Friday, March 23, 2007

Architectural Education Innovation-1

นวัตกรรมการศึกษาสถาปัตยกรรม
ว่าด้วย..การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงใหม่
(Architectural Education Innovation)


ความเป็นมา

หลายปีมาแล้ว วิชาสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างจากวิชาอื่นๆ มีวิธีการสอนที่แตกต่างจากปรกติ มักเน้นการสอนด้วยวิธีการออกแบบโครงการณ์ (Design Projects) อย่างต่อเนื่อง ขณะที่อีกบางส่วนเป็นการเรียนรู้จากการบรรยาย และสัมมนาแบบปรกติทั่วไป แต่เวลาของการเรียนรู้ส่วนใหญ่ใช้ในห้องปฏิบัติการออกแบบ คือ การเขียนแบบ ทำหุ่นจำลอง เพื่อการพัฒนาการปรับปรุงในแต่ละโครงการที่ออกแบบของแต่ละผู้เรียน เป็นการเรียนรู้แบบปฏิบัติการโดยลงมือกระทำ (learning by doing) ในเวลาเดียวกัน ในแต่ละโครงการออกแบบ ผู้เรียนจะเสนอความคิดคร่าวๆพร้อมขอบข่ายในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอาคารที่แต่ละคนออกแบบ โดยมุ่งหวังที่ผลงานสุดท้ายของการเรียนรู้ ผู้สอนเป็นผู้แนะนำ ซึ่งมักเป็นสถาปนิกที่ออกแบบเป็นงานอาชีพเป็นครั้งคราวไปพร้อมๆกัน จะให้ความรู้ในด้านการปฏิบัติ แนะนำและสนับสนุน ให้แนวทางที่จำเป็นในการออกแบบ โดยหวังให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าส่วนอื่นที่จำเป็นและมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบเพิ่มเติมด้วย เมื่อสิ้นสุดเวลาของโครงการออกแบบหนึ่งๆ ผู้เรียนแต่ละคนต้องเสนอผลงานออกแบบ ต่อกลุ่มผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญที่รับเชิญ เพื่อรับการวิจารณ์และประเมินผลงาน การวิจารณ์และข้อเสนอแนะในขั้นสุดท้ายนี้ จะมีผลต่อผู้เรียนในการพัฒนาการในโครงการออกแบบในอนาคตต่อไป กลุ่มผู้วิจารณ์ หรือที่เรียกว่า กรรมการประเมินผล (The crit(-ic) panel) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเกรดของผู้เรียนด้วย

เนื่องจากวิธีการสอนสถาปัตยกรรมแตกต่างจากวิชาอื่น จึงเป็นการยากที่นักการศึกษาและนักพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย จะให้การสนับสนุนและช่วยเหลือที่เหมาะสมสำหรับผู้สอนสถาปัตยกรรม ในทำนองเดียวกัน ก็เป็นการยากสำหรับครูสอนสถาปัตยกรรมที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนในสาขาวิชาอื่น แม้บางวิธีการสอนอาจคล้ายคลึงกันบ้างในสถาบันเดียวกัน ดังนั้น หากมีหน่วยงานกลาง เช่น..the LTSN center for Education in the Built Environment จะแก้ไขช่องว่างตรงนี้ได้

การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
Educational Innovation

การเรียนรู้แบบใช้ โครงการ แบบใช้ปัญหา และแบบใช้การสืบสวน เป็นพื้นฐานในการศึกษา (Project, Problem, and Inquiry-based Learning)

คำถาม?

อะไรคือ รูปแบบการใช้ปัญหา การใช้โครงการณ์ และการใช้การสืบสวนหรือการวิจัย เป็นพื้นฐานของการศึกษา?

แนวคิดเหล่านี้มีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?
เราจะเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับห้องเรียนที่พร้อมด้วยเท็คโนโลยีสมัยใหม่อย่างไร?

การสำรวจเพื่อความเข้าใจของแนวคิดเหล่านี้

การเรียนรู้แบบโครงการณ์ (Project-based learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (problem-based learning) และการเรียนรู้แบบสอบสวน (inquiry-based learning) การเรียนรู้ทั้งสามแบบนี้สัมพันธ์กันกับกระบวนการจัดการข้อมูล ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่งกับการเรียนรู้เรื่องสภาพทางเท็คโนโลยี ที่ไม่เน้นทั้งเรื่องของ hardware and software แต่เน้นที่ประสบการณ์เป็นสำคัญ ในแต่ละกรณีเทคโนโลยีถูกใช้เป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้ อาจเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการกับมโนทัศน์ทั้งหลาย (เช่นแรงบันดาลใจ) ช่วยค้นหาข้อมูลปัจจุบัน (เช่นแหล่งของข่าวสารออนไลน์) หรือการนำเสนอมโนทัศน์ในขณะนั้น (เช่นการนำเสนอด้วยโปรแกรม PowerPoint) การเน้นสภาพการณ์ในการเรียนรู้เช่นนี้ ทำให้เกิดความตื่นเต้นกับผู้เรียนในเรื่องการแก้ปัญหาที่พบว่าเป็นเรื่องที่มีความหมายและน่าสนใจสำหรับพวกเขาด้วย
การเรียนรู้โดยใช้โครงการณ์เป็นพื้นฐาน (Project-Based Learning)

ความหมายของโครงการณ์

หมายถึง โครงการณ์ที่เป็นจริงมีคุณค่าและเป็นที่สนใจสำหรับผู้เรียนที่จะตรวจสอบในทางลึกๆได้ จัดขึ้นโดยกลุ่มผู้เรียนขนาดย่อม โครงการณ์สำหรับผู้เรียนมีวัยวุฒิ ต้องประกอบด้วยการสอนที่มีระบบด้วย แนวคิดการเรียนรู้แบบโครงการณ์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสอน โดยผู้สอนชี้แนวทางใผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งตรงกับโครงการณ์ที่เป็นจริง ไม่จำเป็นต้องตระเตรียมไว้พร้อมสรรพ ควรเป็นโครงการณ์ที่มีความซับซ้อนก็ได้แต่ต้องมีเค้าโครงที่ยืดหยุ่นได้ โดยเฉพาะยอมให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียนได้ตลอดเวลา ผู้สอนจะประสบความสำเร็จได้เมื่อผู้เรียนได้รับสิ่งเร้าสูง รู้สึกมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และสามารถผลิตผลงานได้อย่างมีคุณภาพสูง

คำพรรณนา-โครงการณ์

ทุกโครงการณ์ต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุก สร้างสรรค์ เสริมทักษะในการขีดเขียน ผู้เรียนมีโอกาสใช้วิทยาศาสตร์และสังคมวิทยาช่วยการแสวงหาความรู้ในหลากหลายวิธี สามารถนำความรู้เดิมเช่นคณิตศาตร์และภาษามาสร้างเสริมประสบการณ์ใหม่ๆได้

สำหรับการเรียนรู้ของผู้เยาว์ โครงการณ์อาจเป็นนิทานที่ดี มีจุดเริ่มต้น สาระ และการสิ้นสุด ครูและนักเรียนสามารถบอกนิทานที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งสามระดับ เริ่มอย่างไร เป็นไปอย่างไร และสิ้นสุดตรงไหนเมื่อไรได้

การเรียนรู้แบบโครงการณ์

เป็นความมุ่งหมายของการเรียนรู้แบบหนึ่งที่เน้นการพัฒนาผลผลิตที่สร้างสรรค์ ปัจจุบันการเรียนรู้แบบโครงการณ์ มักเกี่ยวข้องหรือการมีส่วนร่วมกับผู้เรียน และอาจจะหรือไม่เกี่ยวกับรูปแบบการใช้ปัญหาที่กำหนดเป็นพื้นฐาน หรือรูปแบบการสืบสวนที่กำหนดใช้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้โดยตรงก็ได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซท์ต่อไปนี้...
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างรูปแบบการใช้โครงการณ์และรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ (Project-Based and Problem-Based:The same/different?)

ทั้งสองรูปแบบต่างเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ความหมายที่ใช้อาจค่อนข้างกว้าง แต่มีความคล้ายคลึงกันในแง่แนวคิดเพื่อใช้พัฒนาในการเรียนรู้ จากการสำรวจการโต้แย้งเชิงวิชาการที่ได้จากเอกสารและบทความต่างๆ แม้จะมีความสับสนกันอยู่บ้าง แต่ก็พอจะเปิดเผยได้ว่า ทั้งสองรูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน

ความคล้ายคลึงกัน


จากการจำกัดความที่พบในข้อเขียนต่างๆ รูปแบบการใช้โครงการและการใช้ปัญหาในการเรียนรู้นั้นมีคุณลักษณะร่วมกันหลายประการ ทั้งสองแบบต่างเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน และตั้งใจเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับโลกที่เป็นจริง ผู้เรียนจะได้รับมอบหมายลักษณะของโครงการณ์หรือปัญหาที่เปิดกว้างในการเรียนรู้ในหลายแนวทาง ไม่ใช่การป้อนคำตอบใดเพียงอย่างเดียว ที่สำคัญคือการจำลองจากสถานะการณ์ของการปฏิบัติที่เป็นจริงไม่ใช่การสมมุติ ทั้งสองแนวคิดในการเรียนรู้นี้กำหนดเหมือนกันตรงที่ถือเอาผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นบทบาทของผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลือหรือผู้คอยให้คำปรึกษา ผู้เรียนเกี่ยวข้องกับโครงการณ์หรือปัญหาในลักษณะของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามช่วงเวลาที่กำหนด และกระตุ้นให้เกิดการค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่หลากหลาย โดยปรกติแนวคิดทั้งสองนี้เน้นการได้รับความรู้บนฐานของการดำเนินงานที่ตรงกับความเป็นจริง

ความแตกต่าง


นอกเหนือจากความคล้ายคลึงที่กล่าวมาแล้ว การเรียนรู้แบบใช้โครงการและแบบใช้ปัญหามีแนวคิดหลายอย่างที่ไม่เหมือนกัน การเรียนรู้แบบใช้โครงการณ์ ปรกติเริ่มที่ผลผลิตของงานที่เกิดขึ้นในใจ ผลงานอาศัยความรู้เฉพาะเรื่องและทักษะ และเกิดจากปัญหาเดียวหรือมากกว่าซึ่งผู้เรียนต้องแก้ปัญหาเอง ขนาดของโครงการณ์ขึ้นอยู่กับกรอบของเวลา ผลงานต่างระดับกันตามเทคโนโลยีที่ใช้ และการบิดเบือนที่ตบตากันในบางครั้ง การเรียนรู้แบบใช้โครงการณ์ เน้นที่แบบจำลองของผลผลิต เริ่มแรกผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ผลงานสุดท้ายและกำหนดผู้ดูหรือลูกค้า พวกเขาค้นคว้าในเรื่องที่พวกเขาตั้งขึ้น ออกแบบผลงานของพวกเขา วางแผนและจัดการโครงการณ์กันเอง ผู้เรียนเริ่มที่โครงการณ์ที่ได้รับมอบหมาย แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผลิตผลงาน และพยายามทำให้สำเร็จลุล่วงไป ผู้เรียนอาจใช้หรือนำเสนอผลงานที่สร้างขึ้นเป็นระยะๆ และให้เวลาในการประเมินงานตามที่กำหนดไว้ (Crawford, Bellnet website, Autodesk website, Blumenfeld et al) กระบวนการทั้งหมดมุ่งการเรียนรู้ที่สะท้อนในโลกที่เป็นจริงช่วยเหลือในเรื่องของกิจกรรมและความคิดที่ผู้เรียนต้องการขณะนั้น แม้ผลงานสุดท้ายเป็นสิ่งที่มุ่งได้รับในการเรียนรู้แบบโครงการณ์ ซึ่งจะได้ความรู้และทักษะที่เกิดขึ้นจากการสรรสร้างผลงานนั้นๆให้สำเร็จลุล่วงไปได้

ส่วนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานนั้น เริ่มต้นจากปัญหาที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในการแก้ปัญหานั้นๆ บ่อยครั้งที่ปัญหาเหล่านี้เกิดจากกรอบความคิดของกรณีศึกษา ปัญหาจะเป็นลักษณะเปิด (ill-structured) คือจะมีคำตอบได้หลากหลาย ซึ่งเลียนแบบปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ ขณะที่การเรียนรู้แบบโครงการณ์และการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานอาจสร้างความบิดเบือนได้ง่าย ดังนั้นการใช้แนวคิดในแบบจำลองของการสืบสวน ซึ่งผู้เรียนต้องกำหนดปัญหาขึ้นมาเสนอ แล้วพวกเขาจึงเริ่มการจัดการกับความรู้เดิมๆในเรื่องเดียวกัน เพิ่มคำถาม และกำหนดแหล่งข้อมูลที่พวกเขาต้องการ ผู้เรียนต้องวางแผนเพื่อการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทำการค้นคว้าที่จำเป็นและทำระเบียบแบบแผนร่วมกันเพื่อสรุปความรู้ใหม่ที่ได้รับ ผู้เรียนอาจเสนอข้อสรุปผลของการศึกษา ซึ่งอาจไม่ใช้ผลงานสุดท้ายเสมอไป อีกทั้งผู้เรียนอาจต้องใช้เวลาให้พอเพียงสำหรับการประเมินผลด้วยตนเองด้วย (Duch, Delisle, Hoffman and Ritchie, Stepian and Gallagher) ทุกแนวคิดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ขึ้นอยู่กับปัญหาและการใฝ่รู้ของพวกเขา และการเน้นที่การแก้ปัญหาในหลายระดับ บางแนวคิดสำหรับรูปแบบนี้ ตั้งใจให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาให้ชัดเจน ปรับปรุงและสร้างสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบที่อธิบายได้อย่างชัดเจนด้วย (Allen) บางกรณีในการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับปัญหาซึ่งอาจไม่พบคำตอบ แต่ก็เป็นเครื่องมือที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้การรวบรวมข้อมูลอย่างเดียวก็ได้ (Wang)

ในแง่การปฏิบัติ อาจแยกเส้นแบ่งออกไม่ชัดระหว่างการเรียนรู้แบบใช้ปัญหา หรือการใช้รูปแบบโครงการณ์เป็นพื้นฐาน ทั้งสองรูปแบบอาจรวมกันเป็นอีกลักษณะอาจถือที่เป็นหลักเกณฑ์สำคัญของการเรียนรู้ บ่อยครั้งที่ทั้งสองรูปแบบมีทิศทางเดียวกัน เน้นความเป็นจริงและเป็นแนวคิดลักษณะผสมในการเรียนรู้ ส่วนความแตกต่างอาจอยู่ตรงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น บางในกรณีที่ผลงานสุดท้ายถือเป็นหัวใจของการจัดการในรูปแบบของโครงการณ์ แต่ในแง่ที่ผลงานนั้นผลิตด้วยคอมพิวเตอร์ที่ต้องการการวางแผนและแรงงาน จำเป็นต้องให้ความสำคัญของการกำหนดลักษณะของรูปร่างหรือกระบวนการผลิตด้วย หรือในกรณีที่ผลงานสุดท้ายอาจเป็นเรื่องง่ายๆและต้องการข้อสรุป ซึ่งทางกลุ่มสามารถนำเสนอการค้นพบในรูปของรายงานก็พอเพียง ในลักษณะแรกถือเป็นการเรียนรู้แบบโครงการณ์โดยตรง ซึ่งผลงานสุดท้าย อธิบายถึงกระบวนการวางแผน การผลิต และการประเมิน ส่วนในกรณีหลัง การสืบสวนและการค้นคว้า (ไม่ใช่ผลงานสุดท้าย) เป็นตัวเน้นหลักในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเป็นนรูปแบบโดยตรงของการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน

บนความต่างอีกระดับ คือ กรณีที่เป็นปัญหาสำคัญของโครงการณ์ที่เกิดแง่ที่ทำให้ขยายปัญหาที่ผู้เรียนต้องเพิ่มทักษะการแก้ปัญหาเหล่านั้นมากขึ้นตามมา ในกรณีนี้เป็นโครงการณ์ที่เริ่มต้นด้วยปัญหาที่ชัดเจน และต้องการข้อสรุปหรือคำตอบที่ต้องชัดเจนตามไปด้วย แต่ขัดกันที่หลักสูตรเน้นที่ปัญหาต้องมีความหลากหลายและควรซับซ้อน ในกรณีนี้ ลักษณะแรกเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงการณ์ชัดเจน แต่ลักษณะหลังเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน

บทความนี้เขียนสำหรับ the Challenge 2000 Multimedia Project โดย Camille Esch of SRI, สงวนสิทธ์เมื่อปี 1998 โดย San Mateo County Office of Education

หนังสืออ้างอิง
References:

Allen, D. (1998?) Bringing Problem-Based Learning to the Introductory Biology Classroom. In A. McNeal & C. D’Avanzo (Eds.), Student Active Science. (Ch. 15). Available:
http://www.saunderscollege.com/lifesci/studact/chapters/ch15.html
Autodesk website: http://www.autodesk.com/foundation/
Bellnet website: http://bellnet.tamu.edu/pbl/pbl.htm
Barrows, H. (1985) Designing a Problem Based Curriculum for the Pre-Clinical Years. New York: Springer Publishing Company.
Blumenfeld, P.C., Soloway, E., Marx, R. W., Krajcik, J. S., Guzdial, M., &Palincsar, A. (1991) Motivating project-based learning: Sustaining the doing, supporting the learning. Educational Psychologist, 26, 369-398.
Center for Problem Based Learning at the Illinois Mathematics and Science Academy website: http://www.imsa.edu/
Delisle, R. (1997) How to Use Problem-Based Learning in the Classroom. Association for Supervision and Curriculum Development. Alexandria, VA.
Duch, B. (Ed.) (1995, January) What is Problem-Based Learning? In ABOUT TEACHING: A Newsletter of the Center for Teaching Effectiveness, 47. Available:
http://www.udel.edu/pbl/cte/jan95-what.html)
Hoffman, B., & Ritchie, D. (1997, March) Using Multimedia to Overcome the Problems with Problem Based Learning. Instructional Science, 25(2), 97-115.
Ryan, Christopher, Koschmann, & Timothy. (1994) The Collaborative Learning Laboratory: A Technology-Enriched Environment to Support Problem-Based Learning.
Stepien, W.J., and Gallagher, S.A. (1993) Problem-based Learning: As Authentic as it Gets." Educational Leadership, 50(7), 25-8.
Wang, H. (1998, August 8) Research Associate, CCMB-USC. On AERA listserve on-line discussion.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน
problem-based learning ..PBL. (จาก..PBL Archives)

คำนิยาม

หลักเหตุผลอย่างง่ายๆของ PBL. คือ เน้นและสนับสนุนให้นักเรียนรับผิดชอบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยการเสนอปัญหาและความต้องการในการแก้ปัญหานั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนกับข้อมูลปรกติที่เคยกล่าวไว้ในหลักสูตรแบบเดิมๆ ข้อแตกต่างคือ ระบบของ PBL เริ่มด้วย ปัญหา ที่มีพื้นฐานมาจากข้อมูลจริง หรือที่จำลองมาจากเหตุการณ์จริงก็ได้ และต้องการให้นักเรียนแต่ละคนหรือเป็นกลุ่ม ค้นหาคำตอบนั้น แหล่งข้อมูลและฝึกทักษะกันด้วยตนเอง ซึ่งพัฒนาได้จากความต้องการโดยตรง และการกำหนดในรายละเอียดของปัญหานั้นๆ

คุณลักษณะก็คือ ปัญหาจริงๆนั้น จะไม่ให้คำตอบที่ง่าย แต่ต้องในแง่การเปรียบเทียบและการวิเคราะห์ของแหล่งที่มาด้วย โดยอาศัยกลยุทธ์และงบประมาณ ผู้เรียนจำเป็นต้องปรับปรุงทักษะและการหาคำตอบที่ได้มาจากการเลือก การแยกแยะความแตกต่าง และการนำไปใช้ในลักษณะวิธีการแบบองค์รวม

ระบบ PBL มีรูปแบบการเรียนรู้เป็นที่ยอมรับกัน โดยถือหลักการขับเคลื่อนจากเจ้าของและผู้บริโภค เช่นในวิชาวิศวกรรม สถาปัตยกรรม แพทย์ศาสตร์ และวิชาศิลปะและการออกแบบ เพราะมันเป็นเหมือนกระจกสะท้อนปัญหาจริงที่ผู้ปฏิบัติเผชิญกันในทางอาชีพ อย่างไรก็ตาม PBL ไม่จำกัดเพียงในแง่วิชาชีพเท่านั้น เพราะพื้นฐานการเรียนรู้เริ่มที่ผู้เรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา ดังนั้น เขาจึงสามารถปรับปรุงทักษะที่จำเป็น เพื่อการแก้ปัญหานั้นๆ ด้วยการใช้กฎเกณฑ์และอาจยอมรับเอาหลักการอื่นๆเข้ามาประกอบกัน ด้วย

คุณลักษณะของวิธีการเรียนรู้แบบ PBL เพื่อใช้ทดแทนแบบจำลองการสอนเดิม คือ ผู้สอนต้องนำเอาข้อมูลและความพยายามของผู้เรียนที่จะใช้ข้อมูลนั้นๆ มาถือเอาเป็นงานทางวิชาการ หรือการตั้งคำถามต่างๆ ซึ่งนักเรียนจะถูกยกระดับให้เป็นนักวิเคราะห์และนักแก้ปัญหา ในกรอบของระยะเวลาและข้อกำหนดเมื่อสิ้นสุดการเรียน

จากการสำรวจการเรียนรู้ของนักเรียนพบว่า เหนือสิ่งอื่นใด ถ้านักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อเขารู้จักการประเมินจากของจริงที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาอย่างชัดเจน ในสภาวะเมื่อลดความกลัวความล้มเหลว และเมื่อมีการทบทวนสิ่งที่ได้กระทำมาแล้วเป็นครั้งคราว ซึ่งวิธีการ PBL ถือหลักเกณฑ์เหล่านี้เป็นสำคัญ

คุณลักษณะของ PBL ที่กำหนดโดย Jill Armstrong จาก the LTSN Generic Centre มีดังต่อไปนี้ คือ
  • ใช้สิ่งกระตุ้นเพื่อช่วยให้นักเรียนพูดคุยถกเถียงปัญหาที่สำคัญ ตั้งคำถามหรือกำหนดเรื่องที่ศึกษาให้ได้
  • เสนอปัญหาที่เป็นภาพจำลองในการปฏิบัติในทางอาชีพจริง หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
  • ให้แนวทางที่เหมาะสมแก่นักเรียนในเรื่องวิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผล (เช่น rational หรือ critical thinking) จำกัดแหล่งข้อมูล เพื่อช่วยผู้เรียนรู้การกำหนดขอบเขต ในความพยายามแก้ปัญหาที่ตั้งไว้ให้ได้ด้วย
  • ให้นักเรียนมีการร่วมมือทำงานในแบบกลุ่ม สำรวจข้อมูลทั้งในและนอกชั้นเรียน ให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญได้ (ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาโดยตรง) หรือผู้ซึ่งเคยมีประสบการณ์กับปัญหานั้น และสามารถช่วยเหลือกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มได้
  • ให้นักเรียนกำหนดความต้องการเรียนรู้ และการเลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม
  • ประยุกต์ความรู้ใหม่ให้เข้ากันกับปัญหาและสามารถประเมินผลกระบวนการแก้ปัญหาของพวกเขาด้วย

(Boud F and Feletti G E (eds) (1997) The challenge of problem-based learning London: Kogan Page, p4)

ในความเห็นของผู้เขียน หลักสูตรแบบ PBL ที่แย้งกับแบบอื่น คือการมองว่า ปัญหาที่ทำให้ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรนั้น เกิดจากข้อตกลงร่วมกันที่จะพยายามแก้ปัญหาจากหลักสูตรเดิม ให้มีแนวโน้มเพิ่มเติมในการส่งถ่ายข้อมูล และขยายต่อๆไปในการแก้ปัญหาโดยใช้ข้อมูล ดังแผนภูมิแสดงได้ดังนี้ คือ

หลักสูตรแบบ PBL ...ผู้สอนเสนอปัญหาให้ >> นักเรียนค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น
หลักสูตรแบบเดิม ......ผู้สอนเสนอข้อมูลให้ >> นักเรียนนำข้อมูลไปใช้กำหนดปัญหาเอง
บริบทของ PBL
คำจำกัดความ

Problem Based learning (PBL) หรือการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน คือ แนวทางรวมสำหรับการศึกษา กำหนดโดย Dr. Howard Barrows และ Ann Kelson แห่ง Southern Illinois University School of Medicine, PBL ใช้เป็นทั้งเนื้อหาของหลักสูตรและกระบวนการ หลักสูตรนั้นประกอบด้วยการเลือกและนำเสนอปัญหาการออกแบบอย่างพิถีพิถัน ซึ่งต้องการความรู้ของผู้เรียนในเรื่อง ความรู้ของการพิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างคล่องแคล่ว การสร้างกลยุทธ์ที่ให้แนวทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง และฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม สำหรับกระบวนการนั้น ถือแทนประโยชน์ทั่วๆไปของการใช้ระบบในการแก้ปัญหาอย่างตั้งใจ เสมือนการเผชิญความท้าทายในชีวิตหรือในอาชีพจริงๆ

บทบาทที่เปลี่ยนแปลง

ในการเรียนรู้แบบ PBL นั้น บทบาทของครูและนักเรียนแบบเดิมๆต้องเปลี่ยนแปลง คาดหวังให้นักเรียนต้องเพิ่มความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของพวกเขามากขึ้น และครูต้องให้สิ่งเร้าแก่พวกเขา และเพิ่มความรู้สึกเชื่อมั่นต่อความสำเร็จให้สูงขึ้น ให้แบบแผนการเป็นผู้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต คณะวิชากลายสภาพเป็นแหล่งประกอบกันของ ความรู้ ผู้ฝึกฝน ผู้ประเมินผล เป็นเครื่องมือชี้แนวทางให้นักเรียนมีความพยายามในการแก้ปัญหา รวมกันเป็นแหล่งของการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

ประวัติศาสตร์

การเรียนรู้แบบ PBL เริ่มต้นที่โรงเรียนแพทย์ McMaster University Medical School ก่อน 25 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นมีการนำไปใช้แพร่หลายทั้งในระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิตศึกษาทั่วโลก รวมทั้งในระดับโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา เดี่ยวนี้แนวทางเรียนรู้แบบ PBL กำลังใช้กับพวกวิทยาลัยชุมชนอย่างได้ผล

ผลลัพธ์

นักเรียนที่เกี่ยวข้องกับระบบการเรียนรู้แบบนี้ ได้ความรู้และกลายเป็นนักแก้ปัญหาที่คล่องแคล่ว เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และทำงานเป็นกลุ่มได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่าแบบ PBL เตรียมนักเรียนในการศึกษาได้ดีเท่าเทียมแบบปรกติเดิมๆ นักเรียนแบบ PBL แข่งขันกับนักเรียนแบบปกติได้ทั้งในชั้นเรียนและการทดสอบแห่งชาติ และจะกลายเป็นนักปฏิบัติในทางอาชีพ ได้ดีกว่าผู้เรียนรู้แบบปกติ

หาอ่านบริบทของ PBL เพิ่มเติมได้จาก..
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (ต่อ)

หากเป็นการร้องขอ นักการศึกษาส่วนมากจะเห็นพ้องกันว่า เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของการศึกษา คือการพัฒนาให้นักเรียนเป็นนักแก้ปัญหาที่ได้ผล สำหรับยุคข่าวสารข้อมูลขณะนี้ ในรายงานส่วนมาก เช่น SCANS (Survey of Necessary and Comprehensive Skills) และเอกสารเป้าหมาย 2000 สนับสนุนการสอนด้วยวิธีการนี้ โรงเรียนส่วนมากวางเป้าหมายพาดพิงถึงความจำเป็นสำหรับทักษะการคิดใช้เหตุผล (critical thinking)และการแก้ปัญหา (problem solving skills) สถาบัน Recent California Frameworks in Mathematics and Science สะท้อนความเห็นด้วยในเป้าหมายการศึกษาแบบนี้ แต่บ่อยครั้งการสอนการแก้ปัญหา โดยเสนอแบบจำลองการสอนให้นักเรียนประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษา ยังค่อนข้างเป็นปัญหายุ่งเหยิงและขัดแย้งในโลกของความเป็นจริง

รายงานการค้นคว้าหนึ่งเปิดเผยว่า การคิดแบบใช้เหตุผลและทักษะการแก้ปัญหายังไม่ใช่ต้นแบบที่ใช้กันในห้องเรียน จำนวนรายงานการศึกษาพบว่า ในห้องเรียนทั่วไป 85% ของคำถามของครูเป็นแค่ระดับง่ายๆธรรมดา คำถามซึ่งจะล้วงเอาความคิดในเรื่องทักษะการสังเคราะห์และการประเมินผลค่อนข้างมีน้อยมาก รายงานของสื่อ ยังแสดงให้เห็นว่าครูตั้งคำถามที่ง่าย ไร้สาระ ดังในภาพยนต์ เช่น "Ferris Bueller's Day Off" และ "Dead Poet's Society" เป็นต้น

ในการเรียนรู้แบบ Problem Based Learning (PBL) นักเรียนถือเป็นระดับมืออาชีพ และเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้น-อย่างงงงวย มีข้อมูลไม่เพียงพอ แต่ต้องการหาคำตอบที่เป็นไปได้อย่างดีที่สุดในช่วงเวลาที่กำหนดให้ นี่เป็นลักษณะของวิศวกร แพทย์ และแม้แต่ครู ที่ต้องเป็นนักแก้ปัญหาทั้งนั้น แต่ชั้นเรียนส่วนมากกลับไม่เป็นดังนั้น พวกครูคงเป็นแค่ ”ผู้คงแก่เรียนบนเวที” คอยชี้แนะนักเรียนด้วยคำตอบสวยๆจากปัญหาที่ตกแต่งกันขึ้นมา

อะไรคือการเรียนรู้แบบ PBL ?

Problem Based Learning เป็นการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาที่เน้นระบบเพื่อความต้องการปรับปรุงทักษะการแก้ปัญหา เท่าๆกับช่วยนักเรียนให้ได้รับความรู้และเสริมทักษะที่จำเป็น จริงๆแล้ว การนำเสนอการเรียนรู้แบบ PBL เกิดขึ้นในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งทดสอบความรู้อย่างเคร่งครัดเป็นพื้นฐานของการศึกษา ระบบ PBL ใช้กับปัญหาที่เป็นจริงของโลก ไม่ใช่แค่สมมติฐานเพื่อการศึกษาซึ่งง่ายและต้องการคำตอบแบบทั่วไป แต่การเรียนรู้แบบ PBL เป็นกระบวนการดิ้นรนด้วยปัญหาธรรมดา ซึ่งนักเรียนต้องเรียนรู้ทั้งสาระและทักษะการคิดแบบใช้เหตุผล
ระบบ PBL มีลักษณะแตกต่างมากมายซึ่งอาจชี้บอกและใช้ประโยชน์ในการออกแบบหลักสูตรได้ ดังต่อไปนี้คือ

  1. เชื่อมั่นบนปัญหาในการขับเคลื่อนหลักสูตร – ปัญหาไม่ได้ทดสอบทักษะ แต่ช่วยในการปรับปรุงทักษะการแก้ปัญหา
  2. ปัญหาเป็นลักษณะไม่มีโครงสร้างชัดเจน (ill-structured) – ไม่มีทางได้คำตอบเดียว และด้วยข้อมูลใหม่ที่รวบรวมในกระบวนการแบบย้อนไปย้อนมา การรับรู้ปัญหาและคำตอบที่ได้ ก็จะถูกเปลี่ยนแปรตามไปด้วย
  3. นักเรียนเป็นผู้แก้ปัญหา – ครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้แนะนำหรือชี้แนวทางเท่านั้น
  4. นักเรียนได้รับเพียงแนวทางที่เข้าถึงปัญหาเท่านั้น – ไม่มีสูตรสำเร็จเดียวสำหรับนักเรียนในการเข้าถึงปัญหา
  5. การประเมินผลจากผลการทำงานและความเชื่อมั่นนั้นมีได้อย่างแน่นอน – ไม่มีเส้นแบ่งการสิ้นสุดในการสอน

(ปรับปรุงจาก.. Stepien, W.J. and Gallagher, S.A. 1993. "Problem-based Learning: As Authentic as it Gets." Educational Leadership. 50(7) 25-8 and Barrows, H. (1985) Designing a Problem Based Curriculum for the Pre-Clinical Years.


การเรียนรู้แบบ PBL ช่วยนักเรียนในการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการต่อเนื่องกับการเผชิญปัญหาที่เปิดกว้างสำหรับคำตอบที่อาจมีหลายคำตอบ ซึ่งเป็นปัญหาที่ตรงกันกับวัยรุ่นและนักปฏิบัติในสายอาชีพจริงๆ ขณะที่มีการรับรู้ข้อมูลมากมาย ระบบ PBL ปรับปรุงให้นักเรียนสามารถดำเนินการดังนี้

  • กำหนดปัญหาได้ชัดเจน
  • ปรับปรุงทางเลือกของสมมติฐาน
  • เข้าถึง ประเมิน และใช้ประโยชน์ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
    เปลี่ยนสมมติฐานเพื่อการรับข้อมูลใหม่ๆ
  • ปรับปรุงการเสนอคำตอบที่แจ่มชัด ซึ่งเหมาะสมกับปัญหาและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกัน บนพื้นฐานข้อมูลและการใช้เหตุผลอย่างโปร่งใส
ถ้านักเรียนที่มีทักษะอย่างนี้ติดตัวไว้ ก็จะเป็นการเตรียมตัวที่ดีกับการมีอาชีพต่อไปภายหน้า เพราะปัจจุบันเป็นการยากที่จะหาผู้ฝึกสอนที่มีเวลา มีแนวโน้ม หรือความรู้ที่จะบอกคนงานว่าควรทำอะไรบ้าง พวกเขาจึงถือว่าได้รับการเตรียมไว้สำหรับกระจายความรู้ซึ่งมีมากมายในโลกทุกวันนี้

ขั้นตอนในการเรียนรู้แบบ PBL


ในหลักสูตรแบบ PBL สามารถแยกเป็นสามขั้นตอนในการจัดการโดยนักเรียน ไม่ว่าการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ตต่างๆ ผ่านสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือโดยการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนเหล่านี้ที่อธิบายไว้ข้างล่างเป็นลักษณะของ PBL. แต่ละขั้นตอนในกระบวนการเป็น “การเชื่อมโยงกันที่จำเป็น” กับบทเรียนตัวอย่างที่ปรับปรุงโดย a SCORE Teacher on Assignment.

ขั้นตอน 1: การเผชิญและการกำหนดปัญหา

นักเรียนต้องเผชิญกับภาพจำลองของโลกที่เป็นจริง ผ่านการเอาใจใส่อย่างมีความรับผิดชอบ นักเรียนอาจถูกร้องขอให้เสนอทบทวนเรื่องราวของสถาปัตยกรรมในยุคโบราณแก่คณะกรรมการ โดยอาศัยมุมมองในภาพรวมว่าอนุเสาวรีย์โบราณเหล่านั้นถูกสร้างมาด้วยวิธีใด พวกเขาอาจต้องย้อนคำถามในใจตนเองดังนี้
  • อะไรบ้างที่ฉันรู้แล้วเกี่ยวกับปัญหาหรือคำถามนี้ ?
  • อะไรที่ฉันต้องรู้อีกเพื่อนำเสนอปัญหาหรือตั้งคำถามอย่างได้ผล ?
  • มีแหล่งข้อมูลอะไรบ้างที่ฉันสามารถเข้าถึงการตัดสินใจ เพื่อเสนอคำตอบหรือสมมติฐานได้ ?
ตรงประเด็นนี้ การเน้นที่การกำหนดปัญหาเป็นเรื่องจำเป็น ผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ก็จะพบข้อมูลใหม่ที่ต้องเข้าถึงและเข้าใจต่อไป

ขั้นตอนที่ 2: การเข้าถึง การประเมิน และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล


เมื่อพวกเขากำหนดปัญหาได้กระจ่างแล้ว ก็จะเข้าสู่การค้นหาข้อมูลต่างๆ เช่น จากสิ่งพิมพ์ จากคนที่พอรู้ จากแหล่งทางอีเล็กโทรนิค เป็นต้น ในกรณีของโรงเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัย the Southern Illinois อาจารย์อาจถูกสัมภาษณ์ หรือเอกสารทางการแพทย์ถูกตรวจสอบ ในกรณีการออกแบบเมือง แหล่งข้อมูลประชากร เช่น จากนายกเทศมนตรีเมือง หรือวิศวกรโยธาประจำเมือง อาจถูกนำมาใช้ แหล่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นจุดรวมของการค้นคว้า เมื่อปัญหาถูกกำหนดอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น ในกรณีตัวอย่าง เช่น นักเรียนอาจได้ภาพรวมและแหล่งเตรียมการสำหรับขั้นตอนที่สาม บางส่วนของปัญหาถูกประเมินจากแหล่งดังกล่าว เช่น สถานะปัจจุบันเป็นอย่างไร? น่าเชื่อถือหรือถูกต้องหรือไม่? มีเหตุผลอื่นไหม ? ที่จะสงสัย หรืออคติกับแหล่งข้อมูลนี้ เมื่อจะนำข้อมูลไปใช้ นักเรียนต้องตรวจสอบด้วยความระมัดระวังในคุณค่าและแหล่งที่เข้าถึงได้ ถ้าเอาการประเมินผลที่ตั้งเป็นทฤษฎีในการเสนอความคิดว่าอนุเสาวรีย์เหล่านี้สร้างกันอย่างไรแล้วละก้อ นักเรียนต้องระมัดระวังในการบันทึกและการทำการประเมินผลอย่างถูกต้อง และน่าเชื่อถือตรงกันตามลักษณะข้อมูลของที่ตั้งที่เสนอมาด้วย

ขั้นตอนที่ 3: การสังเคราะห์และการดำเนินงาน

ในขั้นตอนนี้ นักเรียนเสนอคำตอบสำหรับปัญหาที่ตั้งไว้ อาจใช้ผลผลิตจากสื่อในการนำเสนอ ( เช่นนำเสนอต่อ the U.N. Commission on Human Rights or the Ancient World Architectural Review Board) หรือไม่ก็เป็นการเสนอโดยการเขียนรายงานแบบทั่วไป เน้นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคำถาม ในแทบทุกกรณี นักเรียนต้องจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบหรือวิธีการใหม่ สิ่งนี้ไม่เหมือนโจทย์ที่ถามพวกเขาถึง “การเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอล” สำหรับตัวอย่างหลังนี้ จะนำไปสู่การใช้อินเตอร์เน็ต ราวกับทำเป็นสารานุกรมขนาดใหญ่เลยทีเดียว สำหรับโจทย์ที่ถามนักเรียนให้เสนอคำตอบเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประชนชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอล จะเกี่ยวข้องกับคำถามซึ่งบังคับให้มีการจัดแจงข้อมูลและการมองภาพรวมของข้อมูลเสียใหม่

ปัญหาในการประยุกต์ใช้

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ต้องนำมาประยุกต์ในระบบการเรียนรู้แบบ PBL. นักเรียนโดนฝึกฝนมาจากแบบจำลองการสอนแบบเดิมๆ ซึ่งมองครูเป็น “ผู้คงแก่เรียนบนเวที” และเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ ก็จะมีการสะดุ้งสะเทือนในแง่วัฒนธรรมเช่นนี้ อีกทั้งนักเรียนมักปรารถนาและมีวัฒนธรรมความคาดหวังในคะแนนที่ได้รับสูงๆ แม้การสร้างกลยุทธ์ให้ครูได้บรรเทาความกลัว หรือขจัดความสงสัยในแนวทางใหม่นี้ลงได้บ้าง อีกทั้งนักเรียนต้องเรียนรู้แบบเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เหมือนเช่นในชีวิตจริง คนๆเดียวไม่สามารถทำงานค้นคว้าเองได้ หรือนำเสนอปัญหาและคำตอบเองได้ตามลำพัง เสียงบ่นสำหรับ “ผู้ขอร่วมเดินทาง” (ซึ่งคนในกลุ่มไม่ได้ยินดีนัก) จะได้ยินเสมอจากนักเรียนที่ขยันและพ่อแม่ของพวกเขาเหล่านั้น

ครูต้องยอมรับประสบการณ์ในการปรับตัวเอง งานหลักที่ต้องกระทำ คือการออกแบบหรือตั้งปัญหาเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และต้องแน่ใจว่ามีวัสดุหรือแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการเรียนรู้ได้อย่างพอเพียง (ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ การสื่อสารออนไลน์ และการผ่านผู้เชี่ยวชาญ) เป็นแหล่งที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก เพราะพวกเขาต้องเรียนรู้การสร้างปัญหา และช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้ทักษะและความรู้ที่เหมาะสมด้วย และพวกครูต้องเรียนรู้การช่วยเหลือ มากกว่าการชี้นำในการเรียนของนักเรียน

รางวัล

การเปลี่ยนการเรียนรู้จากที่ครูเป็นศูนย์กลาง กลายเป็นการเรียนรู้จากปัญหา และเป็นโครงการณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของบรรยากาศที่ไม่สุขสบายนัก ผู้ที่กำหนดจุดเปลี่ยนนี้จะอ้างถึงพลังและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างใหม่สำหรับชั้นเรียนของพวกเขา นักเรียนยกย่องงานที่ท้าทายและเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ดูได้จากแหล่ง PBL ออนไลน์ ดังต่อไปนี้

  • The University of Delaware มีหลายบทความที่เกี่ยวกับ PBL รวมทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์การสอน และแผนการสอนต่าง เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับครู
  • http://www.udel.edu/pbl/
  • Howard Barrows, Southern Illinois School of Medicine (เน้นการแพทย์เชิงวิเคราะห์แบบ PBL.) http://www.pbli.org/
  • Illinois Math and Science Academy (รวมแบบจำลอง K-12 applications บนหลักการที่หลากหลาย) http://www.imsa.edu/

หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับ PBL, ท่านสามารถติดต่อผ่านอีเมลล์ไปที่ Bob Benoit of the Butte County Office of Education at bbenoit@bcoe.butte.k12.ca.us. Bob เป็นผู้นำโครงการ PBL ครอบคลุมโรงเรียนระดับมัธยมหกแห่งและครูร่วมจำนวน ๓๐ คนตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ล่วงมาแล้ว


เอกสารอ้างอิงที่คัดสรรแล้ว


หนังสืออ้างอิง


  • Barrows, H. (1994) Practice-Based Learning: Problem-Based Learning Applied to Medical Education. Springfield, Il: Southern Illinois University School of Medicine
  • Barrows, H. (1985) Designing a Problem Based Curriculum for the Pre-Clinical years. New York: Springer Publishing Company.
  • Boud, D., Felleti, G. (1991) The Challenge of Problem-Based Learning. London: Kogan.
  • Woods, Donald R. (1994). Problem-Based Learning: How to Gain the Most from PBL. Hamilton, Ontario, Canada. Donald R. Woods, Publisher.

บทความอ้างอิง

  • Barrows, Howard. See Southern Illinois University School of Medicine Homepage for an extensive list of articles published in medical journals.
  • Gallagher, S., Rosenthal, H., and Stepien, W. (1992) "The Effects of Problem-Based Learning on Problem Solving. Gifted Child Quarterly, 36(4), 195-200.
  • Knoll, Jean W. (1993). "An Introduction to Reiterative PBL." Issues and Inquiry in College Learning and Teaching. Spr/Smr. 19-36
  • Stepien, W. and Gallagher, S., and Workman, D. (1993) "Problem-Based Learning for Traditional and Interdisciplinary Classrooms." Journal for the Education of the Gifted, 16(d4), 338-357.
  • Stepien, W. and Gallagher, S.A. (1993). "Problem-based Learning: As Authentic as it Gets." Educational Leadership. 50(7), 25-8

แหล่งข้อมูลของ the SCORE pages ได้รับการประเมินแล้วจากกลุ่มผู้นำทางประวัติศาสตร์-สังคม ในมลรัฐ California


แหล่งข้อมูลจาก..the SCORE Internet Classrooms Page


ข้อเสียเปรียบของ PBL


ความสำเร็จในการศึกษา

  • นักวิชาการบางท่าน สงสัยความสามารถของนักเรียนแบบ PBL ในเรื่องทักษะการใช้เหตุผลและการทำงานเป็นกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องนี้ เป็นการมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบ PBL ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาเฉพาะ แต่คะแนนผลสัมฤทธิ์ในการศึกษามักมีผลตอบสนองโดยตรงสูงสำหรับการเรียนรู้แบบเดิม เมื่อมีการนำแบบการทดสอบมาตรฐานมาใช้ แต่จะไม่สนองตอบเลยกับวิธีการต่างๆหรือการทดสอบที่ไม่เป็นแบบฟอร์มตามมาตรฐานเดิม (Vernon & Blake, 1993). ซึ่งการวัดแบบใหม่นี้รวมไปถึงการวัดความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถของทักษะเฉพาะตน ความสัมพันธ์ของกลุ่ม ความสามารถในการใช้เหตุผล ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในทางกลับกัน การสอนแบบเดิมจะมีผลดีกว่า ในแง่การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหาทั่วไป (Albanese & Mitchell, 1993, Vernon, 1995) ในการประเมินผลความรู้ทั่วไป แม้ว่าระบบ PBL จะมีส่วนลดระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่า แต่มันจะดีขึ้นในระยะยาวหากคงระบบนี้เอาไว้ได้ (Farnsworth, 1994)

ความต้องการเรื่องเวลา
  • แม้ว่านักเรียนส่วนมากชอบการเรียนรู้แบบ PBL และมีความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงเพิ่มมากกว่าการเรียนรู้แบบเดิม แต่ครูๆก็ไม่ค่อยแซ่ซ้องและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่แนวทางนี้เท่าไรนัก ประโยชน์ที่ยังไม่เห็นได้ชัดของการเรียนรู้แบบ PBL หรืออาจเป็นข้ออ่อนด้อย เป็นเพราะการต้องการเวลาให้กับทางคณะวิชาในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย (Delafuente, Munyer, Angaran, & Doering, 1994; Vernon, 1995), ให้เวลาการเตรียมวัสดุการสอนและเนื้อหาของวิชา และการยอมให้ลดเนื้อหาวิชาที่ไม่จำเป็นออกไปด้วย

บทบาทของนักเรียน
  • ปัญหาที่คาดไม่ถึงของการเรียนรู้แบบ PBL คือการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติของนักเรียนแบบเดิมๆ ซึ่งนักเรียนส่วนมากยังมีทัศนะคติที่หวังว่าครูของพวกเขาเป็นผู้ให้ความรู้ แนวทางของเนื้อหาวิชาซึ่งยังขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของผู้สอนเป็นสำคัญ และมีความทรงจำแบบเดิมๆที่จำกัดเป็นความต้องการของนักเรียนด้วย นักเรียนส่วนมากสูญเสียความสามารถเพราะ “ความสงสัยในบางสิ่งเอาง่ายๆ” (Reithlingshoefer, 1992) ปัญหานี้ปรากฏสำหรับนักเรียนปีแรกๆ ซึ่งแสดงบทได้ยากในการเป็นผู้กำหนดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Schmidt, Henny, & de Vries, 1992)

บทบาทของครู
  • ครูในหลักสูตรแบบ PBL ต้องการ การเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนจากแบบเดิมๆในการบรรยาย การปรึกษาสนทนา และต้องขอร้องนักเรียนให้จดจำเรื่องราวสำหรับการทดสอบ กล่าวคือ ในระบบการเรียนรู้แบบ PBL ครูต้องเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าการเป็นผู้แพร่การให้ข้อมูล เช่น ครูควรมุ่งเน้นที่ความเอาใจใส่กับการตั้งคำถามของนักเรียน สนใจในเรื่องตรรกะและความเชื่อของพวกเขา แนะนำเหตุผลและชี้ข้อบกพร่อง บอกแหล่งการค้นคว้าให้กับนักเรียน และการควบคุมให้นักเรียนทำงานสม่ำเสมอ บทบาทของครูเช่นนี้ มีความแตกต่างสำหรับครูบางคน ผู้ซึ่งยากจะเปลี่ยนบทบาทจากที่ตนเคยชินมาก่อนนี้

ปัญหาที่เหมาะสม
  • การได้มาของคำถามที่เหมาะๆนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับการเรียนรู้แบบ PBL ปราศจากเรื่องปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว นักเรียนจะไม่พบแนวทางการเข้าถึงการแก้ปัญหาได้เลย หรือมีโอกาสที่จะได้ศึกษาข้อมูลที่สำคัญๆ ในการศึกษาที่ต้องการสหสัมพันธ์ระหว่างแนวทางการศึกษากับวัตถุประสงค์ของคณะวิชา ซึ่งมักพบว่านักเรียนไม่อยู่ในร่องรอยเสมอไป และวัตถุประสงค์บางอย่างถูกละเลยไป (Dolmans, Gijselaers, & Schmidt, 1992) มีการตรวจพบว่าถ้านักเรียนเฉไฉออกนอกแนวการค้นหาคำตอบที่คาดไว้ และครูไม่ชี้นำให้กลับมาได้แล้วละก้อ พวกเขาจะไม่ได้รับสาระสำคัญของวิชาได้เลย (Mandin, 1995)

การประเมินผลนักเรียน
  • การเรียนรู้แบบ PBL แตกต่างจากการสอนแบบเดิมในหลายอย่าง ดังนั้นความสัมฤทธิ์ผลชองการเรียนอาจวัดผลได้ดีกว่า โดยการใช้วิธีการประเมินที่แตกต่างออกไป วิธีการเหล่านี้ หมายรวมถึงการเขียนตอบข้อสอบ การสอบทางปฏิบัติ การสร้างแบบแผนความคิด การประเมินผลทั้งของกลุ่มและแบบอิสระ การประเมินผลที่เป็นการช่วยเหลือของครูที่ปรึกษา การพูดเสนอผลงาน การเขียนรายงาน เป็นต้น สำหรับรายละเอียดอื่นในการประเมินผลลักษณะนี้ สามารถหาอ่านในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความนี้

เอกสารอ้างอิง

Albanese, M., & Mitchell, S. (1993). Problem-based learning: A review of the literature on its outcomes and implementation issues. Academic Medicine. 68(1), 52-81.Delafuente, J. C., Munyer, T. O., Angaran, D. M., & Doering, P. L. (1994). A problem solving active learning course in pharmacotherapy. American Journal of Pharmaceutical Education. 58(1), 61-64.Dolmans, D. H., Gijselaers, W. H. & Schmidt, H. G. (1992, April). Do students learn what their teachers intend they learn? Guiding processes in problem-based learning. Paper presented at the meeting of the American Educational Research Association, San Francisco, CA.Farnsworth, C. C. (1994). Using computer simulations in problem-based learning. In M. Orey (Ed.), Proceedings of the Thirty-fifth ADCIS Conference (pp. 137-140). Nashville, TN: Omni Press.Reithlingshoefer, S. J. (Ed.), (1992). The future of Nontraditional/Interdisciplinary Programs: Margin or mainstream? Selected Papers from the Tenth Annual Conference on Nontraditional and Interdisciplinary Programs, Virginia Beach, VA, 1-763.Mandin, H., Harasym, P., and Watanabe, M. (1995). Developing a "clinical presentation" curriculum at the University of Calgary. Academic Medicine, 70(3), 186-193.Schmidt, H. G., Henny, P. A., & de Vries, M. (1992). Comparing problem-based with conventional education: A review of the University of Limburg medical school experiment. Annals of Community-Oriented Education, 5, 193-198.Vernon, D.T. (1995). Attitudes and opinions of faculty tutors about problem-based learning. Academic Medicine, 70(3) 216-223.Vernon, D.T. & Blake, R.L. (1993). Does problem-based learning work? A meta-analysis of evaluative research. Academic Medicine, 68(7) 550-563.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (ต่อ)

เป็นความมุ่งหมายอีกแบบหนึ่งของการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและการแสวงหาความรู้ แนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ที่ใช้การสืบสวนสอบสวนหรือการวิจัยเป็นพื้นฐาน (inquiry-based) ด้วย คือในกรณีที่ผู้เรียนกำลังดำเนินการกำหนดหรือสร้างปัญหาในขณะนั้น ดูรายละเอียดในเว็บไซท์ดังต่อไปนี้.....

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานและแบบโครงการณ์
(Problem-Based Learning and Project-Based Learning)


จากการช่วยเหลือของ ICT (-Assisted Project-Based Learning and Problem-Based Learning) ได้เพิ่มมิติใหม่ของการเรียนคณิตศาสตร์ ในด้วยวิธีการแบบ “การคงไว้และส่งต่อ” (stand and deliver) และ “โดยตนเองอย่างอิสระ” (individual seat work)

ทั้งสองลักษณะในการเรียนรู้แบบโครงการณ์และการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียน มีลักษณะทั่วไปร่วมกัน แต่มีลักษณะที่ต่างกันสองลักษณะคือ ในการเรียนรู้แบบโครงการณ์ ผู้เรียนมีส่วนสำคัญในการควบคุมโครงการณ์ที่พวกเขาทำและจะทำในโครงการณ์นั้นๆ โครงการณ์อาจะหรือไม่กำหนดปัญหาชัดเจนโดยผู้สอน ผู้เรียนอาจกระทำโดยอิสระหรือเป็นกลุ่มในพัฒนาการแก้ปัญหาของโครงการณ์ในช่วงเวลาที่ตกลงกัน แนวสอนแบบนี้ใช้กันมากในการศึกษาสถาปัตยกรรม บริหารธุระกิจ แพทย์ ในบางสถานะการณ์ “กรณีตัวอย่าง” เป็นวิธีที่เน้นและได้ประโยชน์สำหรับการสอนและการเรียน

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ของปี 2001, ผู้เขียนได้จัดเตรียมการอบรมปฏิบัติการ (ICT-Assisted PBL workshop) ใช้เวลาวันครึ่งให้กับคณะวิชาในเมือง Montana มลรัฐ Wyoming มีเว็บไซท์ที่รายงานไว้ที่ ..http://darkwing.uoregon.edu/~moursund/PBL/

ในส่วนต่อไปของบทความนี้ เป็นการสรุปสั้นๆเรื่องการสนับสนุนการเรียนรู้แบบโครงการณ์ (ICT-Assisted Project-Based Learning) ทั่วๆไป ที่ไม่เป็นเพียงเฉพาะเพื่อการศึกษาคณิตศาสตร์เท่านั้น

การเรียนรู้แบบโครงการณ์
Project-Based Learning

คำจำกัดความ:

การเรียนรู้แบบโครงการณ์ คือ กิจกรรมอิสระหรือกลุ่มที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง สร้างผลงาน การนำเสนอ และการดำเนินงาน มีเงื่อนไขเวลา ระยะเวลา และการประเมินผลเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการให้โครงการณ์บรรลุได้

การเรียนรู้แบบโครงการณ์มีส่วนร่วมทั่วไปกับกระบวนการเขียน พื้นฐานของกระบวนการเขียน ที่สอนกันในสหรัฐอเมริกา เจริญรอยตามแบบการเขียนของ the Bay Area Writers Project circa 1975. กระบวนการเขียนประกอบด้วยเรื่องราวหกประการ คือ:
  1. การระดมความคิด--brainstorming
  2. การจัดการความคิดที่ระดมมา--organizing the brainstormed ideas
  3. ปรับปรุงร่างที่เขียน--developing a draft
  4. รับการสำรวจย้อนหลัง--obtaining feedback
  5. การแก้ไขซึ่งอาจย้อนไปในขั้นตอนแรกๆ--revising, which may involve going bask to earlier steps
  6. จัดพิมพ์--publishing

ต่อไปนี้เป็นมโนทัศน์ทั่วไปที่เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบโครงการณ์


เป็นลักษณะที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีเสียงสำคัญในการเลือกขอบเขตของเนื้อหาและธรรมชาติของโครงการณ์ที่พวกเขาจะดำเนินการ เน้นในเรื่องความเข้าใจของผู้เรียนสำหรับโครงการณ์นั้นเป็นสำคัญ เช่นความเข้าในเรื่อง อะไรที่จะทำ? ทำไมจึงจำเป็น? และจะให้บรรลุผลอย่างไร? เป็นต้น จริงๆแล้ว ผู้เรียนต้องร่วมสร้างเป้าหมายต่างๆ เพื่อไปถึงและให้บรรลุเป้าหมายนั้นด้วย ลักษณะที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้แบบโครงการณ์มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญ ในเรื่องสิ่งเร้าใจและความตื่นตัวของผู้เรียน การทำให้เกิดสิ่งเร้าและความกระตือรือร้นกับผู้เรียนในระดับสูงๆ เป็นการสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อความสัมฤทธิ์ผลในการเรียนรู้แบบโครงการณ์ นี้

ในแง่ของผู้เรียนสำหรับวิธีการเรียนรู้แบบนี้:
  • คือความเป็นศูนย์กลาง และการมีสิ่งเร้าหรือจูงใจของผู้เรียน
  • สนับสนุนในเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ให้ผู้เรียนสามารถผลิตผลงาน การนำ หรือสามารถดำเนินงานได้
  • ยินยอมให้มีการเพิ่มพูนและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องสำหรับ ผลงาน การนำเสนอ หรือการดำเนินการ
  • เป็นการออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนใน “การกระทำจริงๆ-- doing” มากกว่า “การเรียนเฉยๆ-- learning about” สำหรับบางสิ่งบางอย่าง
  • เป็นความท้าทาย ที่เน้นการมีทักษะระดับสูงเป็นสำคัญ
ในแง่ผู้สอนสำหรับวิธีการเรียนรู้แบบโครงการณ์:
  • มีเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่เป็นของจริง
  • ประโยชน์ที่ได้จากของจริงแท้ๆ
  • ผู้สอนในบทบาทผู้ช่วยเหลือ—โดยทำหน้าที่เป็น “ผู้ชี้ทาง-- guide on the side” มากกว่า “ผู้บงการ--sage on the stage”
  • มีเป้าหมายการศึกษาที่ชัดเจนตรวจสอบได้.
  • เป็นรากฐานในแบบโครงสร้างนิยม (ตามอย่างทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม)
  • เป็นการออกแบบเพื่อผู้สอนจะเป็นผู้ได้เรียนรู้ด้วย
  • ผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการวางเป้าหมายของโครงการณ์
  • ผู้สอนและผู้เรียนประเมินผลร่วมกัน
  • ผู้สอน ผู้เรียน และผู้อื่น อาจช่วยกันในการประเมินผล (ขั้นสุดท้าย)
  • ผู้สอนเป็น “ผู้ชี้ทาง” มากกว่า “ผู้บงการ”
  • การแก้เงื่อนปม เกิดจากความร่วมมือของผู้สอนและผู้เรียน จะช่วยได้ในเรื่อง การประเมินด้วยตนเอง ประเมินโดยกลุ่ม การประเมินโดยผู้สอน และการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญอื่นภายนอก

ในแง่นักค้นคว้า การเรียนรู้แบบนี้สนับสนุนงานในลักษณะที่เป็น:

  • โครงสร้างนิยม--Constructivism
  • ทฤษฎีแรงจูงใจ--Motivation Theory
  • เรียนรู้จากการสืบสวนและค้นพบเอง--Inquiry & Discovery-Based Learning
  • เรียนรู้ร่วมกัน--Cooperative Learning
  • แก้ปัญหาทั้งอิสระและร่วมกัน--Individual & Collaborative Problem Solving
  • เป็นการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานด้วย--Problem-Based Learning

การเรียนรู้โดยใช้การสืบสวนสอบสวน(หรือการวิจัย)เป็นพื้นฐาน
(Inquiry-based Learning)


เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก หรือแนวคิดอีกแบบที่เน้นการเรียนรู้โดยเกี่ยวข้องกับ การตั้งคำถามหรือกำหนดสมมติฐาน การคิดเชิงวิพากษ์ด้วยเหตุและผล (critical thinking) และการแก้ปัญหาเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นการประสานรวมกันในเชิงมโนทัศน์ที่ว่า “เกี่ยวข้องกับตัวฉันและฉันเข้าใจ” ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในในเว็บไซท์ดังต่อไปนี้...
  • What Do We Mean By Inquiry? ตรวสอบคำจำกัดความของการสืบสวน
  • Inquiry-based Learning. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของการสืบสวน หรือการเรียนรู้แบบสืบสวน (inquiry-based learning)
  • The Inquiry Page. เน้นที่แบบจำลองของการเรียนรู้แบบสืบสวน บนปรัชญาที่ว่าการเรียนรู้เริ่มด้วยคำถาม หรือการตั้งคำถาม การตรวจสอบค้นหา การสร้างสรรค์ การสนทนา และย้อนรอย เพื่อค้นหาให้ได้องค์ความรู้ของตนเอง
  • Inquiry-based Learning and Teaching. เป็นโครงการณ์ที่เน้นวิทยาศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ มีตัวอย่างโครงการศึกษาที่ดี เช่นการตรวจศึกษาอายุและพันธ์ต้นไม้-- tree ring and species
  • Exploratorium: Inquiry. ให้ข้อมูลทั่วไปของการเรียนรู้แบบสืบสวน ควรดูที่ตัวโครงการณ์--projects.
  • The Webquest Page. Bernie Dodge ปรับปรุงแนวคิดการสืบสวนเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ผสมผสานกับการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ร่วมกัน
  • Teach-nology Inquiry Links. ให้ข้อมูลเริ่มต้นเป็นการเพิ่มเติมความเข้าใจยิ่งขึ้น

อะไรคือรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้การสืบสวนเป็นพื้นฐาน?


มีภาษิตเดิมกล่าวว่า "ถ้าบอกฉันๆจะลืม แต่ถ้าแสดงให้ฉันเห็นฉันจะจำได้ และถ้าเอาตัวฉันเข้าไปเกี่ยวข้องฉันจะยิ่งเข้าใจ" คำกล่าวส่วนหลังของภาษิตนี้คือหลักการสำคัญของการเรียนรู้แบบใช้การสืบสวนเป็นพื้นฐาน คือการสืบสวนจะมีส่วนร่วมในการนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ (Joe Exline) นอกเหนือจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มทักษะและทัศนะคติ ที่ทำให้เรายอมรับกับคำถามและเรื่องราวในการสร้างความรู้ใหม่ๆด้วย

"Inquiring-การสืบสวนหรือไต่ถาม" หมายถึง "การสืบค้นหาความจริง ข้อมูล หรือความรู้อย่างหนึ่ง --การสืบค้นหาข้อมูลจากการตั้งคำถาม" แต่ละคนใช้กระบวนการสืบสวนไต่ถามกันมาตลอดในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย แม้ว่าจะไม่ตระหนักในกระบวนนี้ก็ตาม ทารกรู้จักโลกด้วยการสร้างความรู้สึกจากการสืบสวนหรือไต่ถาม ตั้งแต่เกิดก็เริ่มสังเกตใบหน้าคนที่อยู่ใกล้ ไขว่คว้าสิ่งของนำเอาใส่ปาก และส่งเสียงร้อง กระบวนการสืบสวนเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนองตอบเป็นความรู้สึกสำหรับมนุษย์ –การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส ลิ้มรส และยิ้มแย้ม

บริบทของการสืบสวน

โชคร้ายที่ระบบการศึกษาปกติไม่ใส่ใจวิธีการส่งเสริมกระบวนการสืบสวนที่เป็นธรรมชาตินี้ ผู้เรียนลดทอนการตั้งคำถามลงทุกครั้งที่เลื่อนขั้นการเรียนรู้ ในโรงเรียนทั่วไป ผู้เรียนเอาแต่ฟังและจดจำคำตอบที่หวังไว้มากกว่าการตั้งคำถามที่ควรมีมากมาย

สิ่งบั่นทอนกระบวนการสืบสวนบางอย่าง มาจากการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความลึกซึ้งในธรรมชาติของของการเรียนรู้ที่ใช้การสืบสวนเป็นพื้นฐาน ซ้ำร้ายมีแนวโน้มที่เป็นการเรียนรู้ที่ “เลื่อนลอย” ไร้ทิศทาง ทั้งๆที่ผลดีของการสืบสวนมีมากกว่าแค่การตั้งคำถามเท่านั้น กระบวนการนี้ยังซับซ้อนไปถึงการปรับข้อมูลให้เป็นประโยชน์กับความรู้อีกด้วย ประโยชน์ของการนำการเรียนรู้แบบสืบสวนไปใช้ประโยชน์ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นอีกมากมาย เช่น บริบท(สิ่งเกี่ยวข้องทั้งหมด)ของคำถาม กรอบสำหรับคำถาม หรือประเด็นเฉพาะเจาะจงของคำถาม และความแตกต่างของระดับคำถาม เป็นต้น การออกแบบการเรียนรู้แบบสืบสวนที่ดี ต้องผลิตรูปแบบความรู้ที่นำไปใช้ให้ได้อย่างกว้างขวาง ในทางปฏิบัติ

ความสำคัญของการสืบสวน

การจดจำข้อเท็จริงหรือข้อมูลไม่ใช่ทักษะที่สำคัญที่สุดในสถานะการณ์ของโลกในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป และข้อมูลใหม่เกิดขึ้นมากมาย –ความต้องการที่จำเป็นคือ ความเข้าใจในเรื่องการคัดสรรข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างไรจากแหล่งรวมที่มีอยู่อย่างมากมายมหาศาล

นักการศึกษาต้องตระหนักว่า โรงเรียนต้องก้าวล่วงเลยไปจากการสะสมข้อมูล และเคลื่อนไปสู่การสร้างความรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง. . .ด้วยกระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบสืบสวน ในอดีตความเจริญของประเทศชาติ ขึ้นอยู่กับแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มี แต่ปัจจุบันนี้ ต้องอาศัยแรงงานที่เป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพและ “ความเฉลียวฉลาด” ที่มากกว่า
ด้วยกระบวนการสืบสวน แต่ละคนจะสร้างความเข้าใจที่หลากหลายสำหรับมนุษย์และโลกปัจจุบันได้ การสืบสวนหมายรวมถึง “ความจำเป็น และความต้องการที่จะรู้” เป็นพื้นฐาน การสืบสวนไม่มุ่งแค่เพื่อการค้นหาคำตอบที่ถูกต้องเท่านั้น –เพราะมันไม่มีให้หา –แต่ต้องสืบค้นคำตอบใหม่ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละคำถาม และในแต่ละเรื่องที่ศึกษา สำหรับนักการศึกษา การสืบสวนเน้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงทักษะในการสืบสวน และการปรับแต่งทัศนะคติและความคุ้นเคยเดิมที่เป็นนิสัยของแต่ละคนเสมอๆ ถ้าจะต้องตั้งคำถามสำหรับแสวงหาความรู้ที่จะต้องมีกันไปตลอดชีวิต

โดยสาระของแบบแผนหรือวินัยต่างๆนั้นสำคัญ แต่เป็นแค่เครื่องมือไม่ใช้ผลผลิตสุดท้าย ความรู้ที่ขึ้นอยู่กับการจัดตั้งให้เป็นแบบแผนหรือมีวินัยย่อมต้องมีการขยายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ยังไม่เคยมีใครเรียนรู้การก่อกำเหนิดและตรวจสอบความรู้ทั้งหมด แต่ทุกคนสามารถปรับปรุงทักษะและทัศนะคติที่จำเป็นต่อการสืบสวนต่อๆไปได้ตลอดชีวิต สำหรับการศึกษายุคใหม่ ทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ให้ได้อย่างต่อเนื่อง จะเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด เหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็น จะอธิบายไว้ตามแผนภูมิข้างล่างนี้

แผนภูมินี้ปรับปรุงขึ้นโดย Joe Exline แสดงถึงสังคมและบุคคลในสังคมมั่นสร้างและถ่ายเทกองทุนแห่งความรู้ ( fund of knowledge)

ผู้ชำนาญการจะมุ่งทำงานระหว่างขอบเขตของความรู้ที่รู้แล้วกับความรู้ที่ยังไม่รู้ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนกองทุนของความรู้อย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่สำคัญคือ ความรู้สามารถถ่ายเทไปสู่สมาชิกของสังคมทั้งหมดได้ การถ่ายเทความรู้เกิดขึ้นในโรงเรียน ในครอบครัว และในสถานที่ฝึกหัดอบรมต่างๆ

ประโยชน์ที่แน่นอนเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างและถ่ายเท เพื่อเป็นกองทุนความรู้อย่างได้ผล ประโยชน์ซึ่งผู้ชำนาญการเคยใช้สร้างความรู้ใหม่ จะคล้ายคลึงกับปริมาณของการถ่ายเทความรู้อย่างได้ผลที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของผู้เรียน ต่อไปนี้คือผลที่เกิดจากการเรียนรู้แบบสืบสวน
  • ผู้ชำนาญการเห็นแบบแผนและความหมายที่ซึ่งผู้เรียนไม่เห็น
  • ผู้ชำนาญการมีความรู้ลึกซึ้งในสาขาวิชาของตน มีโครงสร้างวิชาการที่เป็นประโยชน์ที่สุด
  • ความรู้ของผู้ชำนาญการไม่ใช่แค่จำนวนข้อเท็จจริง –แต่เป็นโครงสร้างที่สามารถเข้าถึงได้ โยกย้าย และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายสถานะการณ์
  • ผู้ชำนาญการสามารถนำความรู้กลับมาใช้และเรียนรู้ข้มูลใหม่ที่เกิดขึ้นในสาขาของตนได้อย่างง่ายดาย

(รายการข้างต้นปรับปรุงมาจาก "How People Learn," จัดพิมพ์ขึ้นโดย the National Research Council ในปี 1999.)


แผนภูมิบนนี้ปรับปรุงโดย Joe Exline แสดงสิ่งจำเป็นและได้รับจากการสร้างและถ่ายเทอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับกองทุนแห่งความรู้


เราเสนอว่าผลสำเร็จที่เกิดขึ้นกับผู้ชำนาญการในการสร้างและถ่ายเทความรู้สำหรับกองทุนความรู้นั้นเกิดจากการเรียนรู้แบบสืบสวนที่มีประสิทธิภาพ เพราะการสืบสวนสำหรับในการสร้างและถ่ายทอดความรู้ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการศึกษา เพราะทำให้กองทุนความรู้เพิ่มขยายมากขึ้น แผนภูมิข้างล่างแสดงให้เห็นว่า ทำไมจึงพยายามที่จะถ่ายทอด “อะไรที่เรารู้” ถ้ามันเป็นไปได้ มันจะเป็นการให้ผลประโยชน์มากขึ้นในระยะยาว นี่คือสาเหตุทำไมโรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงจาก “สิ่งที่เรารู้” ไปสู่การเน้นที่ “เรารู้สิ่งนั้นได้อย่างไร”

แผนภูมินี้ปรับปรุงขึ้นโดย Joe Exline แสดงถึงความรู้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างไรจากขอบเขตที่ไม่เคยรู้มาก่อน

ประสิทธิภาพของการศึกษาแบบครอบคลุม (well-rounded) ให้ความแตกต่างกับบุคคลแต่ทว่ามีสัมพันธ์กับโลกที่เป็นจริง ทุกแบบแผนและระเบียบวิธีมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นสำคัญ ให้กรอบที่เป็นธรรมชาติและมีประสิทธิภาพในการจัดการหลักสูตรของโรงเรียน ดังที่แสดงไว้ในแผนภูมิข้างล่าง เรื่องของระเบียบวิธีต่างๆสามารถจัดเป็นกลุ่มในกรอบของบริบทกว้างๆ (conceptual framework) กรอบนี้สำคัญสำหรับความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งสำหรับการจัดการแบบแผนของวิธีการและการนำไปใช้ในธรรมชาติและโลกที่เป็นจริงของมนุษย์

แผนภูมิปรับปรุงขึ้นโดย Joe Exline แสดงทักษะในการประมวลข้อมูลในแบบแผนต่างๆที่คล้ายคลึงกัน

ความเคยชิน คุณค่า และ “กฎเกณฑ์พื้นฐาน” เป็นแบบแผนเฉพาะให้มุมมองที่เด่นชัดและครอบคลุม ในสาขาวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ความต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ขณะที่ในสาขาวรรณกรรม ต้องการความคิดเห็นและการตีความจากแหล่งข้อมูล ความเคยชินในใจ ผันแปรตามความเคร่งครัดในแบบแผนของวิชาที่ต่างกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิด หากแต่เป็น “กฎเกณฑ์พื้นฐาน” ที่แตกต่างกัน

การประยุกต์ใช้การสืบสวน

มีความคิดและการค้นคว้ามากมายเกียวกับบทบาทของการสืบสวน ที่ควรเป็นอย่างไรในการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ แต่การเรียนรู้แบบสวบสวนก็สามารถนำไปใช้ในทุกสาขาอื่นๆได้ เพราะบุคคลต้องการการมองโลกในหลายๆแง่มุมต่างๆ ในแง่มุมที่เป็นรูปแบบทางศิลปะ ทางวิทยาศาสตร์ ทางประวัติศาสตร์ ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ขณะทุกสาขาควรมีความเชื่อมโยงกัน การเรียนรู้แบบสืบสวนจะรวมการประยุกต์กับ “กฎตายตัว” เฉพาะในของทุกสาขา เพื่อแน่ใจว่าตรงกับการมองโลกแบบองค์รวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกัน

ผลผลิตของการสืบสวน

ผลของการสืบสวนที่สำคัญ ควรเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและมนุษย์ในโลกของความเป็นจริง เช่นโลกประกอบกันขึ้นอย่างไร? มันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? และเราจะสื่อสารกับมัน ทั้งภายในและข้ามกันระหว่างโลกต่างๆได้อย่างไร? แม้เป็นแนวคิดที่กว้างแต่มีเนื้อเรื่องสำคัญและคำถามแน่ชัดเหล่านี้ แต่ละคนจะต้องประสบกันตลอดชีวิต อีกทั้ง แนวคิดเหล่านี้สามารถจัดเป็นเรื่องเนื้อหาของหลักสูตรในโรงเรียน เพื่อสร้างความเกี่ยวพันธ์กับกรอบของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้ การศึกษาที่เหมาะสม ควรจัดให้แต่ละคนมีวิธีมองโลกในแง่ที่แตกต่างกัน แต่สื่อสารกันได้ ครอบคลุมการตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประวันของแต่ละคนด้วย.

ขณะที่การตั้งคำถามและการแสวงหาคำตอบ เป็นสิ่งสำคัญของการสืบสวน เพราะการเกิดความรู้มีผลมาจากการตั้งคำถามและการค้นหานั้น ต้องได้รับการเครื่องช่วยเหลืออย่างมากจากแนวคิดในบริบทของการเรียนรู้ด้วย ผู้เรียนไม่ควรมุ่งเพียงสาระและผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของการเรียน และไม่ควรตั้งคำถามและค้นหาคำตอบที่เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ การวางระบบกิจกรรมต่างๆในการเรียนรู้แบบสืบสวน ควรเป็นชุดแนวความคิดเป็นบริบทมี่ช่วยให้ผู้เรียนสะสมความรู้ไประหว่างการเลื่อนชั้นเรียน การสืบสวนในการศึกษานั้น ควรเป็นเพื่อความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่กับโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่ เรียนรู้ สื่อสารและทำงานร่วมกันได้

มีความผันผวนมากมายในการเรียนรู้แบบสืบสวน ที่นิยมใช้กันอยู่ เช่น โปรแกรมการแก้ปัญหาเพื่ออนาคต - Future Problem Solving Program แนวคิดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานในการเรียน - Problem-based Learning Approach เป็นต้น

อ่านในบท "Resources" สำหรับแนวคิดเหล่านี้

ความแตกต่างจากแนวคิดการเรียนรู้แบบปรกติ

วิธีการเรียนรู้แบบปรกติเน้นเพียงแค่เนื้อสาระ ไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านทักษะและความเป็นเสมือนธรรมชาติของทัศนะคติในเรื่องการสืบสวน ระบบการศึกษาปัจจุบันเป็นแบบใช้ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ผู้ซึ่งเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “อะไรที่ตนรู้” เป็นสำคัญ ผู้เรียนเป็นผู้รับข้อมูลโดยผู้สอนเป็นผู้จ่ายให้ การประเมินผู้เรียนเน้นที่ “คำตอบเดียวที่ถูกต้อง” การศึกษาปรกติเกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวสำหรับความสำเร็จในชั้นสูงขึ้นต่อไปในโรงเรียน มากกว่าการช่วยเหลือให้เกิดการเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

ห้องเรียนปรกติเป็นระบบปิด ที่ซึ่งข้อมูลมีการกรองก่อนไปถึงผู้เรียน โดยทั่วไป ประโยชน์ของแหล่งข้อมูลถูกจำกัดเกิดในโรงเรียนเท่านั้น ประโยชน์ของเทคโนโลยี เน้นการเรียนให้รู้มากกว่าการนำไปสร้างเสริมการเรียนรู้ให้ดีขึ้น การวางแผนบทเรียน ใช้เพื่อจัดการขั้นตอนต่างๆในขบวนการเรียนแค่เพียงในแต่ละชั้นเรียนเท่านั้น บนคำถามต่างๆที่เบี่ยงเบนไปจากแผนมักได้คำตอบว่า “แล้วจะมีหรือเกิดได้ทีหลัง”

แนวคิดการสืบสวน เน้นการใช้และเรียนรู้เนื้อหา เป็นเพียงแค่วิธีการเชื่อมโยงนำไปสู่การพัฒนาการประมวลใช้ข้อมูล และเพื่อสร้างทักษะของการแก้ปัญหาเท่านั้น ระบบจะเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ขณะที่ผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือในการเรียนรู้ เป็นการเน้นที่ว่า “เรารู้มันได้อย่างไร-- how we come to know” มากกว่า “อะไรที่เรารู้--what we know “ ผู้เรียนเกี่ยวข้องกับการสร้างองค์ความรู้ผ่านการมีส่วนร่วมที่สำคัญ วิชาหรือโครงการณ์ใดที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากก็จะง่ายต่อพวกเขาที่จะสร้างความรู้ลึกๆได้ง่ายขึ้น การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องฝืนเมื่อมีเป้าหมายตรงกับความสนใจและสะท้อนสิ่งเป็นเสน่ห์ต่อผู้เรียน

การประเมินผลการเรียนเน้นที่การถดถอยและเพิ่มขึ้นของทักษะไปพร้อมๆกับการเพิ่มที่ตรงเนื้อหาของความเข้าใจ การเรียนรู้แบบสืบสวนจะเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในห้องเรียนไปพร้อมกับการเตรียมตัวเพื่อการเรียนรู้ต่อๆไปได้ตลอดชีวิต

ห้องเรียนสำหรับการเรียนรู้แบบนี้ จะเป็นลักษณะของระบบเปิด ที่ซึ่งผู้เรียนถูกกระตุ้นให้ค้นหาแหล่งและประโยชน์ของแหล่งความรู้นอกเหนือจากที่มีภายในโรงเรียน ผู้สอนในวิธีแบบนี้จะสามารถใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงผู้เรียนกับแหล่งที่มีทั้งในประเทศและทั่วโลก ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่มีสิ่งอุดมมากมาย พวกเขาจะทดแทนแผนบทเรียนเดิมด้วยแผนช่วยเหลือเพื่อการเรียนรู้ และยอมรับบางส่วนที่เอื้อต่อการเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญเท่านั้น ผู้สอนจะมีเป้าคำถามที่ชัดเจนว่า “ท่านจะแนะนำพวกเราอย่างไร?ในการสืบสวนคำถามนั้น”

อีกเรื่องที่การเรียนรู้แบบสืบสวนต้องดำเนินการ คือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการดำเนินการสืบสวน การสืบสวนไม่เพียงแค่ทำกันในห้องปฏิบัติการหรือโดยกลุ่มเท่านั้น สามารถทำได้ในการบรรยายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแต่ละคนคิดและตั้งคำถามได้

บ่อยครั้งผู้สอนส่วนมากมักละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อพวกเขาพูดหรือบรรยายให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนถ้าสนใจฟังก็จะเรียนรู้ทักษะการฟังและการสังเกตโดยสัมผัสได้ด้วยตนเองตามไปด้วย ถ้าผู้สอนเน้นที่ “เรารู้มันได้อย่างไร?” ด้วยการเสนอหลักฐานและข้อมูลประกอบ ก็จะกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถาม การพูดคุยกันก็จะกลายเป็นแบบจำลองการสืบสวนตรวจสอบที่ให้อำนาจในการเรียนรู้กับผู้เรียนด้วย การประมวลเข้าด้วยกันระหว่างความหมายและการกระทำก็จะเกิดขึ้นในการบรรยาย

ตัวอย่างเช่น เมื่อสนทนากันถึงโครงสร้างภายในของโลก ครูมักให้ข้อมูลแก่นักเรียนถึงชื่อและขนาดของชั้นผิวโลกแต่ละชั้น หรือ ”อะไรที่เรารู้กัน” แต่สิ่งที่สำคัญที่น่าทึ่งสำหรับผู้เรียนคือ “เรารู้สิ่งนั้นได้อย่างไร” เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกเหล่านี้ ไม่มีใครลงไปในความลึกของชั้นนั้นๆ และการพิสูจน์ด้านกายภาพเพียงการขุดคุ้นแค่เพียงผิวเปลือกเท่านั้น เพื่อพัฒนาการเรียนรู้แบบสืบสวน ครูควรอธิบายหลักฐานข้างเคียงของทางวิทยาศาสตร์ด้วย ที่สำคัญคือการส่งต่อและสะท้อนกลับของคลื่นความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ต่างชนิดกัน ก็อาจช่วยเสริมความเข้าใจที่เกี่ยวกับโครงสร้างของโลกชั้นในได้มากขึ้น แนวคิดนี้ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสไใเพียงการเรียนรู้เรื่องชื่อหรือขนาดเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือเกิดการไตร่ตรองและตั้งคำถามถึงหลักฐานข้างเคียงที่เป็นธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ แนวคิดเรื่องการสืบสวนช่วยผู้เรียนให้เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ด้วย ผู้เรียนสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ในสาขาอื่นๆที่ตนจะศึกษาต่อไปได้ ในขณะที่เรียนรู้และเข้าใจถึงเนื้อหาวิชานั้นในเวลาเดียวกัน

น่าจะเป็นการดี หากมีการสรุปความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเรียนรู้แบบเดิมและการเรียนรู้แบบสืบสวน ในการเรียนรู้แบบเดิม มักเน้นไปที่ “การเรียนเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ.. LEARNING ABOUT THINGS” ในขณะที่การเรียนรู้แบบสืบสวนเน้นมากกว่าที่ “การเรียนสิ่งนั้นๆโดยตรง … LEARNING THINGS” หรืออีกแง่ที่ต่างกันคือการคิดลักษณะ “อะไร… WHAT” ที่ขัดแย้งกันกับการคิด ลักษณะ “อย่างไร… HOW”

แล้วจะต้องทำอะไรกันบ้างในห้องเรียน?

โรงเรียนส่วนมากเน้นที่การสอนทักษะพื้นฐานเพื่อสนองตอบความต้องการและรับใช้สังคมทันสมัยของยุค โดยทั่วไปเจาะจงในเรื่องการรวบรวมสะสมข้อมูล ไม่เน้นทักษะที่ส่งเสริมการสืบสวนที่เป็นเรื่องธรรมชาติของจิตใจ แนวคิดนี้เหมาะสมที่นำไปใช้ในการศึกษาเมื่อประเทศประกอบด้วยสังคมชนบทและมีข้อจำกัดเรื่องฝีมือแรงงาน ในสังคมที่ทันสมัยยุคนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว มีเครือข่ายครอบคลุมมากมาย มุ่งไปทิศทางของเทคโนโลยี และต้องการคนงานที่มีทักษะในการแก้ปัญหาและการคิดแบบวิพากษ์วิธีเชิงเหตุผล (Critical Thinking) ปัจจุบันความต้องการเรียนรู้ทักษะเหล่านี้เกิดขึ้นมากหลังการเรียนรู้ภาคบังคับในโรงเรียน โรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมๆหากต้องการให้ผู้เรียนสามารถเจริญงอกงามหรือเติบโตได้ต่อไปในโลกทันสมัยในปัจจุบัน

การเรียนรู้ปรกติเน้นการศึกษาที่ล้าสมัย โลกเปลี่ยนแปลง การส่งไปฝึกหัดก่อนทำงานทำได้ยากขึ้น คนหนุ่มสาวต้องมีวิธีการกระทำและความคิดใหม่ๆ สังคมของเราเพิ่มขนาด มีความหลากหลายและความซับซ้อนมากขึ้น คนหนุ่มสาวต้องปรับปรุงและเข้าใจสภาพซับซ้อนของชีวิตสมัยใหม่ในปัจจุบันและต้องสามารถผนวกเรื่องของจริยธรรมเข้ากับการปฏิบัติทั้งหลายให้ได้ เราต้องให้การศึกษาเรื่องนี้แก่พวกเขา เพื่อที่พวกเขาสามารถมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคมร่วมสมัยกัน พวกเขาจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาและปรับปรุงสถานะภาพเฉพาะตนให้เพียบพร้อมโดยอิสระและปราศจากความเสี่ยงทั้งหลาย

การเรียนรู้แบบสืบสวน สามารถเปลี่ยนข้อมูลให้กลับเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ เน้นการปรับปรุงทักษะและส่งเสริมช่วยเหลือในการปรับปรุงธรรมชาติดีๆของจิตใจที่เคยชิน ข้อมูลที่ขาดประโยชน์ของบริบทหรือคำตอบ จะมีข้อจำกัดในการนำไปใช้แม้ผ่านการตรวจสอบแล้วก็ตาม แผนการเรียนรู้และวัสดุที่ใช้ในการสอนจำเป็นต้องรวมบริบทที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เป็นข้อมูลใหม่เพื่อขยายความเข้าใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น บ่อยครั้งเป็นความยากลำบากที่ผู้เรียนจะเข้าใจความเกี่ยวข้องกันของกิจกรรมหลายแหล่ในวิชาเฉพาะหนึ่งๆ ความสับสนนี้จะมากขึ้นเมื่อผู้เรียนต้องต่อสู้เพื่อเข้าใจความเกี่ยวข้องระหว่างวิชาที่ต่างกันในโรงเรียนแบบเดิมๆทั่วไปด้วย
หลายโรงเรียนที่เป็นแบบเดิมๆ ขาดการรวมกันและกระบวนการที่เรียบง่ายในความเชื่อมโยงกันของวัสดุหรือวิชาการระหว่างชั้น มีการเน้นการวางแผนข้ามเลยวิชาการน้อยมาก ไม่มีความพยายามที่เพียงพอให้กับการกำหนดเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา – ทักษะและความสามารถของผู้เรียน ควรมีหรือได้รับเมื่อพวกเขาจบชั้นระดับมัธยม ขณะที่หลายวิชาใช้ทักษะการประมวลข้อมูลในลักษณะเดียวกันได้ และสามารถที่จะทำให้เกิดผลดีเพิ่มขึ้นโดยสร้างความเกี่ยวข้องให้เกิดขึ้นระหว่างกัน

"สำนึกการใฝ่รู้ในจิตใจ-Habits of mind" ควรเป็นเป้าหมายที่สำคัญและเป็นผลที่พึงบรรลุในการศึกษา สำนึกเหล่านี้สามารถสร้างโลกทัศน์ในการรวมกันของความแตกต่างในหลักเกณฑ์หรือวิชาการทั้งหลาย ควรพิจารณากันเป็นกฎเบื้องต้นสำหรับหลักเกณฑ์เฉพาะ รวมเข้าไว้โดยไม่จำกัดการตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากข้อมูลในแง่ของวิทยาศาสตร์ ความงามและความปรารถนาที่สำคัญในแง่ศิลปะ และในบทบาทของความเชื่อและศรัทธาในแง่ของศาสนาด้วย
นี่ไม่ใช่การแนะนำว่าสำนึกการใฝ่รู้นี้ควรถูกสอน—หรือแม้แต่เป็นสิ่งที่สมารถสอนกันได้ มันควรถือเป็นการส่งเสริมเกื้อกูลกันตามธรรมชาติ โดยผ่านการสร้างแบบจำลองและสร้างเสริมประสบการณ์ที่เหมาะสม ทั้งไม่ได้เสนอแนะว่ามีโลกทัศน์ที่ถูกต้องเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน แต่ทว่าหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันนั้นสามารถทำให้เกิดมุมมองสำคัญอื่นและยังแตกต่างกันได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือ สำนึกของการใฝ่รู้นี้ต่อการหล่อเลี้ยงและให้คุณค่าต่อหลักเกณฑ์ทั้งหลายที่กำลังศึกษากัน โดยการส่งเสริมผ่านการตั้งคำถามและผลสะท้อนกลับมา คำถามหลายคำถามเช่น ท่าน(ฉัน) รู้ได้อย่างไร? เรา(ฉัน)สามารถรู้สิ่งนั้นได้หรือ? อะไรคือหลักฐาน? ท่าน(ฉัน)ได้รับข้อสรุปในการตัดสินใจนี้ได้อย่างไร?

คำถาม ไม่ว่าจากผู้อื่นหรือของตนเองเป็นหัวใจของการเรียนรู้แบบสืบสวน ขณะที่คำถามเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียนแบบเดิมด้วยนั้น แหล่งที่มา จุดมุ่งหมาย และระดับหรือชนิดของคำถามแตกต่างกัน ในห้องเรียนแบบปรกติ ครูคือผู้ตั้งคำถาม คำถามค่อนไปทางย้อนรอยเกี่ยวกับการอ่านหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ก่อนหน้า ในห้องเรียนแบบสืบสวนนั้น ครูจะตั้งคำถามเปิดกว้างและสะท้อนความเป็นธรรมดาและธรรมชาติ เทคนิควิธีการตั้งคำถามที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้แบบสืบสวนในห้องเรียน โดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นต่ำๆ เพราะจะกลายเป็นพื้นฐานของการริเริ่มตั้งคำถามด้วยตนเอง

Dennie Palmer Wolf, เขียนหนังสือชื่อ THE ART OF QUESTIONING, จัดพิมพ์โดย Academic Connections ในราวปี 1987 แนะนำว่ามีลักษณะสำคัญของคำถามสี่อย่างคือ คำถามที่ลงความเห็นหรือให้คำวินิจฉัยได้ (inference questions) คำถามที่ต้องแปลความหมาย (interpretation questions) คำถามที่ต้องถ่ายโอนย้ายกัน (transfer questions) และคำถามที่เกี่ยวข้องกับสมมุติฐานเพื่อการตรวจสอบ (hypotheses questions)

คำถามเพื่อการวินิจฉัย

คำถามประเภทนี้ถามผู้เรียนเพื่อให้เรียนรู้เกินเลยข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ ตัวอย่างเช่น ครูสอนการถ่ายภาพในโรงเรียนระดับมัธยมหนึ่งจัดแสดงภาพถ่ายขาวดำครึ่งตัวของช่างเครื่องผู้หนึ่ง ที่ถ่ายโดย Paul Strand โดยถามว่า “ท่านรู้อะไรบ้างจากการมองภาพถ่ายนี้?” ผ่านการตั้งคำถามอย่างระมัดระวังและการสนทนากัน นักเรียนของเขาตระหนักว่า ภาพประกอบด้วยนัยหลายอย่างที่เปิดเผยโครงข่ายของข้อมูลทั้งหมด สัญญาณที่สื่อเนื้อหา (ทีไหนและเมื่อไรที่ถ่ายภาพนี้) เทคนิคของการถ่ายภาพ (ผู้ถ่ายภาพยืนอยู่ที่ไหนและมีแหล่งของแสงตั้งไว้ที่ใด) และการสื่อความหมายหรือทัศนะคติของช่างภาพ (ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและคนงาน) มองไกลไปจากข้อเท็จจริงของวิธีการนี้ คือการถามผู้เรียนให้ค้นหาร่องรอยหรือสัญญาณ กระทำการตรวจสอบ และสนทนาเกี่ยวกับการลงความเห็นและการกำหนดเป็นข้อวินิจฉัยในการใช้เหตุผล

คำถามที่ต้องการแปลหรือตีความ

ถ้าคำถามที่ต้องมีการวินิจฉัยทำให้ผู้เรียนต้องเพิ่มข้อมูลที่ขาดหายไป คำถามลักษณะตีความจะเสนอให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญและผลที่ได้รับจากข้อมูลหรือมโนทัศน์ วันหนึ่งในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ เป็นการค้นหาความรู้สึกที่มีต่องานโคลงกลอนของ Frost เช่น The Silken Tent ครูตั้งคำถามว่า “ลองจินตนาการดูซิว่า ถ้า Frost เปรียบเทียบหญิงคนหนึ่งกับผ้าใบคลุมเต็นท์ธรรมดา แทนผ้าไหม อะไรจะเปลี่ยนแปลงไป?” เมื่อเผชิญหน้ากับจินตภาพที่เยือกเย็นและบึกบึนของแผ่นผ้าในที่หนาเตอะ ผู้เรียนทันใดก็ตระหนักถึงแผ่นผืนกระเพื่อมเคลื่อนไหวในความคิดดังผืนผ้าไหม—เสียงซิดๆของมัน ดังกรอบแกรบ ผสมผสานกันกับความสละสลวย มีค่า และความเป็นผู้หญิง ในการเคลื่อนไหวอ่อนช้อยของมัน ในจิตวิญญาณทำนองคล้ายกันเกิดขึ้น ระหว่างการเขียนภาพสิ่งมีชีวิตในชั้นเรียน และครูแสดงภาพจำลองของ Manet's "Olympia" ให้นักเรียนดูพร้อมถามว่า “ภาพนี้จะต่างกันอย่างไร?”หากหุ่นที่ใช้เขียนภาพไม่สรวมแถบโบว์สีดำรอบคอของเขา นักเรียนเอามือแตะบนแถบโบว์นั้น ศึกษาจินตภาพแล้ววิจารณ์ว่า “ปราศจากแถบโบว์นี้ เธอก็ยังไม่ดูล่อนจ้อน เธอกลับดูเป็นหุ่นทีมีรสนิยม เมื่อไม่มีแถบโบว์ เธออาจดูเหมือนไม่ได้แต่งกายแต่เธอดูกล้าหาญมากขึ้น”

คำถามที่ถ่ายโอนกัน

ถ้าคำถามเพื่อการวินิจฉัยและตีความทำให้ผู้เรียนคิดแนวลึกในการค้นคำตอบ คำถามลักษณะโยกย้ายหรือถ่ายโอนจะช่วยทำให้เกิดการคิดในแนวกว้าง เป็นการถามเพื่อให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมไปใช้ในที่ใหม่ ตัวอย่างเช่น ในข้อสอบสุดท้ายในวิชาภาพยนต์ระดับชั้นมัธยมปลาย ตั้งคำถามว่า "ในภาคเรียนนี้เราได้ศึกษาสามผู้กำกับ-- Fellini, Hitchcock, และ Kurosawa ท่านลองจินตนาการดูซิว่าหากท่านเป็นนักวิจารณ์ภาพยนต์ ท่านจะเขียนบทวิจารณ์ภาพยนต์เรื่อง "Little Red Riding Hood" ซึ่งกำกับโดยหนึ่งในผู้กำกับดังกล่าวอย่างไรบ้าง?”

คำถามเกี่ยวกับสมมุติฐาน

ปรกติ คำถามมักขึ้นอยู่กับอะไรที่เราสามารถทำนายและทดสอบความคิดได้ในแนวทางของวิทยาศาสตร์และอื่นๆที่เข้าถึงได้ยาก แต่ในข้อเท็จจริงนั้น การทำนายเกี่ยวข้องกับความคิดในทุกเรื่อง เมื่อเราอ่านนิยายเล่มหนึ่งๆ เรารวบรวมเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเรื่อราว ความซื่อสัตย์ของผู้พรรณนา รูปแบบการเขียนของนักประพันธ์ ทั้งหมดเราใช้เพื่อทำนายอะไรที่เราหวังจะเกิดขึ้นในบทต่อไป นอกเหนือจากนี้ การส่งเสริมให้ผู้เรียนซึมซับสาระของการเต้นรำ การเล่นละคอน หรือเขียนอ่านนิยาย ครูที่ชำนาญจะสามารถยืนยันได้ว่า การทำนายหรือการคาดการณ์นั้นเป็นวิธีหนึ่งที่ผู้เรียนคาดหวังในการค้นหาคำตอบ

ในแบบจำลองง่ายๆนี้ส่งผลที่ได้รับคือ-
  • สาระของวิชา
  • สาระหรือเนื้อหาในกรอบกว้างๆ
  • ทักษะในการประมวลข้อมูล และ
  • การส่งเสริมความเคยชินที่มีอยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้อยู่แล้ว

ครูจะต้องยึดถือการหวังผลสี่อย่างไว้เสมอ เมื่อมีการวางแผนหรือมีการปรับปรุงการเรียนรู้ ผลทั้งสี่นี้ถือเป็นแก่นสารของการเรียนรู้แบบสืบสวนหรือสืบสาวเหตุปัจจัย และควรเป็น”สาระสำคัญ” ในมาตรฐานของการศึกษาสมัยใหม่ในปัจจุบัน

ห้องเรียนที่ใช้การเรียนรู้แบบสืบสวน จะแตกต่างจากห้องเรียนแบบปรกติ ความแตกต่างจะมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อครูและนักเรียนคุ้นเคยกับวิธีการนี้ บ่อยครั้งที่มีความยุ่งยากในการกำหนดครูสำหรับชั้นเรียน เพราะไม่เหมือนอะไรที่พบหลังโต๊ะครูเช่นในแบบปรกติ นักเรียนจะต้องเคลื่อนตัวเองไปรอบห้องเรียนเพื่อที่จะมีความสัมพันธ์กับนักเรียนอื่นๆและแหล่งข้อมูลหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรอบตัวเสมอๆ

พฤติกรรมนักเรียนในการเรียนรู้แบบใช้สืบสวนเป็นพื้นฐาน

การเรียนรู้แบบนี้มีลักษณะเป็นเช่นไร? ส่วนมากมักพูดว่าเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกวิชา รายการข้างล่างนี้จะบอกว่าการเรียนรู้แบบสืบสวนเป็นเช่นไรในทางปฏิบัติ

นักเรียนพบตัวเองเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้
  • พวกเขากระตือรือร้นในการเรียนรู้
  • พวกเขาแสดงความปรารถนาที่อยากเรียนมากๆ
  • พวกเขาให้ความร่วมมือในการเรียนรู้กับครูและกับกลุ่ม
  • พวกเขามีความเชื่อมั่นในการเรียนรู้แสดงความเต็มใจที่จะปรับมโนทัศน์และพร้อมที่จะเสี่ยง เพิ่มความช่างสงสัยที่เหมาะสม
นักเรียนยอมรับการเชิญชวนและเต็มใจที่มีส่วนร่วมในกระบวนการบุกเบิกในเรื่องนี้
  • พวกเขาแสดงความอยากรู้อยากเห็นและพร้อมที่จะสังเกตการณ์
  • พวกเขาจะเคลื่อนตัวไปรอบเพื่อเลือกใช้วัสดุที่พวกเขาต้องการ
  • พวกเขาปรึกษากับครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนในเรื่องที่สังเกตุและคำถาม
  • พวกเขาพยายามนำเสนอความคิดต่างๆด้วยตัวเอง

นักเรียนตั้งคำถาม เสนอคำอธิบายและใช้การสังเกต

  • พวกเขาถามคำถาม (ด้วยคำพูดและท่าทาง)
  • พวกเขาใช้คำถามเพื่อสืบตั้งคำถามหรือความคิดอื่นต่อๆไป
  • พวกเขาสังเกตเชิงแย้งตรงข้ามกับการมองและฟังแบบปรกติ
  • พวกเขาให้คุณค่าและประยุกต์คำถามเป็นส่วนสำคัญของการเรียน
  • พวกเขาสร้างความเชื่อต่อกับความคิดที่แล้วมา

นักเรียนวางแผนกิจกรรมในการเรียน


  • พวกเขาออกแบบวิธีการใช้ความคิด ไม่หวังจากการบอกว่าต้องทำอะไรบ้าง
  • พวกเขาวางแผนวิธีตรวจสอบ ขยายผล ยืนยันหรือแม้แต่การยกเลิกความคิดบางอย่างที่ไม่ได้ผล
  • พวกเขาเสรมกิจกรรมโดยการใช้วัสดุ การสังเกต การประเมิน และการบันทึกข้อมูล
  • พวกเขาเลือกสรรข้อมูลและกำหนดว่าอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์
  • พวกเขาตระหนักในรายละเอียด สืบหาขั้นตอนและเหตุการณ์สังเกตการเปลี่ยนแปลง และสืบค้นความต่างและความเหมือนกัน

นักเรียนสื่อสารด้วยวิธีการหลากหลาย

  • พวกเขาแสดงความคิดหลายแบบ รวมถึงการเขียนบทความ เขียนแบบ ทำรายงาน เขียนแผนภูมิ และอื่นๆ
  • พวกเขาฟัง พูด และเขียนเกี่ยวกับกิจกรรมในการเรียน เกี่ยวกับพ่อแม่ ครู และกลุ่ม
  • พวกเขาใช้ภาษาของการเรียนรู้ ประยุกต์ทักษะในการประมวลข้อมูล ปรับปรุงเกณฑ์พื้นฐานของตนให้เหมาะเป็นหลักการณ์ทั่วไปได้

นักเรียนวิจารณ์การเรียนในทางปฏิบัติ

  • พวกเขาใช้เครื่องชี้วัดสำหรับงานของพวกเขา
  • พวกเขาตระหนักและรายงานจุดแข็งและจุดด้อยของตนเอง
  • พวกเขาสะท้อนการเรียนรู้ของตนเองกับครูและกลุ่ม

ดัดแปลงจาก.. "Inquiry-Based Science, What Does It Look Like?" พิมพ์ใน CONNECT MAGAZINE, March-April 1995.


บทบาทครูในแง่ผู้ช่วยเหลือในการเรียนรู้แบบสืบสวน


ครูสะท้อนความมุ่งหมายในการวางแผนการเรียนรู้

  • เป็นผู้วางแผนในวิธีการต่างๆที่ให้ผู้เรียนแต่ละคนกระตือรื่อร้นในกระบวนการเรียน
  • เป็นผู้เข้าใจในความจำเป็นของทักษะ ความรู้ และความเคยชินของจิตใจที่ต้องการสืบสวนในการเรียน.
  • เป็นผู้เข้าใจและวางแผนด้วยวิธีต่างๆเพื่อกระตุ้นและให้ผู้เรียนสามารถเพิ่มความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง
  • เป็นผู้ประกันได้ว่าการเรียนในห้องเรียนเน้นที่ความสัมพันธ้และการประยุกต์ผลในการเรียนได้
  • เป็นผู้จัดเตรียม แนะนำและหวังในการตั้งคำถามให้เกิดขึ้นจากผู้เรียนให้ได้
  • เป็นผู้จัดเตรียมความพร้อมเรื่องสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือ วัสดุ และแหล่งทรัพยากรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนอย่างมีประสิทธิผล

ครูช่วยเหลือการเรียนรู้ในห้องเรียน


  • แผนการช่วยเหลือประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือนและประจำปีของครู ต้องเน้นที่การกำหนดเนื้อหาการเรียนในกรอบคร่าวๆเชิงมโนทัศน์ พวกเขาควรมุ่งสร้างแบบจำลองการพัฒนาทักษะและการส่งเสริมการปรับปรุงความเคยชินในจิตใจที่มีเป็นธรรมชาติในการใฝ่รู้
  • ต้องยอมรับว่าการสอนเป็นเสมือนกระบวนการเรียนรู้อันหนึ่งด้วย เมื่อถามคำถาม ก็ควรกระตุ้นให้เกิดการคิดที่แตกต่าง แล้วขยายไปสู่คำถามอื่นๆได้
  • ให้ค่าและกระตุ้นการตอบโต้ และเมื่อการตอบโต้นั้นนำไปสู่แนวคิดที่ไม่เข้าร่องเข้ารอย การเสนอแนะให้ทบทวนเหตุที่มาและการแนะนำที่เหมาะสมกับผู้เรียนจะเป็นสิ่งที่พึงกระทำด้วย
  • พวกครูต้องตื่นตัวเสมอกับปัญหาและอุปสรรคในการเรียน และต้องชี้แนะผู้เรียนเมื่อจำเป็น
  • ควรมั่นถามหลายๆครั้งในรูปคำถามเช่น ทำไม? ท่านรู้ได้อย่างไร? และหลักฐานคืออะไร?
  • พวกเขาต้องให้ผู้เรียนเข้าถึงความช่วยเหลือในทุกส่วนที่ดำเนินไปในกระบวนการเรียนรู้

กฎเกณฑ์นี้ปรับปรุงโดย Joe Exline


เหนือสิ่งอื่นใด ความสำคัญของการเรียนรู้แบบสืบสวน คือทำอย่างไรให้ผู้เรียน ได้เรียนการสืบต่อการเรียนรู้ต่อๆไปได้ ในบางสิ่งพวกเขาสามารถกระทำได้ต่อไปตลอดชีวิต --สืบไปจากความช่วยเหลือที่เริ่มได้รับความมั่นคงมาจากพ่อแม่ --สืบไปจากตำราเรียน --สืบไปจากช่วงเวลาที่ได้รับจากครู และจากโรงเรียน --สืบไปจนถึงเวลาที่พวกเขาต้องเรียนรู้กันโดยลำพังตนเองต่อไป

อะไรคือกำไรที่ได้จากการเรียนรู้แบบสืบสวน?

สิ่งหนึ่งในความสำคัญที่ขาดหายไปในโรงเรียนทันสมัยส่วนมากคือการเชื่อมโยงและกระบวนการที่ง่ายๆในการเพิ่มความรู้จากวิชาที่เรียนในขั้นต้นจนถึงขั้นสูง ผู้เรียนมักเข้าใจได้ยากในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาเฉพาะที่มักเกี่ยวข้องกันและกัน จะมีความสับสนมากขึ้นเมื่อผู้เรียนพยายามจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันในวิชาต่างที่มีสอนกันในโรงเรียน

มีความพยายามน้อยนิดที่จะอุทิศเวลาเพื่อปรับปรุงผลสำคัญสุดท้ายที่ได้เมื่อจบการเรียนขั้นสูง หรือวางแผนมองย้อนกลับหรือข้ามเลยวิชาต่างๆไป การเรียนรู้แบบสืบสวนจะช่วยการเชื่อมต่อในสิ่งที่ขาดหายไปเหล่านี้ได้

ในเนื้อหาเฉพาะเช่น วิชาการล้างอัดรูป ซึ่งผู้เรียนจะต้องเกี่ยวข้องกับบริบทความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์กันของดวงอาฑิตย์(แสง) ความเขียวขจีของพันธ์ไม้ บทบาทของก๊าซคาบอนไดออกไซด์และน้ำ ในเนื้อหาวิชาศึกษาสังคม เช่นการพัฒนาอุตสาหกรรม จะกำหนดบริบทความสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงของโลกจำลองสำหรับมนุษย์ ซึ่งจะเป็นมุมองที่เพิ่มเติมจากกระบวนการตามธรรมชาติเดิมที่สำคัญ ผู้เรียนน่าได้เรียนเนื้อหาทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษาไปพร้อมกัน เมื่อผ่านลำดับประสบการณ์ที่มีการเตรียมการไว้อย่างดีเช่นนี้แล้ว พวกเขาจะรวมเอามโนทัศน์ของบริบทที่กว้างขวางขึ้นและได้รับความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่กว่าด้วย

ภายใต้กรอบมโนทัศน์ การเรียนรู้แบบสืบสวนบวกกับความกระตือรือร้นของผู้เรียน สามารถส่งผลสำคัญให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ผู้เรียนสร้างการสังเกตการณ์ การรวบรวม การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล และสร้างผลสรุปและปรับปรุงประโยชน์ที่ได้รับจากทักษะของการแก้ปัญหา ทักษะนี้สามารถประยุกต์ใช้กับสถานะการณ์ในอนาคตที่ “ต้องการรู้” เมื่อผู้เรียนเผชิญทั้งในโรงเรียนและในที่ทำงาน

กำไรอีกอย่างคือ การเรียนรู้แบบสืบสวน ช่วยให้เกิดการปรับปรุงความเคยชินในจิตใจซึ่งใช้ไปได้ตลอดชีวิต และจะเป็นสิ่งนำทางในการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์ได้ต่อไปอีกด้วย
การเรียนรู้แบบสืบสวนมีพัฒนาการมาอย่างไร?จนเป็นที่นิยมกัน

การสืบสวนถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเสมอ มันสืบมาจาก Socrates และวิธีการของเขาที่ชี้นำให้ลูกศิษย์สร้างความรู้ด้วยตนเองจากความก้าวร้างในการตั้งคำถาม จนกระทั่ง John Dewey ปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาโดยนำวิธีการเรียนรู้แบบสืบสวนมาใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา Dewey สนับสนุนการเรียนรู้โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง (child-centered) การเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ในโลกที่เป็นจริง นักวิชาการล้ำลึกมองไปที่ประวัติศาสตร์ของการเรียนรู้แบบสืบสวนที่เกี่ยวพันกันกับประวัติศาสตร์ของแนวคิดโครงสร้างนิยม (Constructivism … see our Constructivism workshop)

ในปี ค.ศ. 1961, กรรมการนโยบายเพื่อการศึกษาได้จัดพิมพ์บทบัญญัติกลางเพื่อกำหนดเป้าหมายการศึกษาในอเมริกา แนะนำว่าผู้เรียนมีความจำเป็นในการพัฒนาการ “อำนาจของเหตุผล ๑๐ ประการ” ประกอบด้วย การย้อนระลึกและจินตนาการ (recalling and imagining) การจำแนกและครอบคลุม (classifying and generalizing) การเปรียบเทียบและประเมินผล (comparing and evaluating) การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ (analyzing and synthesizing) และ การใช้เหตุผลแบบนิรนัยและการวินิจฉัย (deducing and inferring) ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานบางอย่างของการเรียนรู้แบบสืบสวน

การกระตุ้นในสิ่งนี้เกิดจากความกลัว เมื่อพบว่าชาวรัสเซียมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่าชาวอเมริกัน ในราวปี ค.ศ. 1950s การศึกษาจึงถูกปรับเปลี่ยนมาเน้นการช่วยเหลือให้ผู้เรียนพัฒนาการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นพิเศษ

จนถึง ปี ค.ศ. 1960s เกิดแนวคิดหลักสูตรอักษรย่อสำเร็จ (alphabet soup curricula) มีชื่อเช่น หลักสูตรศึกษาชีววิทยาศาสตร์ --Biological Sciences Curriculum Study (BSCS), การศึกษาเคมี-วัสดุศึกษา -- Chemical Education Materials Study (CHEM Study), หลักสูตรวิทยาศาสตร์ศึกษา -- Science Curriculum Study (SCIS), วิทยาศาสตร์เบื้องต้น -- Elementary Science Study (ESS), และวิทยาศาสตร์กายภาพศึกษา --Physical Science Study Committee (PSSC Physics) เป็นต้น

ความพยายามที่เป็นจริงเป็นจังนี้ พยายามสร้างประเพณีนิยมของ “คู่มือ-- cookbook" สำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์ชนิดยื่นให้พร้อมกับการเน้นที่พัฒนาความสามารถการใช้เหตุผลต่างๆ โชคร้ายที่แนวคิดคู่มือนี้ไม่เป็นผลเกี่ยวข้องกับแนวคิดของการเรียนรู้ที่เป็นจริง มีผู้วิจารณ์ว่า ผู้เรียนเสียเวลา “สาระวน-- messing around” กับคู่มือนี้และใช้เวลาน้อยนิดสำหรับการวิเคราะห์
ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ของระบบโรงเรียนชุมชนที่เป็นอยู่เมื่อโปรแกรมนี้ถูกนำไปใช้ และเพราะพวกเขาเน้นไปที่องค์ประกอบเดียวของระบบโรงเรียนชุมชน คือ ครู
ขณะที่โปรแกรมเหล่านี้ ไม่ได้ถือเอาการเปลี่ยนแปลงที่คาดไว้ในยุคซึ่งพวกเขารับเอามา พวกเขาจึงสร้างสิ่งอื่นเสริมออกมาและการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง พวกเขาให้การเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นในวิถีทาง ซึ่งตำราวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสังคมศึกษาได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้พิมพ์ตำราเริ่มเอาใจใส่ในวิถีทางที่ทำให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น
แนวคิดที่เคลื่อนไหวทั้งหมดส่งผลดีกับการปรับปรุงทางประวัติศาสตร์ของการเรียนรู้แบบสืบสวน การตระหนักถึงบทบาทของการอ่านและการเขียนในการเรียนเริ่มเปลี่ยนแปลงทัศนะคติและการปฏิบัติเกิดขึ้นในโรงเรียนทั้งหลาย

การเปลี่ยนแปลงระบบเป็นสิ่งสุดท้ายและเป็นความพยายามที่โดดเด่น มีผลกระทบที่เป็นแนวโน้มที่ดีของการเรียนรู้แบบสืบสวน ในปี ค.ศ. 1984 มีการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งชาติเกิดขึ้น ได้นำเอานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ นักการศึกษา ผู้นำทางเศรษฐกิจ นักการเมือง พ่อแม่ และคนอื่นๆ มาพบกัน เพื่อตอบสนองโดยตรงกับรายงานชื่อ “ความเสี่ยงของชาติ” บอกรายละเอียดของการล่มสลายของโรงเรียนอเมริกันชน การประชุมนี้นำไปสู่อะไรที่กลายเป็นการพยายามกำหนดรูปแบบใหม่ของการศึกษาในอเมริกา เพื่อรักษาความเป็นหนึ่งของโลกในยุคใกล้สิ้นสุดของศตวรรษที่ 20 นี้ ความพยายามทั้งหมดยังคงไว้ที่การชี้นำให้เอานักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนและให้ตรงกับความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับสังคมที่ทันสมัย

เมื่อลองตรวจสอบอย่างพินิจพิเคราะห์ ถึงวิวัฒนาการของกรอบที่วางไว้สำหรับการศึกษา มันกลายเป็นหลักฐานหนึ่งในหลายความคิดที่กรอบเหล่านี้ยังน่ามีเหตุผลคงไว้ได้ในปัจจุบัน ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือการนำไปดำเนินการมากกว่าการเป็นแค่เครื่องมือทางความคิดหรือมาสร้างกันใหม่อีก ความพยายามกำหนดรูปแบบใหม่ของระบบเป็นความหวังพิเศษ แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่ยังเป็นอุปสรรคในความพยายามนี้

อย่างน้อยมีสองปัจจัยที่สำคัญในการจัดระบบใหม่ ที่ทำให้ยากในการทำให้เป็นผลในบรรยากาศปัจจุบัน ปัจจัยแรกคือ ความพยายามที่จะเน้นกันส่วนมากที่การศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มันยากที่จะเปลี่ยนระบบโรงเรียนชุมชน ซึ่งขณะนี้เน้นแค่เพียงสองหลักเกณฑ์ในหลักสูตรของโรงเรียน ปัจจัยที่สองคือ นักการศึกษาส่วนมากมีประสบการณ์น้อยในการประเมิน องค์ประกอบที่สำคัญของระบบและความสอดคล้องกันกับผลสัมฤทธิ์สำหรับนักเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนทำไม่ดีในการทดสอบทั่วไปของรัฐ เราก็จะตอบโต้โดยพยายามเจาะจงไปที่นักเรียนให้เพิ่มความพยายามมากขึ้น แทนที่จะไปเจาะจงหรือเอาใจใส่ที่ระบบ ซึ่งปัญหาการขาดแรงจูงใจของนักเรียนมักเกิดมาจากระบบส่วนใหญ่

No comments: