐาน
  • เข้าถึง ประเมิน และใช้ประโยชน์ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
    เปลี่ยนสมมติฐานเพื่อการรับข้อมูลใหม่ๆ
  • ปรับปรุงการเสนอคำตอบที่แจ่มชัด ซึ่งเหมาะสมกับปัญหาและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกัน บนพื้นฐานข้อมูลและการใช้เหตุผลอย่างโปร่งใส
ถ้านักเรียนที่มีทักษะอย่างนี้ติดตัวไว้ ก็จะเป็นการเตรียมตัวที่ดีกับการมีอาชีพต่อไปภายหน้า เพราะปัจจุบันเป็นการยากที่จะหาผู้ฝึกสอนที่มีเวลา มีแนวโน้ม หรือความรู้ที่จะบอกคนงานว่าควรทำอะไรบ้าง พวกเขาจึงถือว่าได้รับการเตรียมไว้สำหรับกระจายความรู้ซึ่งมีมากมายในโลกทุกวันนี้

ขั้นตอนในการเรียนรู้แบบ PBL


ในหลักสูตรแบบ PBL สามารถแยกเป็นสามขั้นตอนในการจัดการโดยนักเรียน ไม่ว่าการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ตต่างๆ ผ่านสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือโดยการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนเหล่านี้ที่อธิบายไว้ข้างล่างเป็นลักษณะของ PBL. แต่ละขั้นตอนในกระบวนการเป็น “การเชื่อมโยงกันที่จำเป็น” กับบทเรียนตัวอย่างที่ปรับปรุงโดย a SCORE Teacher on Assignment.

ขั้นตอน 1: การเผชิญและการกำหนดปัญหา

นักเรียนต้องเผชิญกับภาพจำลองของโลกที่เป็นจริง ผ่านการเอาใจใส่อย่างมีความรับผิดชอบ นักเรียนอาจถูกร้องขอให้เสนอทบทวนเรื่องราวของสถาปัตยกรรมในยุคโบราณแก่คณะกรรมการ โดยอาศัยมุมมองในภาพรวมว่าอนุเสาวรีย์โบราณเหล่านั้นถูกสร้างมาด้วยวิธีใด พวกเขาอาจต้องย้อนคำถามในใจตนเองดังนี้
  • อะไรบ้างที่ฉันรู้แล้วเกี่ยวกับปัญหาหรือคำถามนี้ ?
  • อะไรที่ฉันต้องรู้อีกเพื่อนำเสนอปัญหาหรือตั้งคำถามอย่างได้ผล ?
  • มีแหล่งข้อมูลอะไรบ้างที่ฉันสามารถเข้าถึงการตัดสินใจ เพื่อเสนอคำตอบหรือสมมติฐานได้ ?
ตรงประเด็นนี้ การเน้นที่การกำหนดปัญหาเป็นเรื่องจำเป็น ผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ก็จะพบข้อมูลใหม่ที่ต้องเข้าถึงและเข้าใจต่อไป

ขั้นตอนที่ 2: การเข้าถึง การประเมิน และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล


เมื่อพวกเขากำหนดปัญหาได้กระจ่างแล้ว ก็จะเข้าสู่การค้นหาข้อมูลต่างๆ เช่น จากสิ่งพิมพ์ จากคนที่พอรู้ จากแหล่งทางอีเล็กโทรนิค เป็นต้น ในกรณีของโรงเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัย the Southern Illinois อาจารย์อาจถูกสัมภาษณ์ หรือเอกสารทางการแพทย์ถูกตรวจสอบ ในกรณีการออกแบบเมือง แหล่งข้อมูลประชากร เช่น จากนายกเทศมนตรีเมือง หรือวิศวกรโยธาประจำเมือง อาจถูกนำมาใช้ แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นจุดรวมของการค้นคว้า เมื่อปัญหาถูกกำหนดอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น ในกรณีตัวอย่าง เช่น นักเรียนอาจได้ภาพรวมและแหล่งเตรียมการสำหรับขั้นตอนที่สาม บางส่วนของปัญหาถูกประเมินจากแหล่งดังกล่าว เช่น สถานะปัจจุบันเป็นอย่างไร? น่าเชื่อถือหรือถูกต้องหรือไม่? มีเหตุผลอื่นไหม ? ที่จะสงสัย หรืออคติกับแหล่งข้อมูลนี้ เมื่อจะนำข้อมูลไปใช้ นักเรียนต้องตรวจสอบด้วยความระมัดระวังในคุณค่าและแหล่งที่เข้าถึงได้ ถ้าเอาการประเมินผลที่ตั้งเป็นทฤษฎีในการเสนอความคิดว่าอนุเสาวรีย์เหล่านี้สร้างกันอย่างไรแล้วละก้อ นักเรียนต้องระมัดระวังในการบันทึกและการทำการประเมินผลอย่างถูกต้อง และน่าเชื่อถือตรงกันตามลักษณะข้อมูลของที่ตั้งที่เสนอมาด้วย

ขั้นตอนที่ 3: การสังเคราะห์และการดำเนินงาน

ในขั้นตอนนี้ นักเรียนเสนอคำตอบสำหรับปัญหาที่ตั้งไว้ อาจใช้ผลผลิตจากสื่อในการนำเสนอ ( เช่นนำเสนอต่อ the U.N. Commission on Human Rights or the Ancient World Architectural Review Board) หรือไม่ก็เป็นการเสนอโดยการเขียนรายงานแบบทั่วไป เน้นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคำถาม ในแทบทุกกรณี นักเรียนต้องจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบหรือวิธีการใหม่ สิ่งนี้ไม่เหมือนโจทย์ที่ถามพวกเขาถึง “การเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอล” สำหรับตัวอย่างหลังนี้ จะนำไปสู่การใช้อินเตอร์เน็ต ราวกับทำเป็นสารานุกรมขนาดใหญ่เลยทีเดียว สำหรับโจทย์ที่ถามนักเรียนให้เสนอคำตอบเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประชนชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอล จะเกี่ยวข้องกับคำถามซึ่งบังคับให้มีการจัดแจงข้อมูลและการมองภาพรวมของข้อมูลเสียใหม่

ปัญหาในการประยุกต์ใช้

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประยุกต์ในระบบการเรียนรู้แบบ PBL. นักเรียนโดนฝึกฝนมาจากแบบจำลองการสอนแบบเดิมๆ ซึ่งมองครูเป็น “ผู้คงแก่เรียนบนเวที” และเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ ก็จะมีการสะดุ้งสะเทือนในแง่วัฒนธรรมเช่นนี้ อีกทั้งนักเรียนมักปรารถนาและมีวัฒนธรรมความคาดหวังในคะแนนที่ได้รับสูงๆ แม้การสร้างกลยุทธ์ให้ครูได้บรรเทาความกลัว หรือขจัดความสงสัยในแนวทางใหม่นี้ลงได้บ้าง อีกทั้งนักเรียนต้องเรียนรู้แบบเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เหมือนเช่นในชีวิตจริง คนๆเดียวไม่สามารถทำงานค้นคว้าเองได้ หรือนำเสนอปัญหาและคำตอบเองได้ตามลำพัง เสียงบ่นสำหรับ “ผู้ขอร่วมเดินทาง” (ซึ่งคนในกลุ่มไม่ได้ยินดีนัก) จะได้ยินเสมอจากนักเรียนที่ขยันและพ่อแม่ของพวกเขาเหล่านั้น

ครูต้องยอมรับประสบการณ์ในการปรับตัวเอง งานหลักที่ต้องกระทำ คือการออกแบบหรือตั้งปัญหาเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และต้องแน่ใจว่ามีวัสดุหรือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างพอเพียง (ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ การสื่อสารออนไลน์ และการผ่านผู้เชี่ยวชาญ) เป็นแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก เพราะพวกเขาต้องเรียนรู้การสร้างปัญหา และช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้ทักษะและความรู้ที่เหมาะสมด้วย และพวกครูต้องเรียนรู้การช่วยเหลือ มากกว่าการชี้นำในการเรียนของนักเรียน

รางวัล

การเปลี่ยนการเรียนรู้จากที่ครูเป็นศูนย์กลาง กลายเป็นการเรียนรู้จากปัญหา และเป็นโครงการณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของบรรยากาศที่ไม่สุขสบายนัก ผู้ที่กำหนดจุดเปลี่ยนนี้จะอ้างถึงพลังและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างใหม่สำหรับชั้นเรียนของพวกเขา นักเรียนยกย่องงานที่ท้าทายและเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ดูได้จากแหล่ง PBL ออนไลน์ ดังต่อไปนี้

  • The University of Delaware มีหลายบทความที่เกี่ยวกับ PBL รวมทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์การสอน และแผนการสอนต่าง เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับครู
  • http://www.udel.edu/pbl/
  • Howard Barrows, Southern Illinois School of Medicine (เน้นการแพทย์เชิงวิเคราะห์แบบ PBL.) http://www.pbli.org/
  • Illinois Math and Science Academy (รวมแบบจำลอง K-12 applications บนหลักการที่หลากหลาย) http://www.imsa.edu/

หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับ PBL, ท่านสามารถติดต่อผ่านอีเมลล์ไปที่ Bob Benoit of the Butte County Office of Education at bbenoit@bcoe.butte.k12.ca.us. Bob เป็นผู้นำโครงการ PBL ครอบคลุมโรงเรียนระดับมัธยมหกแห่งและครูร่วมจำนวน ๓๐ คนตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ล่วงมาแล้ว


เอกสารอ้างอิงที่คัดสรรแล้ว


หนังสืออ้างอิง


  • Barrows, H. (1994) Practice-Based Learning: Problem-Based Learning Applied to Medical Education. Springfield, Il: Southern Illinois University School of Medicine
  • Barrows, H. (1985) Designing a Problem Based Curriculum for the Pre-Clinical years. New York: Springer Publishing Company.
  • Boud, D., Felleti, G. (1991) The Challenge of Problem-Based Learning. London: Kogan.
  • Woods, Donald R. (1994). Problem-Based Learning: How to Gain the Most from PBL. Hamilton, Ontario, Canada. Donald R. Woods, Publisher.

บทความอ้างอิง

  • Barrows, Howard. See Southern Illinois University School of Medicine Homepage for an extensive list of articles published in medical journals.
  • Gallagher, S., Rosenthal, H., and Stepien, W. (1992) "The Effects of Problem-Based Learning on Problem Solving. Gifted Child Quarterly, 36(4), 195-200.
  • Knoll, Jean W. (1993). "An Introduction to Reiterative PBL." Issues and Inquiry in College Learning and Teaching. Spr/Smr. 19-36
  • Stepien, W. and Gallagher, S., and Workman, D. (1993) "Problem-Based Learning for Traditional and Interdisciplinary Classrooms." Journal for the Education of the Gifted, 16(d4), 338-357.
  • Stepien, W. and Gallagher, S.A. (1993). "Problem-based Learning: As Authentic as it Gets." Educational Leadership. 50(7), 25-8

แหล่งข้อมูลของ the SCORE pages ได้รับการประเมินแล้วจากกลุ่มผู้นำทางประวัติศาสตร์-สังคม ในมลรัฐ California


แหล่งข้อมูลจาก..the SCORE Internet Classrooms Page


ข้อเสียเปรียบของ PBL


ความสำเร็จในการศึกษา

  • นักวิชาการบางท่าน สงสัยความสามารถของนักเรียนแบบ PBL ในเรื่องทักษะการใช้เหตุผลและการทำงานเป็นกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นการมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะ แต่คะแนนผลสัมฤทธิ์ในการศึกษามักมีผลตอบสนองโดยตรงสูงสำหรับการเรียนรู้แบบเดิม เมื่อมีการนำแบบการทดสอบมาตรฐานมาใช้ แต่จะไม่สนองตอบเลยกับวิธีการต่างๆหรือการทดสอบที่ไม่เป็นแบบฟอร์มตามมาตรฐานเดิม (Vernon & Blake, 1993). ซึ่งการวัดแบบใหม่นี้รวมไปถึงการวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถของทักษะเฉพาะตน ความสัมพันธ์ของกลุ่ม ความสามารถในการใช้เหตุผล ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในทางกลับกัน การสอนแบบเดิมจะมีผลดีกว่า ในแง่การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหาทั่วไป (Albanese & Mitchell, 1993, Vernon, 1995) ในการประเมินผลความรู้ทั่วไป แม้ว่าระบบ PBL จะมีส่วนลดระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่า แต่มันจะดีขึ้นในระยะยาวหากคงระบบนี้เอาไว้ได้ (Farnsworth, 1994)

ความต้องการเรื่องเวลา
  • แม้ว่านักเรียนส่วนมากชอบการเรียนรู้แบบ PBL และมีความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงเพิ่มมากกว่าการเรียนรู้แบบเดิม แต่ครูๆก็ไม่ค่อยแซ่ซ้องและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางนี้เท่าไรนัก ประโยชน์ที่ยังไม่เห็นได้ชัดของการเรียนรู้แบบ PBL หรืออาจเป็นข้ออ่อนด้อย เป็นเพราะการต้องการเวลาให้กับทางคณะวิชาในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย (Delafuente, Munyer, Angaran, & Doering, 1994; Vernon, 1995), ให้เวลาการเตรียมวัสดุการสอนและเนื้อหาของวิชา และการยอมให้ลดเนื้อหาวิชาที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

บทบาทของนักเรียน
  • ปัญหาที่คาดไม่ถึงของการเรียนรู้แบบ PBL คือการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติของนักเรียนแบบเดิมๆ ซึ่งนักเรียนส่วนมากยังมีทัศนะคติที่หวังว่าครูของพวกเขาเป็นผู้ให้ความรู้ แนวทางของเนื้อหาวิชาซึ่งยังขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของผู้สอนเป็นสำคัญ และมีความทรงจำแบบเดิมๆที่จำกัดเป็นความต้องการของนักเรียนด้วย นักเรียนส่วนมากสูญเสียความสามารถเพราะ “ความสงสัยในบางสิ่งเอาง่ายๆ” (Reithlingshoefer, 1992) ปัญหานี้ปรากฏสำหรับนักเรียนปีแรกๆ ซึ่งแสดงบทได้ยากในการเป็นผู้กำหนดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Schmidt, Henny, & de Vries, 1992)

บทบาทของครู
  • ครูในหลักสูตรแบบ PBL ต้องการ การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนจากแบบเดิมๆในการบรรยาย การปรึกษาสนทนา และต้องขอร้องนักเรียนให้จดจำเรื่องราวสำหรับการทดสอบ กล่าวคือ ในระบบการเรียนรู้แบบ PBL ครูต้องเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าการเป็นผู้แพร่การให้ข้อมูล เช่น ครูควรมุ่งเน้นที่ความเอาใจใส่กับการตั้งคำถามของนักเรียน สนใจในเรื่องตรรกะและความเชื่อของพวกเขา แนะนำเหตุผลและชี้ข้อบกพร่อง บอกแหล่งการค้นคว้าให้กับนักเรียน และการควบคุมให้นักเรียนทำงานสม่ำเสมอ บทบาทของครูเช่นนี้ มีความแตกต่างสำหรับครูบางคน ผู้ซึ่งยากจะเปลี่ยนบทบาทจากที่ตนเคยชินมาก่อนนี้

ปัญหาที่เหมาะสม
  • การได้มาของคำถามที่เหมาะๆนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับการเรียนรู้แบบ PBL ปราศจากเรื่องปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว นักเรียนจะไม่พบแนวทางการเข้าถึงการแก้ปัญหาได้เลย หรือมีโอกาสที่จะได้ศึกษาข้อมูลที่สำคัญๆ ในการศึกษาที่ต้องการสหสัมพันธ์ระหว่างแนวทางการศึกษากับวัตถุประสงค์ของคณะวิชา ซึ่งมักพบว่านักเรียนไม่อยู่ในร่องรอยเสมอไป และวัตถุประสงค์บางอย่างถูกละเลยไป (Dolmans, Gijselaers, & Schmidt, 1992) มีการตรวจพบว่าถ้านักเรียนเฉไฉออกนอกแนวการค้นหาคำตอบที่คาดไว้ และครูไม่ชี้นำให้กลับมาได้แล้วละก้อ พวกเขาจะไม่ได้รับสาระสำคัญของวิชาได้เลย (Mandin, 1995)

การประเมินผลนักเรียน
  • การเรียนรู้แบบ PBL แตกต่างจากการสอนแบบเดิมในหลายอย่าง ดังนั้นความสัมฤทธิ์ผลชองการเรียนอาจวัดผลได้ดีกว่า โดยการใช้วิธีการประเมินที่แตกต่างออกไป วิธีการเหล่านี้ หมายรวมถึงการเขียนตอบข้อสอบ การสอบทางปฏิบัติ การสร้างแบบแผนความคิด การประเมินผลทั้งของกลุ่มและแบบอิสระ การประเมินผลที่เป็นการช่วยเหลือของครูที่ปรึกษา การพูดเสนอผลงาน การเขียนรายงาน เป็นต้น สำหรับรายละเอียดอื่นในการประเมินผลลักษณะนี้ สามารถหาอ่านในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความนี้

เอกสารอ้างอิง

Albanese, M., & Mitchell, S. (1993). Problem-based learning: A review of the literature on its outcomes and implementation issues. Academic Medicine. 68(1), 52-81.Delafuente, J. C., Munyer, T. O., Angaran, D. M., & Doering, P. L. (1994). A problem solving active learning course in pharmacotherapy. American Journal of Pharmaceutical Education. 58(1), 61-64.Dolmans, D. H., Gijselaers, W. H. & Schmidt, H. G. (1992, April). Do students learn what their teachers intend they learn? Guiding processes in problem-based learning. Paper presented at the meeting of the American Educational Research Association, San Francisco, CA.Farnsworth, C. C. (1994). Using computer simulations in problem-based learning. In M. Orey (Ed.), Proceedings of the Thirty-fifth ADCIS Conference (pp. 137-140). Nashville, TN: Omni Press.Reithlingshoefer, S. J. (Ed.), (1992). The future of Nontraditional/Interdisciplinary Programs: Margin or mainstream? Selected Papers from the Tenth Annual Conference on Nontraditional and Interdisciplinary Programs, Virginia Beach, VA, 1-763.Mandin, H., Harasym, P., and Watanabe, M. (1995). Developing a "clinical presentation" curriculum at the University of Calgary. Academic Medicine, 70(3), 186-193.Schmidt, H. G., Henny, P. A., & de Vries, M. (1992). Comparing problem-based with conventional education: A review of the University of Limburg medical school experiment. Annals of Community-Oriented Education, 5, 193-198.Vernon, D.T. (1995). Attitudes and opinions of faculty tutors about problem-based learning. Academic Medicine, 70(3) 216-223.Vernon, D.T. & Blake, R.L. (1993). Does problem-based learning work? A meta-analysis of evaluative research. Academic Medicine, 68(7) 550-563.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (ต่อ)

เป็นความมุ่งหมายอีกแบบหนึ่งของการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและการแสวงหาความรู้ แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่ใช้การสืบสวนสอบสวนหรือการวิจัยเป็นพื้นฐาน (inquiry-based) ด้วย คือในกรณีที่ผู้เรียนกำลังดำเนินการกำหนดหรือสร้างปัญหาในขณะนั้น ดูรายละเอียดในเว็บไซท์ดังต่อไปนี้.....

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานและแบบโครงการณ์
(Problem-Based Learning and Project-Based Learning)


จากการช่วยเหลือของ ICT (-Assisted Project-Based Learning and Problem-Based Learning) ได้เพิ่มมิติใหม่ของการเรียนคณิตศาสตร์ ในด้วยวิธีการแบบ “การคงไว้และส่งต่อ” (stand and deliver) และ “โดยตนเองอย่างอิสระ” (individual seat work)

ทั้งสองลักษณะในการเรียนรู้แบบโครงการณ์และการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียน มีลักษณะทั่วไปร่วมกัน แต่มีลักษณะที่ต่างกันสองลักษณะคือ ในการเรียนรู้แบบโครงการณ์ ผู้เรียนมีส่วนสำคัญในการควบคุมโครงการณ์ที่พวกเขาทำและจะทำในโครงการณ์นั้นๆ โครงการณ์อาจะหรือไม่กำหนดปัญหาชัดเจนโดยผู้สอน ผู้เรียนอาจกระทำโดยอิสระหรือเป็นกลุ่มในพัฒนาการแก้ปัญหาของโครงการณ์ในช่วงเวลาที่ตกลงกัน แนวสอนแบบนี้ใช้กันมากในการศึกษาสถาปัตยกรรม บริหารธุระกิจ แพทย์ ในบางสถานะการณ์ “กรณีตัวอย่าง” เป็นวิธีที่เน้นและได้ประโยชน์สำหรับการสอนและการเรียน

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ของปี 2001, ผู้เขียนได้จัดเตรียมการอบรมปฏิบัติการ (ICT-Assisted PBL workshop) ใช้เวลาวันครึ่งให้กับคณะวิชาในเมือง Montana มลรัฐ Wyoming มีเว็บไซท์ที่รายงานไว้ที่ ..http://darkwing.uoregon.edu/~moursund/PBL/

ในส่วนต่อไปของบทความนี้ เป็นการสรุปสั้นๆเรื่องการสนับสนุนการเรียนรู้แบบโครงการณ์ (ICT-Assisted Project-Based Learning) ทั่วๆไป ที่ไม่เป็นเพียงเฉพาะเพื่อการศึกษาคณิตศาสตร์เท่านั้น

การเรียนรู้แบบโครงการณ์
Project-Based Learning

คำจำกัดความ:

การเรียนรู้แบบโครงการณ์ คือ กิจกรรมอิสระหรือกลุ่มที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง สร้างผลงาน การนำเสนอ และการดำเนินงาน มีเงื่อนไขเวลา ระยะเวลา และการประเมินผลเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการให้โครงการณ์บรรลุได้

การเรียนรู้แบบโครงการณ์มีส่วนร่วมทั่วไปกับกระบวนการเขียน พื้นฐานของกระบวนการเขียน ที่สอนกันในสหรัฐอเมริกา เจริญรอยตามแบบการเขียนของ the Bay Area Writers Project circa 1975. กระบวนการเขียนประกอบด้วยเรื่องราวหกประการ คือ:
  1. การระดมความคิด--brainstorming
  2. การจัดการความคิดที่ระดมมา--organizing the brainstormed ideas
  3. ปรับปรุงร่างที่เขียน--developing a draft
  4. รับการสำรวจย้อนหลัง--obtaining feedback
  5. การแก้ไขซึ่งอาจย้อนไปในขั้นตอนแรกๆ--revising, which may involve going bask to earlier steps
  6. จัดพิมพ์--publishing

ต่อไปนี้เป็นมโนทัศน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบโครงการณ์


เป็นลักษณะที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีเสียงสำคัญในการเลือกขอบเขตของเนื้อหาและธรรมชาติของโครงการณ์ที่พวกเขาจะดำเนินการ เน้นในเรื่องความเข้าใจของผู้เรียนสำหรับโครงการณ์นั้นเป็นสำคัญ เช่นความเข้าในเรื่อง อะไรที่จะทำ? ทำไมจึงจำเป็น? และจะให้บรรลุผลอย่างไร? เป็นต้น จริงๆแล้ว ผู้เรียนต้องร่วมสร้างเป้าหมายต่างๆ เพื่อไปถึงและให้บรรลุเป้าหมายนั้นด้วย ลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้แบบโครงการณ์มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ในเรื่องสิ่งเร้าใจและความตื่นตัวของผู้เรียน การทำให้เกิดสิ่งเร้าและความกระตือรือร้นกับผู้เรียนในระดับสูงๆ เป็นการสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้แบบโครงการณ์ นี้

ในแง่ของผู้เรียนสำหรับวิธีการเรียนรู้แบบนี้:
  • คือความเป็นศูนย์กลาง และการมีสิ่งเร้าหรือจูงใจของผู้เรียน
  • สนับสนุนในเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ให้ผู้เรียนสามารถผลิตผลงาน การนำ หรือสามารถดำเนินงานได้
  • ยินยอมให้มีการเพิ่มพูนและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องสำหรับ ผลงาน การนำเสนอ หรือการดำเนินการ
  • เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนใน “การกระทำจริงๆ-- doing” มากกว่า “การเรียนเฉยๆ-- learning about” สำหรับบางสิ่งบางอย่าง
  • เป็นความท้าทาย ที่เน้นการมีทักษะระดับสูงเป็นสำคัญ
ในแง่ผู้สอนสำหรับวิธีการเรียนรู้แบบโครงการณ์:
  • มีเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่เป็นของจริง
  • ประโยชน์ที่ได้จากของจริงแท้ๆ
  • ผู้สอนในบทบาทผู้ช่วยเหลือ—โดยทำหน้าที่เป็น “ผู้ชี้ทาง-- guide on the side” มากกว่า “ผู้บงการ--sage on the stage”
  • มีเป้าหมายการศึกษาที่ชัดเจนตรวจสอบได้.
  • เป็นรากฐานในแบบโครงสร้างนิยม (ตามอย่างทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม)
  • เป็นการออกแบบเพื่อผู้สอนจะเป็นผู้ได้เรียนรู้ด้วย
  • ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการวางเป้าหมายของโครงการณ์
  • ผู้สอนและผู้เรียนประเมินผลร่วมกัน
  • ผู้สอน ผู้เรียน และผู้อื่น อาจช่วยกันในการประเมินผล (ขั้นสุดท้าย)
  • ผู้สอนเป็น “ผู้ชี้ทาง” มากกว่า “ผู้บงการ”
  • การแก้เงื่อนปม เกิดจากความร่วมมือของผู้สอนและผู้เรียน จะช่วยได้ในเรื่อง การประเมินด้วยตนเอง ประเมินโดยกลุ่ม การประเมินโดยผู้สอน และการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอื่นภายนอก

ในแง่นักค้นคว้า การเรียนรู้แบบนี้สนับสนุนงานในลักษณะที่เป็น:

  • โครงสร้างนิยม--Constructivism
  • ทฤษฎีแรงจูงใจ--Motivation Theory
  • เรียนรู้จากการสืบสวนและค้นพบเอง--Inquiry & Discovery-Based Learning
  • เรียนรู้ร่วมกัน--Cooperative Learning
  • แก้ปัญหาทั้งอิสระและร่วมกัน--Individual & Collaborative Problem Solving
  • เป็นการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานด้วย--Problem-Based Learning

การเรียนรู้โดยใช้การสืบสวนสอบสวน(หรือการวิจัย)เป็นพื้นฐาน
(Inquiry-based Learning)


เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก หรือแนวคิดอีกแบบที่เน้นการเรียนรู้โดยเกี่ยวข้องกับ การตั้งคำถามหรือกำหนดสมมติฐาน การคิดเชิงวิพากษ์ด้วยเหตุและผล (critical thinking) และการแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นการประสานรวมกันในเชิงมโนทัศน์ที่ว่า “เกี่ยวข้องกับตัวฉันและฉันเข้าใจ” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในในเว็บไซท์ดังต่อไปนี้...
  • What Do We Mean By Inquiry? ตรวสอบคำจำกัดความของการสืบสวน
  • Inquiry-based Learning. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของการสืบสวน หรือการเรียนรู้แบบสืบสวน (inquiry-based learning)
  • The Inquiry Page. เน้นที่แบบจำลองของการเรียนรู้แบบสืบสวน บนปรัชญาที่ว่าการเรียนรู้เริ่มด้วยคำถาม หรือการตั้งคำถาม การตรวจสอบค้นหา การสร้างสรรค์ การสนทนา และย้อนรอย เพื่อค้นหาให้ได้องค์ความรู้ของตนเอง
  • Inquiry-based Learning and Teaching. เป็นโครงการณ์ที่เน้นวิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ มีตัวอย่างโครงการศึกษาที่ดี เช่นการตรวจศึกษาอายุและพันธ์ต้นไม้-- tree ring and species
  • Exploratorium: Inquiry. ให้ข้อมูลทั่วไปของการเรียนรู้แบบสืบสวน ควรดูที่ตัวโครงการณ์--projects.
  • The Webquest Page. Bernie Dodge ปรับปรุงแนวคิดการสืบสวนเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ผสมผสานกับการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ร่วมกัน
  • Teach-nology Inquiry Links. ให้ข้อมูลเริ่มต้นเป็นการเพิ่มเติมความเข้าใจยิ่งขึ้น

อะไรคือรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้การสืบสวนเป็นพื้นฐาน?


มีภาษิตเดิมกล่าวว่า "ถ้าบอกฉันๆจะลืม แต่ถ้าแสดงให้ฉันเห็นฉันจะจำได้ และถ้าเอาตัวฉันเข้าไปเกี่ยวข้องฉันจะยิ่งเข้าใจ" คำกล่าวส่วนหลังของภาษิตนี้คือหลักการสำคัญของการเรียนรู้แบบใช้การสืบสวนเป็นพื้นฐาน คือการสืบสวนจะมีส่วนร่วมในการนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ (Joe Exline) นอกเหนือจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มทักษะและทัศนะคติ ที่ทำให้เรายอมรับกับคำถามและเรื่องราวในการสร้างความรู้ใหม่ๆด้วย

"Inquiring-การสืบสวนหรือไต่ถาม" หมายถึง "การสืบค้นหาความจริง ข้อมูล หรือความรู้อย่างหนึ่ง --การสืบค้นหาข้อมูลจากการตั้งคำถาม" แต่ละคนใช้กระบวนการสืบสวนไต่ถามกันมาตลอดในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย แม้ว่าจะไม่ตระหนักในกระบวนนี้ก็ตาม ทารกรู้จักโลกด้วยการสร้างความรู้สึกจากการสืบสวนหรือไต่ถาม ตั้งแต่เกิดก็เริ่มสังเกตใบหน้าคนที่อยู่ใกล้ ไขว่คว้าสิ่งของนำเอาใส่ปาก และส่งเสียงร้อง กระบวนการสืบสวนเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนองตอบเป็นความรู้สึกสำหรับมนุษย์ –การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส ลิ้มรส และยิ้มแย้ม

บริบทของการสืบสวน

โชคร้ายที่ระบบการศึกษาปกติไม่ใส่ใจวิธีการส่งเสริมกระบวนการสืบสวนที่เป็นธรรมชาตินี้ ผู้เรียนลดทอนการตั้งคำถามลงทุกครั้งที่เลื่อนขั้นการเรียนรู้ ในโรงเรียนทั่วไป ผู้เรียนเอาแต่ฟังและจดจำคำตอบที่หวังไว้มากกว่าการตั้งคำถามที่ควรมีมากมาย

สิ่งบั่นทอนกระบวนการสืบสวนบางอย่าง มาจากการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความลึกซึ้งในธรรมชาติของของการเรียนรู้ที่ใช้การสืบสวนเป็นพื้นฐาน ซ้ำร้ายมีแนวโน้มที่เป็นการเรียนรู้ที่ “เลื่อนลอย” ไร้ทิศทาง ทั้งๆที่ผลดีของการสืบสวนมีมากกว่าแค่การตั้งคำถามเท่านั้น กระบวนการนี้ยังซับซ้อนไปถึงการปรับข้อมูลให้เป็นประโยชน์กับความรู้อีกด้วย ประโยชน์ของการนำการเรียนรู้แบบสืบสวนไปใช้ประโยชน์ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นอีกมากมาย เช่น บริบท(สิ่งเกี่ยวข้องทั้งหมด)ของคำถาม กรอบสำหรับคำถาม หรือประเด็นเฉพาะเจาะจงของคำถาม และความแตกต่างของระดับคำถาม เป็นต้น การออกแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนที่ดี ต้องผลิตรูปแบบความรู้ที่นำไปใช้ให้ได้อย่างกว้างขวาง ในทางปฏิบัติ

ความสำคัญของการสืบสวน

การจดจำข้อเท็จริงหรือข้อมูลไม่ใช่ทักษะที่สำคัญที่สุดในสถานะการณ์ของโลกในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป และข้อมูลใหม่เกิดขึ้นมากมาย –ความต้องการที่จำเป็นคือ ความเข้าใจในเรื่องการคัดสรรข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างไรจากแหล่งรวมที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาล

นักการศึกษาต้องตระหนักว่า โรงเรียนต้องก้าวล่วงเลยไปจากการสะสมข้อมูล และเคลื่อนไปสู่การสร้างความรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง. . .ด้วยกระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบสืบสวน ในอดีตความเจริญของประเทศชาติ ขึ้นอยู่กับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มี แต่ปัจจุบันนี้ ต้องอาศัยแรงงานที่เป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพและ “ความเฉลียวฉลาด” ที่มากกว่า
ด้วยกระบวนการสืบสวน แต่ละคนจะสร้างความเข้าใจที่หลากหลายสำหรับมนุษย์และโลกปัจจุบันได้ การสืบสวนหมายรวมถึง “ความจำเป็น และความต้องการที่จะรู้” เป็นพื้นฐาน การสืบสวนไม่มุ่งแค่เพื่อการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น –เพราะมันไม่มีให้หา –แต่ต้องสืบค้นคำตอบใหม่ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละคำถาม และในแต่ละเรื่องที่ศึกษา สำหรับนักการศึกษา การสืบสวนเน้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงทักษะในการสืบสวน และการปรับแต่งทัศนะคติและความคุ้นเคยเดิมที่เป็นนิสัยของแต่ละคนเสมอๆ ถ้าจะต้องตั้งคำถามสำหรับแสวงหาความรู้ที่จะต้องมีกันไปตลอดชีวิต

โดยสาระของแบบแผนหรือวินัยต่างๆนั้นสำคัญ แต่เป็นแค่เครื่องมือไม่ใช้ผลผลิตสุดท้าย ความรู้ที่ขึ้นอยู่กับการจัดตั้งให้เป็นแบบแผนหรือมีวินัยย่อมต้องมีการขยายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ยังไม่เคยมีใครเรียนรู้การก่อกำเหนิดและตรวจสอบความรู้ทั้งหมด แต่ทุกคนสามารถปรับปรุงทักษะและทัศนะคติที่จำเป็นต่อการสืบสวนต่อๆไปได้ตลอดชีวิต สำหรับการศึกษายุคใหม่ ทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง จะเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด เหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็น จะอธิบายไว้ตามแผนภูมิข้างล่างนี้

แผนภูมินี้ปรับปรุงขึ้นโดย Joe Exline แสดงถึงสังคมและบุคคลในสังคมมั่นสร้างและถ่ายเทกองทุนแห่งความรู้ ( fund of knowledge)

ผู้ชำนาญการจะมุ่งทำงานระหว่างขอบเขตของความรู้ที่รู้แล้วกับความรู้ที่ยังไม่รู้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนกองทุนของความรู้อย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่สำคัญคือ ความรู้สามารถถ่ายเทไปสู่สมาชิกของสังคมทั้งหมดได้ การถ่ายเทความรู้เกิดขึ้นในโรงเรียน ในครอบครัว และในสถานที่ฝึกหัดอบรมต่างๆ

ประโยชน์ที่แน่นอนเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างและถ่ายเท เพื่อเป็นกองทุนความรู้อย่างได้ผล ประโยชน์ซึ่งผู้ชำนาญการเคยใช้สร้างความรู้ใหม่ จะคล้ายคลึงกับปริมาณของการถ่ายเทความรู้อย่างได้ผลที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของผู้เรียน ต่อไปนี้คือผลที่เกิดจากการเรียนรู้แบบสืบสวน
  • ผู้ชำนาญการเห็นแบบแผนและความหมายที่ซึ่งผู้เรียนไม่เห็น
  • ผู้ชำนาญการมีความรู้ลึกซึ้งในสาขาวิชาของตน มีโครงสร้างวิชาการที่เป็นประโยชน์ที่สุด
  • ความรู้ของผู้ชำนาญการไม่ใช่แค่จำนวนข้อเท็จจริง –แต่เป็นโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงได้ โยกย้าย และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายสถานะการณ์
  • ผู้ชำนาญการสามารถนำความรู้กลับมาใช้และเรียนรู้ข้มูลใหม่ที่เกิดขึ้นในสาขาของตนได้อย่างง่ายดาย

(รายการข้างต้นปรับปรุงมาจาก "How People Learn," จัดพิมพ์ขึ้นโดย the National Research Council ในปี 1999.)


แผนภูมิบนนี้ปรับปรุงโดย Joe Exline แสดงสิ่งจำเป็นและได้รับจากการสร้างและถ่ายเทอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับกองทุนแห่งความรู้


เราเสนอว่าผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับผู้ชำนาญการในการสร้างและถ่ายเทความรู้สำหรับกองทุนความรู้นั้นเกิดจากการเรียนรู้แบบสืบสวนที่มีประสิทธิภาพ เพราะการสืบสวนสำหรับในการสร้างและถ่ายทอดความรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษา เพราะทำให้กองทุนความรู้เพิ่มขยายมากขึ้น แผนภูมิข้างล่างแสดงให้เห็นว่า ทำไมจึงพยายามที่จะถ่ายทอด “อะไรที่เรารู้” ถ้ามันเป็นไปได้ มันจะเป็นการให้ผลประโยชน์มากขึ้นในระยะยาว นี่คือสาเหตุทำไมโรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงจาก “สิ่งที่เรารู้” ไปสู่การเน้นที่ “เรารู้สิ่งนั้นได้อย่างไร”

แผนภูมินี้ปรับปรุงขึ้นโดย Joe Exline แสดงถึงความรู้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างไรจากขอบเขตที่ไม่เคยรู้มาก่อน

ประสิทธิภาพของการศึกษาแบบครอบคลุม (well-rounded) ให้ความแตกต่างกับบุคคลแต่ทว่ามีสัมพันธ์กับโลกที่เป็นจริง ทุกแบบแผนและระเบียบวิธีมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นสำคัญ ให้กรอบที่เป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพในการจัดการหลักสูตรของโรงเรียน ดังที่แสดงไว้ในแผนภูมิข้างล่าง เรื่องของระเบียบวิธีต่างๆสามารถจัดเป็นกลุ่มในกรอบของบริบทกว้างๆ (conceptual framework) กรอบนี้สำคัญสำหรับความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งสำหรับการจัดการแบบแผนของวิธีการและการนำไปใช้ในธรรมชาติและโลกที่เป็นจริงของมนุษย์

แผนภูมิปรับปรุงขึ้นโดย Joe Exline แสดงทักษะในการประมวลข้อมูลในแบบแผนต่างๆที่คล้ายคลึงกัน

ความเคยชิน คุณค่า และ “กฎเกณฑ์พื้นฐาน” เป็นแบบแผนเฉพาะให้มุมมองที่เด่นชัดและครอบคลุม ในสาขาวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ความต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ขณะที่ในสาขาวรรณกรรม ต้องการความคิดเห็นและการตีความจากแหล่งข้อมูล ความเคยชินในใจ ผันแปรตามความเคร่งครัดในแบบแผนของวิชาที่ต่างกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด หากแต่เป็น “กฎเกณฑ์พื้นฐาน” ที่แตกต่างกัน

การประยุกต์ใช้การสืบสวน

มีความคิดและการค้นคว้ามากมายเกียวกับบทบาทของการสืบสวน ที่ควรเป็นอย่างไรในการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ แต่การเรียนรู้แบบสวบสวนก็สามารถนำไปใช้ในทุกสาขาอื่นๆได้ เพราะบุคคลต้องการการมองโลกในหลายๆแง่มุมต่างๆ ในแง่มุมที่เป็นรูปแบบทางศิลปะ ทางวิทยาศาสตร์ ทางประวัติศาสตร์ ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ขณะทุกสาขาควรมีความเชื่อมโยงกัน การเรียนรู้แบบสืบสวนจะรวมการประยุกต์กับ “กฎตายตัว” เฉพาะในของทุกสาขา เพื่อแน่ใจว่าตรงกับการมองโลกแบบองค์รวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกัน

ผลผลิตของการสืบสวน

ผลของการสืบสวนที่สำคัญ ควรเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและมนุษย์ในโลกของความเป็นจริง เช่นโลกประกอบกันขึ้นอย่างไร? มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? และเราจะสื่อสารกับมัน ทั้งภายในและข้ามกันระหว่างโลกต่างๆได้อย่างไร? แม้เป็นแนวคิดที่กว้างแต่มีเนื้อเรื่องสำคัญและคำถามแน่ชัดเหล่านี้ แต่ละคนจะต้องประสบกันตลอดชีวิต อีกทั้ง แนวคิดเหล่านี้สามารถจัดเป็นเรื่องเนื้อหาของหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อสร้างความเกี่ยวพันธ์กับกรอบของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ การศึกษาที่เหมาะสม ควรจัดให้แต่ละคนมีวิธีมองโลกในแง่ที่แตกต่างกัน แต่สื่อสารกันได้ ครอบคลุมการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประวันของแต่ละคนด้วย.

ขณะที่การตั้งคำถามและการแสวงหาคำตอบ เป็นสิ่งสำคัญของการสืบสวน เพราะการเกิดความรู้มีผลมาจากการตั้งคำถามและการค้นหานั้น ต้องได้รับการเครื่องช่วยเหลืออย่างมากจากแนวคิดในบริบทของการเรียนรู้ด้วย ผู้เรียนไม่ควรมุ่งเพียงสาระและผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของการเรียน และไม่ควรตั้งคำถามและค้นหาคำตอบที่เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ การวางระบบกิจกรรมต่างๆในการเรียนรู้แบบสืบสวน ควรเป็นชุดแนวความคิดเป็นบริบทมี่ช่วยให้ผู้เรียนสะสมความรู้ไประหว่างการเลื่อนชั้นเรียน การสืบสวนในการศึกษานั้น ควรเป็นเพื่อความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่กับโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่ เรียนรู้ สื่อสารและทำงานร่วมกันได้

มีความผันผวนมากมายในการเรียนรู้แบบสืบสวน ที่นิยมใช้กันอยู่ เช่น โปรแกรมการแก้ปัญหาเพื่ออนาคต - Future Problem Solving Program แนวคิดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียน - Problem-based Learning Approach เป็นต้น

อ่านในบท "Resources" สำหรับแนวคิดเหล่านี้

ความแตกต่างจากแนวคิดการเรียนรู้แบบปรกติ

วิธีการเรียนรู้แบบปรกติเน้นเพียงแค่เนื้อสาระ ไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านทักษะและความเป็นเสมือนธรรมชาติของทัศนะคติในเรื่องการสืบสวน ระบบการศึกษาปัจจุบันเป็นแบบใช้ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ผู้ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “อะไรที่ตนรู้” เป็นสำคัญ ผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูลโดยผู้สอนเป็นผู้จ่ายให้ การประเมินผู้เรียนเน้นที่ “คำตอบเดียวที่ถูกต้อง” การศึกษาปรกติเกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวสำหรับความสำเร็จในชั้นสูงขึ้นต่อไปในโรงเรียน มากกว่าการช่วยเหลือให้เกิดการเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ห้องเรียนปรกติเป็นระบบปิด ที่ซึ่งข้อมูลมีการกรองก่อนไปถึงผู้เรียน โดยทั่วไป ประโยชน์ของแหล่งข้อมูลถูกจำกัดเกิดในโรงเรียนเท่านั้น ประโยชน์ของเทคโนโลยี เน้นการเรียนให้รู้มากกว่าการนำไปสร้างเสริมการเรียนรู้ให้ดีขึ้น การวางแผนบทเรียน ใช้เพื่อจัดการขั้นตอนต่างๆในขบวนการเรียนแค่เพียงในแต่ละชั้นเรียนเท่านั้น บนคำถามต่างๆที่เบี่ยงเบนไปจากแผนมักได้คำตอบว่า “แล้วจะมีหรือเกิดได้ทีหลัง”

แนวคิดการสืบสวน เน้นการใช้และเรียนรู้เนื้อหา เป็นเพียงแค่วิธีการเชื่อมโยงนำไปสู่การพัฒนาการประมวลใช้ข้อมูล และเพื่อสร้างทักษะของการแก้ปัญหาเท่านั้น ระบบจะเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือในการเรียนรู้ เป็นการเน้นที่ว่า “เรารู้มันได้อย่างไร-- how we come to know” มากกว่า “อะไรที่เรารู้--what we know “ ผู้เรียนเกี่ยวข้องกับการสร้างองค์ความรู้ผ่านการมีส่วนร่วมที่สำคัญ วิชาหรือโครงการณ์ใดที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากก็จะง่ายต่อพวกเขาที่จะสร้างความรู้ลึกๆได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องฝืนเมื่อมีเป้าหมายตรงกับความสนใจและสะท้อนสิ่งเป็นเสน่ห์ต่อผู้เรียน

การประเมินผลการเรียนเน้นที่การถดถอยและเพิ่มขึ้นของทักษะไปพร้อมๆกับการเพิ่มที่ตรงเนื้อหาของความเข้าใจ การเรียนรู้แบบสืบสวนจะเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในห้องเรียนไปพร้อมกับการเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้ต่อๆไปได้ตลอดชีวิต

ห้องเรียนสำหรับการเรียนรู้แบบนี้ จะเป็นลักษณะของระบบเปิด ที่ซึ่งผู้เรียนถูกกระตุ้นให้ค้นหาแหล่งและประโยชน์ของแหล่งความรู้นอกเหนือจากที่มีภายในโรงเรียน ผู้สอนในวิธีแบบนี้จะสามารถใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงผู้เรียนกับแหล่งที่มีทั้งในประเทศและทั่วโลก ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่มีสิ่งอุดมมากมาย พวกเขาจะทดแทนแผนบทเรียนเดิมด้วยแผนช่วยเหลือเพื่อการเรียนรู้ และยอมรับบางส่วนที่เอื้อต่อการเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญเท่านั้น ผู้สอนจะมีเป้าคำถามที่ชัดเจนว่า “ท่านจะแนะนำพวกเราอย่างไร?ในการสืบสวนคำถามนั้น”

อีกเรื่องที่การเรียนรู้แบบสืบสวนต้องดำเนินการ คือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดำเนินการสืบสวน การสืบสวนไม่เพียงแค่ทำกันในห้องปฏิบัติการหรือโดยกลุ่มเท่านั้น สามารถทำได้ในการบรรยายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแต่ละคนคิดและตั้งคำถามได้

บ่อยครั้งผู้สอนส่วนมากมักละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อพวกเขาพูดหรือบรรยายให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนถ้าสนใจฟังก็จะเรียนรู้ทักษะการฟังและการสังเกตโดยสัมผัสได้ด้วยตนเองตามไปด้วย ถ้าผู้สอนเน้นที่ “เรารู้มันได้อย่างไร?” ด้วยการเสนอหลักฐานและข้อมูลประกอบ ก็จะกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถาม การพูดคุยกันก็จะกลายเป็นแบบจำลองการสืบสวนตรวจสอบที่ให้อำนาจในการเรียนรู้กับผู้เรียนด้วย การประมวลเข้าด้วยกันระหว่างความหมายและการกระทำก็จะเกิดขึ้นในการบรรยาย

ตัวอย่างเช่น เมื่อสนทนากันถึงโครงสร้างภายในของโลก ครูมักให้ข้อมูลแก่นักเรียนถึงชื่อและขนาดของชั้นผิวโลกแต่ละชั้น หรือ ”อะไรที่เรารู้กัน” แต่สิ่งที่สำคัญที่น่าทึ่งสำหรับผู้เรียนคือ “เรารู้สิ่งนั้นได้อย่างไร” เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกเหล่านี้ ไม่มีใครลงไปในความลึกของชั้นนั้นๆ และการพิสูจน์ด้านกายภาพเพียงการขุดคุ้นแค่เพียงผิวเปลือกเท่านั้น เพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบสืบสวน ครูควรอธิบายหลักฐานข้างเคียงของทางวิทยาศาสตร์ด้วย ที่สำคัญคือการส่งต่อและสะท้อนกลับของคลื่นความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ต่างชนิดกัน ก็อาจช่วยเสริมความเข้าใจที่เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกชั้นในได้มากขึ้น แนวคิดนี้ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสไใเพียงการเรียนรู้เรื่องชื่อหรือขนาดเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือเกิดการไตร่ตรองและตั้งคำถามถึงหลักฐานข้างเคียงที่เป็นธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ แนวคิดเรื่องการสืบสวนช่วยผู้เรียนให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ในสาขาอื่นๆที่ตนจะศึกษาต่อไปได้ ในขณะที่เรียนรู้และเข้าใจถึงเนื้อหาวิชานั้นในเวลาเดียวกัน

น่าจะเป็นการดี หากมีการสรุปความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเรียนรู้แบบเดิมและการเรียนรู้แบบสืบสวน ในการเรียนรู้แบบเดิม มักเน้นไปที่ “การเรียนเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ.. LEARNING ABOUT THINGS” ในขณะที่การเรียนรู้แบบสืบสวนเน้นมากกว่าที่ “การเรียนสิ่งนั้นๆโดยตรง … LEARNING THINGS” หรืออีกแง่ที่ต่างกันคือการคิดลักษณะ “อะไร… WHAT” ที่ขัดแย้งกันกับการคิด ลักษณะ “อย่างไร… HOW”

แล้วจะต้องทำอะไรกันบ้างในห้องเรียน?

โรงเรียนส่วนมากเน้นที่การสอนทักษะพื้นฐานเพื่อสนองตอบความต้องการและรับใช้สังคมทันสมัยของยุค โดยทั่วไปเจาะจงในเรื่องการรวบรวมสะสมข้อมูล ไม่เน้นทักษะที่ส่งเสริมการสืบสวนที่เป็นเรื่องธรรมชาติของจิตใจ แนวคิดนี้เหมาะสมที่นำไปใช้ในการศึกษาเมื่อประเทศประกอบด้วยสังคมชนบทและมีข้อจำกัดเรื่องฝีมือแรงงาน ในสังคมที่ทันสมัยยุคนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว มีเครือข่ายครอบคลุมมากมาย มุ่งไปทิศทางของเทคโนโลยี และต้องการคนงานที่มีทักษะในการแก้ปัญหาและการคิดแบบวิพากษ์วิธีเชิงเหตุผล (Critical Thinking) ปัจจุบันความต้องการเรียนรู้ทักษะเหล่านี้เกิดขึ้นมากหลังการเรียนรู้ภาคบังคับในโรงเรียน โรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมๆหากต้องการให้ผู้เรียนสามารถเจริญงอกงามหรือเติบโตได้ต่อไปในโลกทันสมัยในปัจจุบัน

การเรียนรู้ปรกติเน้นการศึกษาที่ล้าสมัย โลกเปลี่ยนแปลง การส่งไปฝึกหัดก่อนทำงานทำได้ยากขึ้น คนหนุ่มสาวต้องมีวิธีการกระทำและความคิดใหม่ๆ สังคมของเราเพิ่มขนาด มีความหลากหลายและความซับซ้อนมากขึ้น คนหนุ่มสาวต้องปรับปรุงและเข้าใจสภาพซับซ้อนของชีวิตสมัยใหม่ในปัจจุบันและต้องสามารถผนวกเรื่องของจริยธรรมเข้ากับการปฏิบัติทั้งหลายให้ได้ เราต้องให้การศึกษาเรื่องนี้แก่พวกเขา เพื่อที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคมร่วมสมัยกัน พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาและปรับปรุงสถานะภาพเฉพาะตนให้เพียบพร้อมโดยอิสระและปราศจากความเสี่ยงทั้งหลาย

การเรียนรู้แบบสืบสวน สามารถเปลี่ยนข้อมูลให้กลับเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ เน้นการปรับปรุงทักษะและส่งเสริมช่วยเหลือในการปรับปรุงธรรมชาติดีๆของจิตใจที่เคยชิน ข้อมูลที่ขาดประโยชน์ของบริบทหรือคำตอบ จะมีข้อจำกัดในการนำไปใช้แม้ผ่านการตรวจสอบแล้วก็ตาม แผนการเรียนรู้และวัสดุที่ใช้ในการสอนจำเป็นต้องรวมบริบทที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นข้อมูลใหม่เพื่อขยายความเข้าใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น บ่อยครั้งเป็นความยากลำบากที่ผู้เรียนจะเข้าใจความเกี่ยวข้องกันของกิจกรรมหลายแหล่ในวิชาเฉพาะหนึ่งๆ ความสับสนนี้จะมากขึ้นเมื่อผู้เรียนต้องต่อสู้เพื่อเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างวิชาที่ต่างกันในโรงเรียนแบบเดิมๆทั่วไปด้วย
หลายโรงเรียนที่เป็นแบบเดิมๆ ขาดการรวมกันและกระบวนการที่เรียบง่ายในความเชื่อมโยงกันของวัสดุหรือวิชาการระหว่างชั้น มีการเน้นการวางแผนข้ามเลยวิชาการน้อยมาก ไม่มีความพยายามที่เพียงพอให้กับการกำหนดเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา – ทักษะและความสามารถของผู้เรียน ควรมีหรือได้รับเมื่อพวกเขาจบชั้นระดับมัธยม ขณะที่หลายวิชาใช้ทักษะการประมวลข้อมูลในลักษณะเดียวกันได้ และสามารถที่จะทำให้เกิดผลดีเพิ่มขึ้นโดยสร้างความเกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นระหว่างกัน

"สำนึกการใฝ่รู้ในจิตใจ-Habits of mind" ควรเป็นเป้าหมายที่สำคัญและเป็นผลที่พึงบรรลุในการศึกษา สำนึกเหล่านี้สามารถสร้างโลกทัศน์ในการรวมกันของความแตกต่างในหลักเกณฑ์หรือวิชาการทั้งหลาย ควรพิจารณากันเป็นกฎเบื้องต้นสำหรับหลักเกณฑ์เฉพาะ รวมเข้าไว้โดยไม่จำกัดการตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากข้อมูลในแง่ของวิทยาศาสตร์ ความงามและความปรารถนาที่สำคัญในแง่ศิลปะ และในบทบาทของความเชื่อและศรัทธาในแง่ของศาสนาด้วย
นี่ไม่ใช่การแนะนำว่าสำนึกการใฝ่รู้นี้ควรถูกสอน—หรือแม้แต่เป็นสิ่งที่สมารถสอนกันได้ มันควรถือเป็นการส่งเสริมเกื้อกูลกันตามธรรมชาติ โดยผ่านการสร้างแบบจำลองและสร้างเสริมประสบการณ์ที่เหมาะสม ทั้งไม่ได้เสนอแนะว่ามีโลกทัศน์ที่ถูกต้องเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน แต่ทว่าหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันนั้นสามารถทำให้เกิดมุมมองสำคัญอื่นและยังแตกต่างกันได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือ สำนึกของการใฝ่รู้นี้ต่อการหล่อเลี้ยงและให้คุณค่าต่อหลักเกณฑ์ทั้งหลายที่กำลังศึกษากัน โดยการส่งเสริมผ่านการตั้งคำถามและผลสะท้อนกลับมา คำถามหลายคำถามเช่น ท่าน(ฉัน) รู้ได้อย่างไร? เรา(ฉัน)สามารถรู้สิ่งนั้นได้หรือ? อะไรคือหลักฐาน? ท่าน(ฉัน)ได้รับข้อสรุปในการตัดสินใจนี้ได้อย่างไร?

คำถาม ไม่ว่าจากผู้อื่นหรือของตนเองเป็นหัวใจของการเรียนรู้แบบสืบสวน ขณะที่คำถามเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนแบบเดิมด้วยนั้น แหล่งที่มา จุดมุ่งหมาย และระดับหรือชนิดของคำถามแตกต่างกัน ในห้องเรียนแบบปรกติ ครูคือผู้ตั้งคำถาม คำถามค่อนไปทางย้อนรอยเกี่ยวกับการอ่านหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ก่อนหน้า ในห้องเรียนแบบสืบสวนนั้น ครูจะตั้งคำถามเปิดกว้างและสะท้อนความเป็นธรรมดาและธรรมชาติ เทคนิควิธีการตั้งคำถามที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้แบบสืบสวนในห้องเรียน โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นต่ำๆ เพราะจะกลายเป็นพื้นฐานของการริเริ่มตั้งคำถามด้วยตนเอง

Dennie Palmer Wolf, เขียนหนังสือชื่อ THE ART OF QUESTIONING, จัดพิมพ์โดย Academic Connections ในราวปี 1987 แนะนำว่ามีลักษณะสำคัญของคำถามสี่อย่างคือ คำถามที่ลงความเห็นหรือให้คำวินิจฉัยได้ (inference questions) คำถามที่ต้องแปลความหมาย (interpretation questions) คำถามที่ต้องถ่ายโอนย้ายกัน (transfer questions) และคำถามที่เกี่ยวข้องกับสมมุติฐานเพื่อการตรวจสอบ (hypotheses questions)

คำถามเพื่อการวินิจฉัย

คำถามประเภทนี้ถามผู้เรียนเพื่อให้เรียนรู้เกินเลยข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ ตัวอย่างเช่น ครูสอนการถ่ายภาพในโรงเรียนระดับมัธยมหนึ่งจัดแสดงภาพถ่ายขาวดำครึ่งตัวของช่างเครื่องผู้หนึ่ง ที่ถ่ายโดย Paul Strand โดยถามว่า “ท่านรู้อะไรบ้างจากการมองภาพถ่ายนี้?” ผ่านการตั้งคำถามอย่างระมัดระวังและการสนทนากัน นักเรียนของเขาตระหนักว่า ภาพประกอบด้วยนัยหลายอย่างที่เปิดเผยโครงข่ายของข้อมูลทั้งหมด สัญญาณที่สื่อเนื้อหา (ทีไหนและเมื่อไรที่ถ่ายภาพนี้) เทคนิคของการถ่ายภาพ (ผู้ถ่ายภาพยืนอยู่ที่ไหนและมีแหล่งของแสงตั้งไว้ที่ใด) และการสื่อความหมายหรือทัศนะคติของช่างภาพ (ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและคนงาน) มองไกลไปจากข้อเท็จจริงของวิธีการนี้ คือการถามผู้เรียนให้ค้นหาร่องรอยหรือสัญญาณ กระทำการตรวจสอบ และสนทนาเกี่ยวกับการลงความเห็นและการกำหนดเป็นข้อวินิจฉัยในการใช้เหตุผล

คำถามที่ต้องการแปลหรือตีความ

ถ้าคำถามที่ต้องมีการวินิจฉัยทำให้ผู้เรียนต้องเพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไป คำถามลักษณะตีความจะเสนอให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญและผลที่ได้รับจากข้อมูลหรือมโนทัศน์ วันหนึ่งในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ เป็นการค้นหาความรู้สึกที่มีต่องานโคลงกลอนของ Frost เช่น The Silken Tent ครูตั้งคำถามว่า “ลองจินตนาการดูซิว่า ถ้า Frost เปรียบเทียบหญิงคนหนึ่งกับผ้าใบคลุมเต็นท์ธรรมดา แทนผ้าไหม อะไรจะเปลี่ยนแปลงไป?” เมื่อเผชิญหน้ากับจินตภาพที่เยือกเย็นและบึกบึนของแผ่นผ้าในที่หนาเตอะ ผู้เรียนทันใดก็ตระหนักถึงแผ่นผืนกระเพื่อมเคลื่อนไหวในความคิดดังผืนผ้าไหม—เสียงซิดๆของมัน ดังกรอบแกรบ ผสมผสานกันกับความสละสลวย มีค่า และความเป็นผู้หญิง ในการเคลื่อนไหวอ่อนช้อยของมัน ในจิตวิญญาณทำนองคล้ายกันเกิดขึ้น ระหว่างการเขียนภาพสิ่งมีชีวิตในชั้นเรียน และครูแสดงภาพจำลองของ Manet's "Olympia" ให้นักเรียนดูพร้อมถามว่า “ภาพนี้จะต่างกันอย่างไร?”หากหุ่นที่ใช้เขียนภาพไม่สรวมแถบโบว์สีดำรอบคอของเขา นักเรียนเอามือแตะบนแถบโบว์นั้น ศึกษาจินตภาพแล้ววิจารณ์ว่า “ปราศจากแถบโบว์นี้ เธอก็ยังไม่ดูล่อนจ้อน เธอกลับดูเป็นหุ่นทีมีรสนิยม เมื่อไม่มีแถบโบว์ เธออาจดูเหมือนไม่ได้แต่งกายแต่เธอดูกล้าหาญมากขึ้น”

คำถามที่ถ่ายโอนกัน

ถ้าคำถามเพื่อการวินิจฉัยและตีความทำให้ผู้เรียนคิดแนวลึกในการค้นคำตอบ คำถามลักษณะโยกย้ายหรือถ่ายโอนจะช่วยทำให้เกิดการคิดในแนวกว้าง เป็นการถามเพื่อให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมไปใช้ในที่ใหม่ ตัวอย่างเช่น ในข้อสอบสุดท้ายในวิชาภาพยนต์ระดับชั้นมัธยมปลาย ตั้งคำถามว่า "ในภาคเรียนนี้เราได้ศึกษาสามผู้กำกับ-- Fellini, Hitchcock, และ Kurosawa ท่านลองจินตนาการดูซิว่าหากท่านเป็นนักวิจารณ์ภาพยนต์ ท่านจะเขียนบทวิจารณ์ภาพยนต์เรื่อง "Little Red Riding Hood" ซึ่งกำกับโดยหนึ่งในผู้กำกับดังกล่าวอย่างไรบ้าง?”

คำถามเกี่ยวกับสมมุติฐาน

ปรกติ คำถามมักขึ้นอยู่กับอะไรที่เราสามารถทำนายและทดสอบความคิดได้ในแนวทางของวิทยาศาสตร์และอื่นๆที่เข้าถึงได้ยาก แต่ในข้อเท็จจริงนั้น การทำนายเกี่ยวข้องกับความคิดในทุกเรื่อง เมื่อเราอ่านนิยายเล่มหนึ่งๆ เรารวบรวมเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่อราว ความซื่อสัตย์ของผู้พรรณนา รูปแบบการเขียนของนักประพันธ์ ทั้งหมดเราใช้เพื่อทำนายอะไรที่เราหวังจะเกิดขึ้นในบทต่อไป นอกเหนือจากนี้ การส่งเสริมให้ผู้เรียนซึมซับสาระของการเต้นรำ การเล่นละคอน หรือเขียนอ่านนิยาย ครูที่ชำนาญจะสามารถยืนยันได้ว่า การทำนายหรือการคาดการณ์นั้นเป็นวิธีหนึ่งที่ผู้เรียนคาดหวังในการค้นหาคำตอบ

ในแบบจำลองง่ายๆนี้ส่งผลที่ได้รับคือ-
  • สาระของวิชา
  • สาระหรือเนื้อหาในกรอบกว้างๆ
  • ทักษะในการประมวลข้อมูล และ
  • การส่งเสริมความเคยชินที่มีอยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้อยู่แล้ว

ครูจะต้องยึดถือการหวังผลสี่อย่างไว้เสมอ เมื่อมีการวางแผนหรือมีการปรับปรุงการเรียนรู้ ผลทั้งสี่นี้ถือเป็นแก่นสารของการเรียนรู้แบบสืบสวนหรือสืบสาวเหตุปัจจัย และควรเป็น”สาระสำคัญ” ในมาตรฐานของการศึกษาสมัยใหม่ในปัจจุบัน

ห้องเรียนที่ใช้การเรียนรู้แบบสืบสวน จะแตกต่างจากห้องเรียนแบบปรกติ ความแตกต่างจะมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อครูและนักเรียนคุ้นเคยกับวิธีการนี้ บ่อยครั้งที่มีความยุ่งยากในการกำหนดครูสำหรับชั้นเรียน เพราะไม่เหมือนอะไรที่พบหลังโต๊ะครูเช่นในแบบปรกติ นักเรียนจะต้องเคลื่อนตัวเองไปรอบห้องเรียนเพื่อที่จะมีความสัมพันธ์กับนักเรียนอื่นๆและแหล่งข้อมูลหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรอบตัวเสมอๆ

พฤติกรรมนักเรียนในการเรียนรู้แบบใช้สืบสวนเป็นพื้นฐาน

การเรียนรู้แบบนี้มีลักษณะเป็นเช่นไร? ส่วนมากมักพูดว่าเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกวิชา รายการข้างล่างนี้จะบอกว่าการเรียนรู้แบบสืบสวนเป็นเช่นไรในทางปฏิบัติ

นักเรียนพบตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้
  • พวกเขากระตือรือร้นในการเรียนรู้
  • พวกเขาแสดงความปรารถนาที่อยากเรียนมากๆ
  • พวกเขาให้ความร่วมมือในการเรียนรู้กับครูและกับกลุ่ม
  • พวกเขามีความเชื่อมั่นในการเรียนรู้แสดงความเต็มใจที่จะปรับมโนทัศน์และพร้อมที่จะเสี่ยง เพิ่มความช่างสงสัยที่เหมาะสม
นักเรียนยอมรับการเชิญชวนและเต็มใจที่มีส่วนร่วมในกระบวนการบุกเบิกในเรื่องนี้
  • พวกเขาแสดงความอยากรู้อยากเห็นและพร้อมที่จะสังเกตการณ์
  • พวกเขาจะเคลื่อนตัวไปรอบเพื่อเลือกใช้วัสดุที่พวกเขาต้องการ
  • พวกเขาปรึกษากับครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนในเรื่องที่สังเกตุและคำถาม
  • พวกเขาพยายามนำเสนอความคิดต่างๆด้วยตัวเอง

นักเรียนตั้งคำถาม เสนอคำอธิบายและใช้การสังเกต

  • พวกเขาถามคำถาม (ด้วยคำพูดและท่าทาง)
  • พวกเขาใช้คำถามเพื่อสืบตั้งคำถามหรือความคิดอื่นต่อๆไป
  • พวกเขาสังเกตเชิงแย้งตรงข้ามกับการมองและฟังแบบปรกติ
  • พวกเขาให้คุณค่าและประยุกต์คำถามเป็นส่วนสำคัญของการเรียน
  • พวกเขาสร้างความเชื่อต่อกับความคิดที่แล้วมา

นักเรียนวางแผนกิจกรรมในการเรียน


  • พวกเขาออกแบบวิธีการใช้ความคิด ไม่หวังจากการบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง
  • พวกเขาวางแผนวิธีตรวจสอบ ขยายผล ยืนยันหรือแม้แต่การยกเลิกความคิดบางอย่างที่ไม่ได้ผล
  • พวกเขาเสรมกิจกรรมโดยการใช้วัสดุ การสังเกต การประเมิน และการบันทึกข้อมูล
  • พวกเขาเลือกสรรข้อมูลและกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์
  • พวกเขาตระหนักในรายละเอียด สืบหาขั้นตอนและเหตุการณ์สังเกตการเปลี่ยนแปลง และสืบค้นความต่างและความเหมือนกัน

นักเรียนสื่อสารด้วยวิธีการหลากหลาย

  • พวกเขาแสดงความคิดหลายแบบ รวมถึงการเขียนบทความ เขียนแบบ ทำรายงาน เขียนแผนภูมิ และอื่นๆ
  • พวกเขาฟัง พูด และเขียนเกี่ยวกับกิจกรรมในการเรียน เกี่ยวกับพ่อแม่ ครู และกลุ่ม
  • พวกเขาใช้ภาษาของการเรียนรู้ ประยุกต์ทักษะในการประมวลข้อมูล ปรับปรุงเกณฑ์พื้นฐานของตนให้เหมาะเป็นหลักการณ์ทั่วไปได้

นักเรียนวิจารณ์การเรียนในทางปฏิบัติ

  • พวกเขาใช้เครื่องชี้วัดสำหรับงานของพวกเขา
  • พวกเขาตระหนักและรายงานจุดแข็งและจุดด้อยของตนเอง
  • พวกเขาสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองกับครูและกลุ่ม

ดัดแปลงจาก.. "Inquiry-Based Science, What Does It Look Like?" พิมพ์ใน CONNECT MAGAZINE, March-April 1995.


บทบาทครูในแง่ผู้ช่วยเหลือในการเรียนรู้แบบสืบสวน


ครูสะท้อนความมุ่งหมายในการวางแผนการเรียนรู้

  • เป็นผู้วางแผนในวิธีการต่างๆที่ให้ผู้เรียนแต่ละคนกระตือรื่อร้นในกระบวนการเรียน
  • เป็นผู้เข้าใจในความจำเป็นของทักษะ ความรู้ และความเคยชินของจิตใจที่ต้องการสืบสวนในการเรียน.
  • เป็นผู้เข้าใจและวางแผนด้วยวิธีต่างๆเพื่อกระตุ้นและให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง
  • เป็นผู้ประกันได้ว่าการเรียนในห้องเรียนเน้นที่ความสัมพันธ้และการประยุกต์ผลในการเรียนได้
  • เป็นผู้จัดเตรียม แนะนำและหวังในการตั้งคำถามให้เกิดขึ้นจากผู้เรียนให้ได้
  • เป็นผู้จัดเตรียมความพร้อมเรื่องสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือ วัสดุ และแหล่งทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนอย่างมีประสิทธิผล

ครูช่วยเหลือการเรียนรู้ในห้องเรียน


  • แผนการช่วยเหลือประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือนและประจำปีของครู ต้องเน้นที่การกำหนดเนื้อหาการเรียนในกรอบคร่าวๆเชิงมโนทัศน์ พวกเขาควรมุ่งสร้างแบบจำลองการพัฒนาทักษะและการส่งเสริมการปรับปรุงความเคยชินในจิตใจที่มีเป็นธรรมชาติในการใฝ่รู้
  • ต้องยอมรับว่าการสอนเป็นเสมือนกระบวนการเรียนรู้อันหนึ่งด้วย เมื่อถามคำถาม ก็ควรกระตุ้นให้เกิดการคิดที่แตกต่าง แล้วขยายไปสู่คำถามอื่นๆได้
  • ให้ค่าและกระตุ้นการตอบโต้ และเมื่อการตอบโต้นั้นนำไปสู่แนวคิดที่ไม่เข้าร่องเข้ารอย การเสนอแนะให้ทบทวนเหตุที่มาและการแนะนำที่เหมาะสมกับผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่พึงกระทำด้วย
  • พวกครูต้องตื่นตัวเสมอกับปัญหาและอุปสรรคในการเรียน และต้องชี้แนะผู้เรียนเมื่อจำเป็น
  • ควรมั่นถามหลายๆครั้งในรูปคำถามเช่น ทำไม? ท่านรู้ได้อย่างไร? และหลักฐานคืออะไร?
  • พวกเขาต้องให้ผู้เรียนเข้าถึงความช่วยเหลือในทุกส่วนที่ดำเนินไปในกระบวนการเรียนรู้

กฎเกณฑ์นี้ปรับปรุงโดย Joe Exline


เหนือสิ่งอื่นใด ความสำคัญของการเรียนรู้แบบสืบสวน คือทำอย่างไรให้ผู้เรียน ได้เรียนการสืบต่อการเรียนรู้ต่อๆไปได้ ในบางสิ่งพวกเขาสามารถกระทำได้ต่อไปตลอดชีวิต --สืบไปจากความช่วยเหลือที่เริ่มได้รับความมั่นคงมาจากพ่อแม่ --สืบไปจากตำราเรียน --สืบไปจากช่วงเวลาที่ได้รับจากครู และจากโรงเรียน --สืบไปจนถึงเวลาที่พวกเขาต้องเรียนรู้กันโดยลำพังตนเองต่อไป

อะไรคือกำไรที่ได้จากการเรียนรู้แบบสืบสวน?

สิ่งหนึ่งในความสำคัญที่ขาดหายไปในโรงเรียนทันสมัยส่วนมากคือการเชื่อมโยงและกระบวนการที่ง่ายๆในการเพิ่มความรู้จากวิชาที่เรียนในขั้นต้นจนถึงขั้นสูง ผู้เรียนมักเข้าใจได้ยากในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาเฉพาะที่มักเกี่ยวข้องกันและกัน จะมีความสับสนมากขึ้นเมื่อผู้เรียนพยายามจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันในวิชาต่างที่มีสอนกันในโรงเรียน

มีความพยายามน้อยนิดที่จะอุทิศเวลาเพื่อปรับปรุงผลสำคัญสุดท้ายที่ได้เมื่อจบการเรียนขั้นสูง หรือวางแผนมองย้อนกลับหรือข้ามเลยวิชาต่างๆไป การเรียนรู้แบบสืบสวนจะช่วยการเชื่อมต่อในสิ่งที่ขาดหายไปเหล่านี้ได้

ในเนื้อหาเฉพาะเช่น วิชาการล้างอัดรูป ซึ่งผู้เรียนจะต้องเกี่ยวข้องกับบริบทความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์กันของดวงอาฑิตย์(แสง) ความเขียวขจีของพันธ์ไม้ บทบาทของก๊าซคาบอนไดออกไซด์และน้ำ ในเนื้อหาวิชาศึกษาสังคม เช่นการพัฒนาอุตสาหกรรม จะกำหนดบริบทความสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงของโลกจำลองสำหรับมนุษย์ ซึ่งจะเป็นมุมองที่เพิ่มเติมจากกระบวนการตามธรรมชาติเดิมที่สำคัญ ผู้เรียนน่าได้เรียนเนื้อหาทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาไปพร้อมกัน เมื่อผ่านลำดับประสบการณ์ที่มีการเตรียมการไว้อย่างดีเช่นนี้แล้ว พวกเขาจะรวมเอามโนทัศน์ของบริบทที่กว้างขวางขึ้นและได้รับความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่กว่าด้วย

ภายใต้กรอบมโนทัศน์ การเรียนรู้แบบสืบสวนบวกกับความกระตือรือร้นของผู้เรียน สามารถส่งผลสำคัญให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ผู้เรียนสร้างการสังเกตการณ์ การรวบรวม การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล และสร้างผลสรุปและปรับปรุงประโยชน์ที่ได้รับจากทักษะของการแก้ปัญหา ทักษะนี้สามารถประยุกต์ใช้กับสถานะการณ์ในอนาคตที่ “ต้องการรู้” เมื่อผู้เรียนเผชิญทั้งในโรงเรียนและในที่ทำงาน

กำไรอีกอย่างคือ การเรียนรู้แบบสืบสวน ช่วยให้เกิดการปรับปรุงความเคยชินในจิตใจซึ่งใช้ไปได้ตลอดชีวิต และจะเป็นสิ่งนำทางในการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์ได้ต่อไปอีกด้วย
การเรียนรู้แบบสืบสวนมีพัฒนาการมาอย่างไร?จนเป็นที่นิยมกัน

การสืบสวนถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเสมอ มันสืบมาจาก Socrates และวิธีการของเขาที่ชี้นำให้ลูกศิษย์สร้างความรู้ด้วยตนเองจากความก้าวร้างในการตั้งคำถาม จนกระทั่ง John Dewey ปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาโดยนำวิธีการเรียนรู้แบบสืบสวนมาใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา Dewey สนับสนุนการเรียนรู้โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง (child-centered) การเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ในโลกที่เป็นจริง นักวิชาการล้ำลึกมองไปที่ประวัติศาสตร์ของการเรียนรู้แบบสืบสวนที่เกี่ยวพันกันกับประวัติศาสตร์ของแนวคิดโครงสร้างนิยม (Constructivism … see our Constructivism workshop)

ในปี ค.ศ. 1961, กรรมการนโยบายเพื่อการศึกษาได้จัดพิมพ์บทบัญญัติกลางเพื่อกำหนดเป้าหมายการศึกษาในอเมริกา แนะนำว่าผู้เรียนมีความจำเป็นในการพัฒนาการ “อำนาจของเหตุผล ๑๐ ประการ” ประกอบด้วย การย้อนระลึกและจินตนาการ (recalling and imagining) การจำแนกและครอบคลุม (classifying and generalizing) การเปรียบเทียบและประเมินผล (comparing and evaluating) การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ (analyzing and synthesizing) และ การใช้เหตุผลแบบนิรนัยและการวินิจฉัย (deducing and inferring) ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานบางอย่างของการเรียนรู้แบบสืบสวน

การกระตุ้นในสิ่งนี้เกิดจากความกลัว เมื่อพบว่าชาวรัสเซียมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่าชาวอเมริกัน ในราวปี ค.ศ. 1950s การศึกษาจึงถูกปรับเปลี่ยนมาเน้นการช่วยเหลือให้ผู้เรียนพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นพิเศษ

จนถึง ปี ค.ศ. 1960s เกิดแนวคิดหลักสูตรอักษรย่อสำเร็จ (alphabet soup curricula) มีชื่อเช่น หลักสูตรศึกษาชีววิทยาศาสตร์ --Biological Sciences Curriculum Study (BSCS), การศึกษาเคมี-วัสดุศึกษา -- Chemical Education Materials Study (CHEM Study), หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษา -- Science Curriculum Study (SCIS), วิทยาศาสตร์เบื้องต้น -- Elementary Science Study (ESS), และวิทยาศาสตร์กายภาพศึกษา --Physical Science Study Committee (PSSC Physics) เป็นต้น

ความพยายามที่เป็นจริงเป็นจังนี้ พยายามสร้างประเพณีนิยมของ “คู่มือ-- cookbook" สำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์ชนิดยื่นให้พร้อมกับการเน้นที่พัฒนาความสามารถการใช้เหตุผลต่างๆ โชคร้ายที่แนวคิดคู่มือนี้ไม่เป็นผลเกี่ยวข้องกับแนวคิดของการเรียนรู้ที่เป็นจริง มีผู้วิจารณ์ว่า ผู้เรียนเสียเวลา “สาระวน-- messing around” กับคู่มือนี้และใช้เวลาน้อยนิดสำหรับการวิเคราะห์
ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ของระบบโรงเรียนชุมชนที่เป็นอยู่เมื่อโปรแกรมนี้ถูกนำไปใช้ และเพราะพวกเขาเน้นไปที่องค์ประกอบเดียวของระบบโรงเรียนชุมชน คือ ครู
ขณะที่โปรแกรมเหล่านี้ ไม่ได้ถือเอาการเปลี่ยนแปลงที่คาดไว้ในยุคซึ่งพวกเขารับเอามา พวกเขาจึงสร้างสิ่งอื่นเสริมออกมาและการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง พวกเขาให้การเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นในวิถีทาง ซึ่งตำราวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษาได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้พิมพ์ตำราเริ่มเอาใจใส่ในวิถีทางที่ทำให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น
แนวคิดที่เคลื่อนไหวทั้งหมดส่งผลดีกับการปรับปรุงทางประวัติศาสตร์ของการเรียนรู้แบบสืบสวน การตระหนักถึงบทบาทของการอ่านและการเขียนในการเรียนเริ่มเปลี่ยนแปลงทัศนะคติและการปฏิบัติเกิดขึ้นในโรงเรียนทั้งหลาย

การเปลี่ยนแปลงระบบเป็นสิ่งสุดท้ายและเป็นความพยายามที่โดดเด่น มีผลกระทบที่เป็นแนวโน้มที่ดีของการเรียนรู้แบบสืบสวน ในปี ค.ศ. 1984 มีการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งชาติเกิดขึ้น ได้นำเอานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ นักการศึกษา ผู้นำทางเศรษฐกิจ นักการเมือง พ่อแม่ และคนอื่นๆ มาพบกัน เพื่อตอบสนองโดยตรงกับรายงานชื่อ “ความเสี่ยงของชาติ” บอกรายละเอียดของการล่มสลายของโรงเรียนอเมริกันชน การประชุมนี้นำไปสู่อะไรที่กลายเป็นการพยายามกำหนดรูปแบบใหม่ของการศึกษาในอเมริกา เพื่อรักษาความเป็นหนึ่งของโลกในยุคใกล้สิ้นสุดของศตวรรษที่ 20 นี้ ความพยายามทั้งหมดยังคงไว้ที่การชี้นำให้เอานักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนและให้ตรงกับความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมที่ทันสมัย

เมื่อลองตรวจสอบอย่างพินิจพิเคราะห์ ถึงวิวัฒนาการของกรอบที่วางไว้สำหรับการศึกษา มันกลายเป็นหลักฐานหนึ่งในหลายความคิดที่กรอบเหล่านี้ยังน่ามีเหตุผลคงไว้ได้ในปัจจุบัน ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือการนำไปดำเนินการมากกว่าการเป็นแค่เครื่องมือทางความคิดหรือมาสร้างกันใหม่อีก ความพยายามกำหนดรูปแบบใหม่ของระบบเป็นความหวังพิเศษ แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่ยังเป็นอุปสรรคในความพยายามนี้

อย่างน้อยมีสองปัจจัยที่สำคัญในการจัดระบบใหม่ ที่ทำให้ยากในการทำให้เป็นผลในบรรยากาศปัจจุบัน ปัจจัยแรกคือ ความพยายามที่จะเน้นกันส่วนมากที่การศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มันยากที่จะเปลี่ยนระบบโรงเรียนชุมชน ซึ่งขณะนี้เน้นแค่เพียงสองหลักเกณฑ์ในหลักสูตรของโรงเรียน ปัจจัยที่สองคือ นักการศึกษาส่วนมากมีประสบการณ์น้อยในการประเมิน องค์ประกอบที่สำคัญของระบบและความสอดคล้องกันกับผลสัมฤทธิ์สำหรับนักเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนทำไม่ดีในการทดสอบทั่วไปของรัฐ เราก็จะตอบโต้โดยพยายามเจาะจงไปที่นักเรียนให้เพิ่มความพยายามมากขึ้น แทนที่จะไปเจาะจงหรือเอาใจใส่ที่ระบบ ซึ่งปัญหาการขาดแรงจูงใจของนักเรียนมักเกิดมาจากระบบส่วนใหญ่